ความเท่าเทียมกันของโอกาสในการทำงาน
เนื่องในโอกาสฉลอง Pride Month ที่เฉลิมฉลองความเท่าเทียมทางเพศกันทั่วโลก ByteHR เลยอยากมานำเสนอเรื่องของ ความเท่าเทียมกันของโอกาสในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายบริษัททั่วโลกต่างพากันผลักดัน โดยใจความสำคัญของนิยามความเท่าเทียมกันของโอกาส คือ การทำให้ทุกคนได้รับโอกาสที่เสมอกัน ไม่ว่าจะมาจากเชื้อชาติ เพศ ศาสนา หรือลักษณะเฉพาะบุคคลที่แตกต่าง ทุกคนก็สามารถได้รับโอกาสให้แสดงความสามารถ
เรามักเห็นตัวอย่างการผลักดันเรื่องความเท่าเทียมในต่างประเทศกันอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปที่มีผู้คนจากหลายเชื้อชาติมาอยู่รวมกัน ดังนั้นบริษัทต่าง ๆ ได้ออกมาผลักดันให้องค์กรของตนมีการเปิดรับผู้สมัครจากหลากหลายเชื้อชาติ เพศและภูมิหลังที่ต่างกัน
ในประเทศไทยเอง ถึงแม้เราจะไม่ได้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติเท่า แค่เราก็เริ่มเห็นองค์กรหลาย ๆ องค์กรที่ต้องการจะดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงาน โดยปรับกฎของบริษัทให้มีความยืดหยุ่นต่อกลุ่ม LGBTQ+ เช่น การอนุญาตให้ลาหยุดเพื่อไปผ่าตัดแปลงเพศ หรือตอบสนองต่อพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงมากกว่าการมีลูก ด้วยการอนุมัติวันหยุดเพิ่มหากสัตว์เลี้ยงตาย หรือป่วย เพราะสัตว์เลี้ยงเหล่านี้มีคุณค่าทางจิตใจดั่งครอบครัว เป็นต้น
การเคลื่อนไหวเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงด้านบวกขององค์กรที่มีทัศนคติเชิงบวก ซึ่งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ถือเป็นองค์กรหัวก้าวหน้าที่ให้โอกาสแก่ทุกคน
ประเด็นที่ถูกถกเถียงในการสร้างภาพลักษณ์ความเท่าเทียม
ประเด็นหนึ่งที่เป็นที่ถกเถียงกันในประเทศแถบยุโรปในเรื่อง Diversity Hire (การจ้างบุคลากรที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา หรือเพศสภาพ) ยกตัวอย่างเช่น ในสหราชอาณาจักรซึ่งก็มีการสนับสนุนโอกาสการทำงานของบุคคลที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวาง แต่ก็ไม่ได้มีการบังคับเป็นตัวบทกฎหมายว่าบริษัท “จะต้องจ้าง” คนเหล่านี้ และแม้ว่าบริษัทที่มีการส่งเสริมการจ้างงานของคนจากหลากหลายเชื้อชาติ เพศ ศาสนา จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ โดยตรงจากรัฐบาล แต่ก็ยังมีผลพลอยได้ทางอ้อมที่องค์กรได้จากการนำเสนอ Diversity Hire เช่น ได้รับรางวัลเชิดชูจากรัฐบาลว่าเป็นองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียม หรือได้รับโปรแกรมการสนับสนุนการเสริมสร้างทักษะให้กับคนในองค์กรที่ส่งเสริมความหลากหลาย และเป็นทางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากพนักงานในเรื่องของการเลือกปฏิบัติ หรือการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม เพราะในอังกฤษ ผู้สมัครงานสามารถฟ้องร้องบริษัทได้ว่ามีความไม่เป็นธรรมต่อการให้โอกาส การจ้างงานหรือปฏิบัติในที่ทำงานอย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งหากบริษัทถูกตัดสินว่าผิดจริงก็จะสูญเงินค่าปรับมหาศาล
เป็นที่น่าเสียดายที่หลายองค์กรมองเรื่องนี้เป็นแค่ผลประโยชน์ทางการตลาดสำหรับองค์กรเท่านั้น และจ้างงานคนเข้ามาเพียงเพื่อความหลากหลายโดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการทำงานว่าเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งความไม่ใส่ใจในจุดนี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อคนที่ถูกจ้างและพนักงานที่ทำงานในปัจจุบัน เพราะคนที่ถูกจ้างมาก็อาจจะติดกับ Imposter syndrome ว่าตัวเองนั้นถูกจ้างมาเพื่อภาพลักษณ์องค์กรเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยความสามารถ และคนที่ทำงานอยู่ก็จะรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรมได้ว่า พวกเขาต้องพยายามอย่างมากเพื่อได้งาน แต่คนเหล่านี้กลับได้งานเข้ามาง่ายกว่าพวกเขา เพียงเพื่อภาพลักษณ์บริษัท แล้วอย่างนี้ พวกเขาจะพยายามทำงานหนักไปเพื่ออะไร
แม้ว่าทางบริษัทต้องการส่งเสริมความหลากหลาย และเท่าเทียมกันของโอกาสก็จริง แต่สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือการส่งเสริมการสื่อสารระหว่างคนในองค์กรและคนที่ถูกจ้างเข้ามาใหม่ ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา ว่าพวกเขาถูกเลือกมาจาก “ความสามารถ” ไม่ใช่เพราะรูปลักษณ์ภายนอก ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะเกิดการแบ่งแยกกันเองภายในองค์กรและกระทบต่อความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันของพนักงาน
สิ่งที่ HR ควรทำ เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันของโอกาสในการทำงานอย่างแท้จริง
1. จ้างงานบนพื้นฐานของ “ความสามารถ”
แม้ว่าองค์กรจะต้องการเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้านความหลากหลายและความเท่าเทียมมากเพียงใด สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรหย่อนยานคือการจ้างคนที่ “ความสามารถ” ที่มีทักษะที่องค์กรต้องการ พร้อมกำหนดค่าตอบแทนที่เริ่มต้นอย่างเท่าเทียม และเพิ่มตามความสามารถของแต่ละบุคคล
2. จัดอบรมเรื่องการยอมรับความแตกต่างของพนักงานในองค์กร
ในสมัยก่อนการแซวผู้หญิงในที่ทำงาน หรือการแซวเรื่องรูปลักษณ์ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ในสมัยนี้ถือว่าเป็นการคุกคาม ฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจัดการอบรม สร้างทัศนคติการยอมรับความหลากหลายและให้เกียรติแก่คนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
3. กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและโปร่งใสซึ่งใช้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งองค์กร
หัวหน้างานต้องมีการประเมินผลงานพนักงานอย่างต่อเนื่อง และชื่นชมผลงานร่วมกันกับคนในทีม เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้และเน้นย้ำว่าบริษัทนั้นไม่มีการลำเอียงเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดและให้รางวัลผู้ที่ทำผลงานได้ดี และหากใครที่ยังขาดทักษะก็ควรสนับสนุนผ่านการอบรมทักษะใหม่ ๆ
4. ผู้นำองค์กรต้องหนักแน่น
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบริษัท ฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือหัวหน้างานต่าง ๆ ควรต้องกำหนดทิศทางไปในทางเดียวกันว่าจะจ้างงานและบริหารบุคคลากรด้วยความเท่าเทียม ไม่ใช่แค่เพราะทำตามกระแสสังคม เพราะผลเสียอาจมากกว่าผลดีในระยะยาว
ไม่ว่ากระแสการจ้างงานจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เรื่องที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลไม่ควรเปลี่ยนแปลงเลยคือ การใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและความยืดหยุ่นที่พร้อมเติบโตไปกับองค์กรอย่าง ByteHR ที่นอกจากเราจะให้ความรู้เรื่องการทำงานและทรัพยากรบุคคลแล้ว เรายังเป็นผู้นำด้านโปรแกรมทรัพยากรบุคคลครบวงจร (โปรแกรมHR) ทั้งจัดการข้อมูลพนักงานและโปรแกรมทำเงินเดือนที่มีความยืดหยุ่นสูง ปรับได้ตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบริษัท พร้อมด้วยแบบฟอร์มสำเร็จรูปในการทำเอกสารส่งหน่วยงานราชการ
หากคุณต้องการวางแผนระบบการจัดการข้อมูลพนักงานให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรายินดีให้คำปรึกษาได้ฟรีทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com