การทำเงินเดือนในยุคใหม่

payroll2


ยุคนี้ อะไร ๆ ก็เดินไปเร็วกว่าเดิมและถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ฉลาดขึ้น เร็วขึ้น บริษัทต่างต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รูปแบบการทำงานและกฎหมายการจ้างงานก็เริ่มซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็ทำให้ฟังก์ชันในการทำบัญชีเงินเดือนเปลี่ยนไปด้วย


ตัวอย่างเช่น การจัดการการทำงาน เวลาและสถานที่ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการทำงานแบบลูกจ้างชั่วคราว รูปแบบการจ่ายค่าจ้างก็เปลี่ยนไปโดยไม่ต้องรอให้ถึงแค่สิ้นเดือน เช่น การที่พนักงานสามารถรับรายได้บางส่วนก่อนวันจ่ายเงินเดือน กำลังกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจด้านการค้าปลีกและการบริการ


ByteHR เองก็พบว่า ความต้องการความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้นในการทำงาน กำลังสร้างข้อกำหนดที่แตกต่างกันมากขึ้นในวิธีการบันทึกเวลาของพนักงาน ดังนั้นการกำหนดวิธีจ่ายค่าตอบแทนก็มีความซับซ้อนตามไปด้วย 

ทำให้ในปัจจุบันบริษัทส่วนใหญ่มีระบบสำหรับการประมวลผลบัญชีเงินเดือนที่เป็นอัตโนมัติกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบสแตนด์อโลนหรือบูรณาการกับแอปพลิเคชัน HR ที่รวบรวมข้อมูลพนักงานและแบบฟอร์มที่สำคัญต่าง ๆ รวมถึงการรายงานข้อมูลภาษีไปยังกรมสรรพากร


ผลกระทบของเอไอ

ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อทำให้งานที่ต้องทำซ้ำ ๆ เป็นประจำกลายเป็นแบบอัตโนมัติ เช่น การป้อนข้อมูลและการติดตามเวลา แชทบอทที่ตอบคำถามง่ายๆ โดยไม่ต้องให้มนุษย์เข้ามามีส่วนร่วมก็กลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ 78% ของผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลในยุคมิลเลนเนียล (อายุ 25 ถึง 34 ปี) ต่างใช้ AI ในที่ทำงานกันแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่การนำ AI มาใช้จะขยายตัวในปีต่อๆ ไปและช่วยให้ผู้ทำบัญชีเงินเดือนทำงานง่ายขึ้น เพราะ AI จะช่วยติดตามการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแรงงาน กฎระเบียบด้านภาษี และข้อกำหนดทางกฎหมายอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีเงินเดือนจำนวนมากเพื่อดึงข้อมูลเชิงลึกและแนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลและการเงินสามารถตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงาน กลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทน และประสิทธิภาพขององค์กร


บทบาทของผู้ทำบัญชีเงินเดือนจะพัฒนาไปอย่างไร

ในหมู่ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลจากบริษัทชั้นนำระดับโลกต่างเห็นพ้องกันว่า แม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่งานด้านการบริหารและช่วยงานธุรกรรมของผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีเงินเดือนในปัจจุบัน แต่ยังคงต้องมีการควบคุมดูแลมนุษย์ และจากข้อมูลของทั้ง Deacon และ Graham (บริษัทผู้พัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์) ได้ให้ข้อมูลว่า แม้ปัจจุบันจะมีการนำ AI เข้ามาใช้แต่จำนวนพนักงานมีแนวโน้มที่จะยังคงเท่าเดิม


แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีเงินเดือนจะต้องเพิ่มทักษะใหม่ ในเชิงกลยุทธ์ ซึ่งทักษะสำคัญสองประการที่ควรจะต้องฝึกฝนเพิ่ม คือนักวิเคราะห์ข้อมูล(Data Analytic) และที่ปรึกษาลูกค้า (Customer care) หรือผู้จัดการความสัมพันธ์ (Relationship manager) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์เงินเดือนจะใช้โอกาสนี้เพื่อรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้ม เช่น การลางานและความเป็นอยู่ทางการเงิน ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้สามารถใช้เพื่อให้คำแนะนำแก่พนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวางแผนงบประมาณขององค์กรอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถคาดการณ์ได้ว่าบริษัทจะต้องเพิ่มงบอีกเท่าไรหากคุณเพิ่มจำนวนพนักงานขึ้น X% ในแง่ของรายจ่ายในด้านต่างๆ เช่น ภาษี การประกันสังคม เป็นต้น


นอกจากนี้การวิเคราะห์แนวโน้มช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเข้าใจได้ดีขึ้นว่าอะไรเป็นแรงจูงใจของพนักงาน เพื่อพัฒนากลยุทธ์และแผนการทำงานที่ช่วยให้พนักงานทำงานได้าสอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทได้มากขึ้น 

ส่วนบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาลูกค้า/การจัดการความสัมพันธ์สามารถพัฒนาไปไกลกว่าการจัดการคำถามที่ซับซ้อนมากขึ้นซึ่ง AI ไม่สามารถจัดการได้ เช่น ประเด็นด้านกฎหมายและกฎระเบียบ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการเงินเดือนที่เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษา/การจัดการความสัมพันธ์อาจกลายเป็นช่องทางแรกให้พนักงานเข้ามาถามคำถามเกี่ยวกับประเด็นที่ยุ่งยาก เช่น ผลกระทบของการจัดตั้งบริษัทสาขาใหม่ในต่างประเทศเป็นต้น



HR


ความผูกพันที่แน่นแฟ้นระหว่าง HR และบัญชีเงินเดือน

เมื่อเวลาผ่านไป ในขณะที่บทบาทเชิงกลยุทธ์ของบัญชีเงินเดือนยังคงเติบโต ByteHR เชื่อว่าความสัมพันธ์ของวิชาชีพกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะใกล้ชิดกันมากขึ้นและแยกตัวออกจากกันน้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


หน้าที่รับผิดชอบส่วนใหญ่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าประสบการณ์การทำงานของพนักงานเป็นบวก รูปแบบการจ้างงานสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสมควรเพื่อที่จะดึงดูดและรักษาผู้คนไว้ และรักษาประสิทธิผลของบุคลากรทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

เราเชื่อว่าเมื่อ HR ให้ความสำคัญกับกระบวนการน้อยลงและให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจมากขึ้น ฟังก์ชันบัญชีเงินเดือนก็จะเติบโตไปพร้อมกับมัน และฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านบัญชีเงินเดือนในทีม ก็จะช่วยสนับสนุนการเติบโตและความยืดหยุ่นของบริษัทได้ไปพร้อมกัน

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด