3 ความเชื่อผิดๆในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้ HR ไม่ก้าวหน้า

3 ความเชื่อผิดๆในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้ HR ไม่ก้าวหน้า


คุณคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Data is a new oil” กันมาพอสมควร เพราะทุกวันนี้ทุกองค์กรต่างก็ยอมรับพลังแห่งทรัพยากรข้อมูลและการวิเคราะห์เอา ข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ ผู้ที่ครอบครองข้อมูลโดยเฉพาะในโลกเทคโนโลยีคือผู้ที่ได้เปรียบในทุกสนาม ข้อมูลของบุคลากร ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลที่มีค่าที่สุดขององค์กร การนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากร HR สามารถสร้าง ความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ให้กับองค์กรได้ แต่การนำเอาข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคลมาใช้นั้น ต่างจากการที่แผนกการตลาดหรือแผนกการเงินนำข้อมูลมาใช้ เพราะมีรายละเอียดซับซ้อนกว่าและค่อนข้างยากที่จะพิสูจน์มูลค่าทางธุรกิจให้องค์กร ซึ่งบ่อยครั้งทำให้การจัดการด้านทรัพยากรบุคคลนั้นยากที่จะได้รับเงินทุน สนับสนุน ถึงแม้จะฟังดูเป็นเรื่องยากแต่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ วันนี้ ByteHR ขอนำเสนอ 3 ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรบุคคล ที่ฉุดรั้ง HR ไม่ให้พัฒนาข้อมูลทรัพยากรบุคคลให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

ความเชื่อที่ 1 “ข้อมูลและเทคโนโลยีเป็นเรื่องน่ากลัว”

3 ความเชื่อผิดๆในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้ HR ไม่ก้าวหน้า



ความเชื่อนี้มีในทุกวงการ โดนเฉพาะในช่วง 5 ปีให้หลังที่เกิดกระแสเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยและเทคโนโลยีจากองค์กรชั้นนำต่างๆ ฉีกโฉมหน้าการทำงาน แบบเดิมๆไป ทำให้ผู้ที่ชินกับระบบแบบเก่านั้นรู้สึกกังวลถึงความเปลี่ยนแปลง และคิดว่าข้อมูลและเทคโนโลยีเป็นเรื่องน่ากลัวและไกลตัว ในความเป็นจริงแล้ว HR จะเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบอย่างมากหากฝึกฝนทักษะในการจัดการข้อมูลและนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ “ข้อมูล” สามารถปรับปรุงการทำงานของบุคลากรและความสัมพันธ์ของพนักงานได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น การพัฒนาแนวทางการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์หรือการจัดการทักษะความสามารถของบุคลากร HR มืออาชีพจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกับข้อมูลของบุคลากรในองค์กรให้เป็น เพื่อที่จะพัฒนาทักษะที่จำเป็นของพนักงานผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลทักษะ ของแต่ละบุคคล พร้อมวางแผนการฝึกอบรมพัฒนาความรู้ความสามารถที่เหมาะสม เพราะเมื่อพนักงานเก่งขึ้น องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นเช่นกัน ในทางกลับกัน บริษัทที่ไม่เล็งเห็นประโยชน์ของการวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรบุคคลนั้นจะพบว่าพวกเขาได้พลาดโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจจำนวนมาก

ความเชื่อที่ 2 “ข้อมูลนั้นยากเกินไปที่จะเอามาประมวลผล”

3 ความเชื่อผิดๆในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำให้ HR ไม่ก้าวหน้า



น่าเสียดายที่ส่วนใหญ่แล้วองค์กรมักไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อพนักงานที่จัดการข้อมูลทรัพยากรบุคคล ทำให้งานส่วนนี้มักถูกละเลยความสำคัญไป หรือองค์กรมองว่าการรวบรวมข้อมูลที่อยู่มาประมวลผลใหม่นั้นเสียเวลา อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าข้อมูลทรัพยากรบุคคลนั้นมีความซับซ้อนโดยธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ HR รู้สึกท้อใจที่จะเอาข้อมูลมาจัดการ เพราะโดยปกติแล้วข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในระบบของ Excel ที่แยกจากกันจำนวนมาก แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลยังยอมรับว่า 80% ของงานการจัดการข้อมูลและเปลี่ยนชุดข้อมูลเป็นส่วนที่ใช้เวลานานและมีขั้นตอนการวิเคราะห์ที่น่าเบื่อ เพราะฉะนั้นการทำงานกับข้อมูลของบุคลากรถือเป็นความท้าทายอย่างแท้จริง แม้ข้อมูลที่มีอยู่อาจจะไม่สมบูรณ์ด้านคุณภาพ แต่นั่นก็ไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้างในการเริ่มต้นจัดการกับข้อมูลเหล่านี้ แม้การบริหารจัดการข้อมูลเป็นงานที่หนัก โดยเฉพาะเมื่อต้องเริ่มสร้างพื้นฐานหรือยกเครื่อง จัดระบบใหม่ทั้งหมด แต่เมื่อคุณเริ่มต้นจัดการกับข้อมูล คุณจะเริ่มเข้าใจว่าข้อมูลใดมีค่า อะไรใช่ อะไรไม่ใช่สำหรับองค์กรและมีอะไรที่ต้องปรับปรุง

ความเชื่อที่ 3 “ข้อมูลเพิ่มเติมหมายถึงข้อมูลเชิงลึกที่มากขึ้น”


ข้อมูลบุคคล เปรียบเสมือนเหมืองทองคำที่ยังไม่ถูกขุดมาใช้ประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องรวบรวมข้อมูลบุคคลที่มีอยู่ทั้งหมดมาใช้ เพราะข้อมูลนั้นมีอยู่มากมาย แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือ การหาเป้าหมายที่คุณต้องการจะบรรลุจากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่มากเกินไปไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเรื่องที่ดีเสมอไป เพราะต่อให้มีข้อมูลแต่ไม่มีเครื่องมือจัดสรร หรือ ทักษะการจัดการ ก็เหมือนเราอยู่หน้าเหมืองทองคำแต่ไร้เครื่องมือขุดเจาะ HR ที่ทำงานกับข้อมูลทางทรัพยากรบุคคลขององค์กรจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะรอบตัว เช่น การตีความ การจัดการข้อมูล เพื่อตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่จับเคลื่อนด้วยข้อมูลเช่นกัน


ByteHR มีระบบการจัดข้อมูลทรัพยากรบุคคลที่ยืดหยุ่นที่จะช่วยให้คุณจัดการกับข้อมูลมหาศาลได้แม้ไม่มีประสบการณ์ตรง หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลหรือระบบบริหารจัดการกะเวลาของพนักงานอย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะ ตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษา ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


« 4 เคล็ดลับในการเชื่อมต่อพนักงานกับข้อมูลของพวกเขาโดยตรงให้ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงานออนไลน์เป็นเรื่องง่ายสำหรับธุรกิจคุณ »
Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด