กท. 20ก คืออะไร ทำไมนายจ้างต้องรู้


สำหรับนายจ้างมือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นตากับ กท. 20ก แต่เอกสารตัวนี้เป็นเอกสารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่นายจ้างต้องนำส่งสรรพากร วันนี้ ByteHR จะมาขยายความเกี่ยวกับกท. 20ก กัน 




กท นี้ก็ย่อมาจากคำว่า “กองทุนทดแทน” ซึ่ง กองทุนทดแทน คือ เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายเพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญเสีย เนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โดยนายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากนายจ้างมีหน้าที่ๆ ต้องดูแลสวัสดิภาพของพนักงาน


อัตราเงินสมทบของกองทุนทดแทนอยู่ที่ ร้อยละ 0.2-1.0 ของค่าจ้าง ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ และความเสี่ยงอันตรายของแต่ละกิจการซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 1,091 ประเภทกิจการ

หากนายจ้างรายใดไม่จ่ายเงินสมทบภายในกำหนดเวลา หรือจ่ายเงินสมทบไม่ครบจำนวน ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามกฎหมายอีกในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย


สรุปแล้ว กท. 20ก คือ แบบฟอร์มที่สรุปค่าจ้างประจำปีของกองทุนทดแทนจากค่าจ้างพนักงานตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมของปีที่ผ่านมา โดยนายจ้างต้องยื่นเอกสารนี้ภายในเดือนกุมพันธ์ของทุกปี และชำระเงินส่วนต่างภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี

kortor20kor


วิธีการกรอก 

1. ให้กรอกจำนวนลูกจ้างรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม ในช่อง "จำนวนลูกจ้าง" และลงข้อมูลของเงินค่าจ้างรวมทั้งปีลงในช่อง "เงินค่าจ้าง" โดยค่าจ้างสูงสุดที่นำมาคำนวณเงินสมทบไม่เกินคนละ 240,000 บาท/ปี


2. ในส่วนของ "เงินค่าจ้างรวม" ให้ลงค่าจ้างรวมทั้งปีของลูกจ้างทุกคน ไม่ว่าลูกจ้างจะอายุเท่าไหร่ รวมลูกจ้างที่เข้ามาทำงานระหว่างปี และที่ลาออกไปแล้วระหว่างปี และลูกจ้างที่อยู่สาขาหรือจังหวัดอื่นๆ และลูกจ้างชั่วคราวหรือลูกจ้างทดลองงานด้วย ทั้งนี้จะต้อง

- ต้องลงข้อมูลโดยแยกค่าจ้าง ลูกจ้าง ตามรหัสประเภทกิจการที่ระบุไว้ในแบบ

- ไม่รวมค่า OT ค่าล่วงเวลาวันหยุดที่ลูกจ้างต้องทำงาน และไม่รวมโบนัส


3. ส่งเอกสารไปยังสำนักงานประกันสังคมที่ออกแบบใบแจ้งสมทบภายในเดือนกุมภาพันธ์


ความหมายของอักษรย่อในแบบฟอร์ม


ก. รหัสกิจการและอัตราเงินสมทบ หากคุณมีหลายกิจการก็ให้คำนวนแยกแต่ละประเภทของประเภทกิจการได้

ข. ค่าจ้าง ค่าตอบแทนในการทำงานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ค่าครองชีพ แต่ไม่รวมเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด โบนัส เบี้ยขยัน ค่าชดเชย เงินรางวัล เป็นต้น

1. รวมค่าจ้าง ไว้กรอกจำนวนเงินค่าจ้างรวมตั้งแต่เดือนมกราถึงเดือนธันวาคม

2. รวมส่วนเกิน 20,000 บาท/คน/เดือน เป็นส่วนที่ใช้คำนวณส่วนเกินจากค่าจ้างของลูกจ้างทุกคนที่มีค่าจ้างเกิน 20,000/คน/เดือน

3. ค่าสุทธิที่ต้องแจ้ง รวมเงินค่าจ้างในช่อง1 หักด้วย 2 จำนวนเงินในช่องรวมส่วนที่เกิน 20,000 บาท/คน/เดือน และกรอกจำนวนเงินตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม

ค. รวมค่าจ้างสุทธิที่ต้องจ้าง ช่องนี้ให้นำยอดรวมทั้งปีที่คำนวณได้ไปกรอกในแบบแสดงเงินค่าจ้างประจำปี กท. 20ก

จ. รายการเงินได้ตามแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภงด.1ก

กรอกจำนวนลูกจ้างและยอดรวมเงินได้ทั้งหมด และแจ้งรายละเอียดว่าเงินได้นั้นประกอบด้วยค่าตอบแทนประเภทใดบ้างที่จ่ายให้กับลูกจ้าง


บริการของ ByteHR ก็มีแบบฟอร์มที่หลากหลายพร้อมช่วยคุณยื่นเอกสารทางภาษีได้ง่ายขึ้น

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 

ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดทำรายงานเอกสารราชการตามการตั้งค่า ภายในโปรแกรม การจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด