4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA


เมื่อสัก 20 ปีที่แล้วเราคงเคยได้ยินคนรุ่นพ่อแม่ของเราสั่งสอนไว้ว่า จงหางานทำในบริษัทใหญ่โต จะได้มีการงานและอนาคตที่มั่นคง อยู่ในองค์กรเดียวและทำงานไต่เต้าเลื่อนขั้นไปเรื่อยๆ 

ตัดภาพมาที่ 20 ปีให้หลังนี้ เรากลับพบว่า ไม่มีอะไรที่มั่นคงจริงๆเลยสักอย่างเดียว



4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA


ความหวังของคนทำงานในตอนนั้นก็คงเปรียบได้กับผู้โดยสารบนเรือไททานิคซึ่งถูกขายฝันด้วยคอนเซ็ปว่า เรือลำนี้เป็นเรือที่ไม่มีวันจม แต่กว่าจะรู้ว่าเรือไม่ได้แข็งแรงขนาดนั้นก็สายไปเสียแล้ว

หลายคนต่างตั้งคำถามว่า เราจะอยู่รอดในสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงเหล่านี้ไปได้อย่างไร วันนี้ ByteHR จึงขอหยิบคอนเซ็ปของ VUCA มาให้ทุกคนได้รู้จัก


VUCA คือ อะไร?


VUCA


จริงๆแล้ว VUCA ไม่ใช่คอนเซ็ปใหม่แต่มีการพูดถึงมาแล้วตั้งแต่ปี 1987 ซึ่งเป็นทฤษฎีความเป็นผู้นำของสองศาสตราจารย์และนักเขียนชาวอเมริกัน Warren Bennis และ Burt Nanus ก่อนถูกนำไปใช้ในการทหารช่วงปลายของสงครามเย็น และถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้งในปี 2002 และหลักทฤษฎีนี้ก็ได้มาใช้ในโลกธุรกิจ องค์กร และการศึกษาในที่สุด


VUCA ย่อมาจากคำว่า Volatility(ความไม่แน่นอน) Uncertainty(ความไม่มั่นใจ) Complexity(ความซับซ้อน) และ Ambiguity (ความคลุมเครือ) ซึ่งสื่อความถึงโลกการทำงานในปัจจุบันที่เราทำอยู่นี้ การทำงานในสภาพแวดล้อมแบบ VUCA ต้องอาศัยทั้งความรวดเร็ว การปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงในองค์กรแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นสภาวะที่องค์กรเผชิญอยู่ตลอดเวลา และเห็นได้ชัดในช่วงวิกฤตการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าที่แม้แต่แบรนด์ใหญ่ก็ล้มหายตายจาก


เบนจามิน แฟรงคลินได้กล่าวไว้ว่า "ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เท่ากับความเปลี่ยนแปลง" คำพูดนี้สื่อถึงโลกในปัจจุบันอย่างจริงที่สุด ลองคิดดูสิว่าความเปลี่ยนแปลงในองค์กรของคุณจะเป็นอย่างไรในอีก 20 ปีข้างหน้า และอะไรเป็นสิ่งหลักๆที่จะเปลี่ยนแปลงต่อจากนี้?




4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA



แต่ความเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้พนักงานเกิดความเหนื่อยล้า ความเครียด ความกลัวข้างในใจที่จะต้องต่อสู้กับโลกใหม่ การที่ไม่เข้าไปช่วยแก้ไขวิธีคิดจะส่งผลให้พนักงาน Burnout ในที่สุด สิ่งที่เราต้องทำคือการพัฒนาวิธีคิดแบบ Agile มาปรับตัวเองและทีมอย่างสม่ำเสมอ Agile mindset นี้ประกอบไปด้วย


  • Positive attitude ทัศนคติเชิงบวก
  • Thirst for knowledge ความกระหายความรู้ใหม่ๆ
  • The goal of team success มุ่งสู่เป้าหมายของทีม
  • Pragmatism ปฏิบัตินิยม หรือวิธีคิดที่เกิดจากการลงมือทำจริง
  • Willingness to fail ความกล้าที่จะล้มเหลว


ในช่วงชีวิตการทำงาน ผู้นำที่มีประสบการณ์สูงมักจะมองข้ามความสำคัญของการปรับตัวอยู่เสมอไป  และยึดติดกับวิถีการเลื่อนขั้นในที่ทำงานแบบเดิมๆ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ในโลกการทำงานปัจจุบัน สิ่งที่เกิดในอดีตนั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ผลกับโลกการทำงานในอนาคตเสมอไป เหมือนคำพูดที่ว่า “อาบน้ำร้อนมาก่อน” ก็ดูเหมือนเป็นคำเปรียบเปรยที่อาจจะตกยุคไปเสียแล้ว


หากทีมหรือผู้นำองค์กรละเลยการนำ Agile มาปรับใช้ ก็จะส่งผลให้บริษัทพลาดโอกาสที่จะพัฒนาองค์กรสู่โลกอนาคต รวมไปถึงละเลยความสามารถที่จะมอบสิ่งใหม่ที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าในอนาคตอีกด้วย


แต่ไม่ใช่ว่าทุกองค์กรจะสามารถใช้โมเดลเดียวกันได้ เพราะทุกบริษัทต่างมีความซับซ้อนขององค์กรที่ต่างกัน มีบริษัทมากมายที่ต้องการรักษาองค์กรให้คงอยู่ไปในอนาคตและพยายามเอาโมเดลของบริษัทชั้นนำมาปรับใช้ ซึ่งพวกเขาต้องพบกับความท้าทายมากมายในการลองผิดลองถูก หาส่วนที่ลงตัวและตัดทิ้งส่วนที่ไม่เหมาะไป ผู้นำเป็นส่วนสำคัญที่ต้องกระตุ้นพนักงานและคนในทีม ปล่อยให้พวกเขาได้ล้มเหลว ได้คิดสร้างสรรค์โดยไม่ตัดสิน และลงมือทำ ทว่าหลายองค์กรกลับข้ามขั้นตอนเหล่านี้ไปแล้วก๊อบปี้เอาโมเดลของบริษัทชั้นนำที่พวกเขาคิดว่าดี มาแปะใช้กับองค์กรของตัวเองโดยไม่สนใจจะปรับอะไรทั้งสิ้น 


การข้ามขั้นแบบนี้ มักนำมาซึ่งผลลบต่อความเปลี่ยนแปลงในองค์กร ดังนั้นเราอยากแนะนำให้คุณมาลอง 4 วิธีต่อไปนี้ที่จะทำให้คนในทีมของคุณและผู้นำองค์กรสามารถก้าวผ่านโลกของ VUCA ไปได้


1. ยอมรับความไม่แน่นอนด้วยการลับความสามารถรอบด้าน

เราทุกคนคงมีความรู้สึกตื่นเต้นและเสียววาบในช่องท้องเมื่อเห็นความผันผวนของตลาดหุ้นที่ขึ้นลงตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงในองค์กรก็เป็นเช่นเดียวกัน การจัดการกับความไม่แน่นอนและความไม่มั่นใจเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องฝึกให้ชินเพื่อที่จะสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละวัน อะรไที่คุณรู้สึกว่าเป็นทักษะที่จำเป็น ก็ให้ลงมือทำและพัฒนาทักษะนั้นขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง คุณก็สามารถปรับตัวได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกฝนความสามารถด้านอื่นเลย


4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA



2. เปลี่ยนจากความไม่แน่นอนไปสู่ความเข้าใจ

ปฏิกิริยาของคนทั่วไปต่อความไม่แน่นอนคือ “ความกลัว” ซึ่งมักจะนำไปสู่การต่อต้าน แต่ในยุคดิจิตอล เทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญในการทำงานร่วมกันของคนในทีม ซึ่งทำได้หลายวิธีตั้งแต่เครื่องมือการทำงานร่วมกันออนไลน์ เช่น การใช้แดชบอร์ด และแพล็ตฟอร์มการสื่อสารในที่ทำงาน เช่น Slack Asana Trello และอื่นๆอีกมาก ที่ใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายทีมร่วมกัน หรือแม้แต่การลองสร้างคอมมูนิตี้การเรียนรู้ออนไลน์เป็นฟอรัมเพื่อให้พนักงานเรียนรู้จากกันและกัน สิ่งนี้สามารถเพิ่มความรู้ของพนักงานเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่รู้ และสามารถช่วยลดความกลัวและความเครียดลงไปได้


3. แก้ไขปัญหาความซับซ้อนโดยการสร้างคอนเนคชั่น

การสร้างคอนเนคชั่น ทำความรู้จักคนในองค์กรผ่านการจัดกิจกรรม หรือให้โอกาสคนต่างแผนกได้คิดโปรเจ็คใหม่ๆร่วมกัน การสื่อสารที่สม่ำเสมอเป็นหัวใจหลักที่ทำให้พนักงานได้ช่วยแบ่งปันข้อมูล ค้นหาคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหา รวมถึงรับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากผู้ที่สามารถให้คำตอบได้ วิธีนี้จะช่วยให้พนักงานร่วมมือกันแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในองค์กรได้




4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA


4. แก้ไขความคลุมเครือด้วยความเป็นผู้นำ

ผู้นำต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ที่คำนึงถึง VUCA และเป็นแบบอย่างที่ดี ที่จะนำพาพนักงานผ่านช่วงที่สับสนวุ่นวาย และสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรโดยตระหนักถึงความพร้อมขององค์กรตลอดเวลา ผู้นำอาจจะใช้แบบสำรวจเพื่อประเมินความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงของพนักงาน และวิเคราะห์ว่ามันจะส่งผลกระทบต่อพนักงานอย่างไร และจงใส่เป้าหมายไปในสิ่งที่พวกเขารักที่จะทำ และให้รางวัลเมื่อพวกเขาทำสำเร็จ

iPhone เป็นตัวอย่างการเปรียบเทียบที่ดีว่าทำไมผู้นำต้องพยายามที่จะไปข้างหน้าเสมอ เพราะเมื่อก่อนโทรศัพท์ออกรุ่นใหม่ทุกๆ 2 ปี จนมาเป็นทุก 12 เดือน และตอนนี้คือทุก 6 เดือน


เมื่อก่อนองค์กรของคุณจะมีการพัฒนาความเป็นผู้นำทุกๆ 5 ปี แต่ตอนนี้คุณต้องพร้อมพัฒนาตลอด ไม่ใช่รอให้เวลามาถึงแล้วค่อยเรียนรู้

จงจำไว้ว่าทุกครั้งที่คุณอัปเดต iPhone จงอัปเดตตัวเองด้วย! โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำที่มากประสบการณ์ต้องไม่ประมาทและต้องตามโลกให้ทันอยู่เสมอ

นี่เป็นเพียงไม่กี่วิธีในการปรับความเป็นผู้นำหรือการพัฒนาตัวเองของคุณสู่โลกการทำงานแบบ VUCA ลองนำไปใช้แล้วปรับวิธีที่ใช่เข้ากับทีมและองค์กรของคุณ


4 วิธีปรับตัวเข้าสู่ยุค VUCA


หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 


ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดทำรายงานเอกสารราชการตามการตั้งค่า ภายในโปรแกรม การจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย

« เริ่มต้นทำงานที่ใหม่ เรื่องอะไรที่คุณควรรู้9 เคล็ดลับ WFH อย่างไรให้ได้งาน »
Sea
About the author
Khun Sea brings over nine years of diverse professional experience spanning across HR, recruitment and marketing in the technology and startup industries. Currently, she's making her mark in London's hospitality sector, leveraging her vast experience to drive innovative marketing strategies.