ทักษะที่พนักงานควรรู้ เมื่อต้องทำงานร่วมกับ AI

AI


นับตั้งแต่เปิดตัว Generative AI เช่น ChatGPT ในเดือนพฤศจิกายน 2022 คลื่นยักษ์ของแอปพลิเคชันAI อื่น ๆ ก็ตามมา ทำให้ผู้นำองค์กรหลายคนรู้สึกกดดันในการถูกกระแสผลักให้ "ทำอะไรสักอย่าง" เพื่อใช้ AI แต่สิ่งที่พวกเขาควรให้ความสำคัญไม่ใช่การนำโซลูชัน AI มาใช้อย่างเดียว แต่ต้องหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานใช้ AI ทำงานเพื่อประสิทธิผลสูงสุดต่อองค์กร 

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มนุษย์เองมีความสามารถเข้าใจในบริบทที่ AI ขาดไป นั่นคือทักษะการเข้าใจมนุษย์ด้วยกัน วันนี้ ByteHR จะมาอธิบายข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้ผู้นำองค์กรข้าใจองค์ประกอบของมนุษย์ที่จำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จในการใช้ AI 


ทักษะสำคัญที่บริษัทต้องการ

ทักษะของมนุษย์สองประเภทที่ทุกองค์กรควรสอนพนักงานและให้ความสำคัญ ประการแรกคือทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การแก้ไขความขัดแย้งขั้นพื้นฐาน การสื่อสาร ทักษะในการควบคุมอารมณ์ และแม้แต่การฝึกสติ ประการที่สองคือ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ถนัด โดยมุ่งเน้นไปที่การรักษาความรู้นั้นไว้ในหมู่ผู้มีความสามารถที่มีประสบการณ์ และพัฒนาความรู้นั้นให้กับคนทำงานรุ่นใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์

ผู้นำองค์กรชั้นนำหลายคนต่างกล่าวไปในทางเดียวกันว่า แม้ทักษะความสามารถในการทำงานจะถูกยกย่องอย่างมากในสังคม แต่สิ่งที่บริษัทต้องการจริง ๆ คือทักษะความเข้าใจในมนุษย์ซึ่งถือว่าหาคนแบบนี้ได้ยากในตลาดงาน อ้างอิงจากการศึกษาของ Havard Business Review เผยว่า บริษัทระดับโลก 1,700 แห่งพบว่าบริษัทที่เก่งในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพทางการเงินที่เหนือกว่าถึงสี่เท่า

ในขณะที่ทักษะด้านเทคนิคอาจถูกแทนที่ด้วย AI มากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ทักษะและความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาของมนุษย์คือสิ่งที่จะทำให้องค์กรผ่านพ้นช่วงที่บริษัทเผชิญกับปัญหาได้ John Sicard ประธานและซีอีโอของบริษัทขนส่ง Kinaxis ได้เปรียบเทียบว่า เมื่อเครื่องบินประสบกับสิ่งผิดปกติ ระบบอัตโนมัติจะถูกปิดทันทีและนักบินจะเข้าควบคุม ซึ่ง ณ จุดนี้นักบินจำเป็นต้องรู้ว่าต้องทำอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาและรักษาทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ

แม้ AI จะเข้ามาช่วยทำงานได้เสมือนนักบินผู้ช่วยก็ตาม แต่ในปัจจุบัน AI ก็ยังมีข่าวความบกพร่องที่นำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงอยู่เรื่อย ๆ หากพนักงานที่ทำงานกับ AI ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ที่มากพอในเนื้องาน ก็อาจทำพลาดได้ นี่แสดงให้เห็นว่า สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้บางอย่าง สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ดีกว่าเทคโนโลยีเสริมใด ๆ


แนวทางที่บริษัทควรปฏิบัติเพื่อการทำงานร่วมกับ AI

skills


1. โมเดลธุรกิจควรได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงความสามารถของ AI 

การนำ AI มาใช้งานโดยไม่วางแผนก่อน ก็เหมือนกับใช้ม้าแทนรถยนต์ Spencer Fung ประธานและซีอีโอของ Li & Fung ซึ่งเป็นบริษัทซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ระดับโลก ได้ยกตัวอย่างถึง ความสำเร็จของบริษัทเสื้อผ้า Shein ที่กลายมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมแฟชั่นแบบรวดเร็วโดยใช้โมเดลธุรกิจที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ไร้รอยต่อ โดยใช้ประโยชน์จากแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล


2. การบูรณาการในทุกฟังก์ชันขององค์กร โดยใช้ AI เป็นตัวกลาง

อีกนัยหนึ่งคือการกำจัดการทำงานแบบไซโล หรือ ทำแบบตัวใครตัวมัน และไม่ค่อยสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมาย มาเป็น การใช้ AI ในการสื่อสารแบบบูรณาการเพื่ออัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ โดยความท้าทายที่แท้จริงอยู่ที่การนำไปปฏิบัติ การใช้ AI เพื่อประสิทธิผลสูงสุดคือ องค์กรต้องใช้ผู้มีความสามารถที่ต้องคุ้นเคยกับความสามารถของ AI และรู้วิธีใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่างไรก็ตาม AI เป็นเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา และนั่นทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องเพิ่มเวลาในการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับพนักงาน ซึ่งแม้จะทำให้การดำเนินงานในปัจจุบันล่าช้าไปบ้าง แต่ก็เป็นการชะลอเพื่อการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในอนาคต เหมือนคำเปรียบเปรยที่ว่า "วางขวานลงเพื่อเรียนรู้วิธีใช้เลื่อยไฟฟ้า"


3. การวัดผลการปฏิบัติงาน

ลืมมาตรการวัดผลการปฏิบัติงานแบบเดิม ๆ ไปได้เลย เพราะองค์กรต้องมองหาการพัฒนาตัวชี้วัดใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงโดยตรงกับเป้าหมายของโมเดลธุรกิจโดยใช้ AI เชิงสร้างสรรค์ ซึ่งในขณะนี้องค์กรต่างๆ ตั้งแต่ Google ถึง Schneider Electric ก็ใช้ AI เพื่อกำหนดสิ่งที่จะวัดผล วิธีวัดผล และปรับปรุงประสิทธิภาพในระบบการทำงาน และมนุษย์ที่มี "ทักษะที่เพิ่มขึ้น" จะยังได้เปรียบในสนามการแข่งขัน หากผู้นำองค์กรไม่นำมนุษย์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการนำ AI มาใช้ นั่นถือเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง


ทำไมองค์กรไม่ควรนำ AI มาใช้โดยไม่ใช้มนุษย์เลย?

1. AI สามารถคัดลอกได้ สิ่งที่ลอกเลียนไม่ได้คือโมเดลธุรกิจ กระบวนการ และการบูรณาการของมนุษย์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

2. AI ขึ้นอยู่กับข้อมูลในอดีตที่อาจไม่ถือเป็นจริงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระดับโลกที่มีความผันผวน โดย Sicard ซีอีโอของ Kinaxis เน้นย้ำว่า “แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทุกตัวพังทลายลงเมื่อเกิดโรคระบาด ไม่มีพารามิเตอร์สมมุติใดที่สามารถเชื่อถือได้" การตัดสินใจทางธุรกิจไม่ได้แยกจากประเด็นด้านแรงงาน อัตราเงินเฟ้อ ภูมิศาสตร์การเมือง และนี่คือจุดที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของบุคลากรเป็นสิ่งสำคัญ ในการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เราได้ยินมาหลายครั้งว่าความได้เปรียบทางการแข่งขันแบบใหม่คือ “จิตใจมนุษย์” “การคิดเชิงวิพากษ์ของมนุษย์” และ “ความฉลาดในการตัดสินใจของมนุษย์”

3.  AI อาจมีอาการ "ประสาทหลอน" ซึ่งเห็นได้จากข่าวตัวอย่างในปัจจุบันที่ จู่ ๆ AI ก็ให้คำตอบที่ผิดกับโจทย์เลขง่าย ๆ ซึ่งเกิดจากความบกพร่องของระบบ การมอบอำนาจให้กับ AI โดยสมบูรณ์จะก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมากในแง่ของการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง หรือแม้แต่ในทางกฎหมาย


สรุป

AI ยังคงเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจและบริษัทในปัจจุบันควรศึกษาการนำมาใช้ แต่ต้องคำนึงเสมอว่าหัวใจสำคัญอยู่ที่ผู้คน องค์กรจะบรรลุเป้าหมายได้ ด้วยโมเดลธุรกิจที่ถูกคิดมาอย่างดีว่าสามารถทำงานร่วมกับ AI ได้ และบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญพอที่จะทำงานร่วมกับมัน

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยจัดการ การทำเงินเดือนในองค์กร ByteHR ก็มีโปรแกรมคำนวณเงินเดือน ที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วมากกว่าเดิม ทั้งคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินและสร้างรายงาน ภงด.1 และ ภงด.1ก ฯลฯ แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรม hr payroll อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด