ทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาหยุดเพราะความเครียด?

CFO ถาม CEO ว่า : “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราลงทุนกับพนักงานของเราแล้วพวกเขาก็ลาออกไป”?
CEO ถามกลับว่า : “แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหาเราไม่ลงทุนกับพวกเขาแต่พวกเขาอยู่กับเรา”?

คุณคงเคยได้ยินหรืออ่าน Quote ดังกล่าวนี้มาบ้างซึ่งเป็น Quote ที่คนนำมาอ้างอิงถึงเรื่องการบริหารองค์กรอย่างแพร่หลาย บางบริษัทอาจจะยังมีความคิดที่ว่า หากพนักงานทำงานไม่ไหวก็เท่ากับพวกเขาไม่เหมาะสมกับองค์กร และองค์กรไม่จำเป็นต้องไปโอบอุ้มพวกเขาหรือลงทุนอะไรเพื่อเอาใจหรือส่งเสริมพนักงาน ในทางกลับกัน มันก็น่าคิดว่าหากคุณไม่เคยทำอะไรเพื่อพนักงานเลย หรือพัฒนาคนในองค์กรเลย องค์กรของคุณกำลังขับเคลื่อนด้วยบุคลากรประเภทใด?
จากเมื่อก่อนที่พนักงานต้องง้อบริษัทหรือนายจ้าง แต่ยุคสมัยของเทคโนโลยีเปลี่ยนไปและคนมีทางเลือกมากมาย ทำให้ปัจจุบันบริษัททั่วโลกเผชิญภาวะพนักงานเปลี่ยนงานบ่อย ความรักและผูกพันธ์ต่อองค์กรลดน้อยลง ทำให้บริษัทต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากในการเทรนพนักงานขึ้นมาใหม่และต้องหันมาดูแลเอาใจใส่พนักงานให้มากกว่าเดิม ฉะนั้นเทรนการบริหารจัดการพนักงานในปัจจุบันขององค์กรและฝ่ายทรัพยากรบุคคลคือการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กร (Employee Retention) หนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรและทำให้พนักงานมีความสุขในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์ หรือสร้างเส้นทางการเติบโตในองค์กรเพื่อให้พนักงานได้รับความท้าทายใหม่ๆตลอดเวลา


คุณอาจมีพนักงานที่ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม และจัดการโปรเจคสำคัญให้กับบริษัทได้ แต่เราอยากให้คุณคอยจับตามองพนักงานที่เก่งกาจเหล่านี้ให้ดี เพราะพวกเขาอาจสะสมความเครียดอยู่โดยไม่รู้ตัวซึ่งจะส่งผลเสียในระยะยาวได้ความเครียดจากงานไม่ใช่เรื่องที่น่าหัวเราะหรือน่าภูมิใจเพราะมันนำพามาซึ่งโรคหลากชนิด เช่น โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และภาวะแปรปรวนทางอารมณ์ จิตใจอื่นๆ ดังนั้นองค์กรเองควรตระหนักถึงสัญญาณเหล่านี้และเรียนรู้วิธีที่จะช่วยเหลือพนักงานจากภาวะดังกล่าวให้พวกเขากลับมาแสดงฝีมือได้อย่างงดงามอีกครั้ง

จากงานวิจัยโดย Perkbox ประเทศอังกฤษปี 2018 การทำงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดในกลุ่มคนวัยทำงานกว่า 59% และอีก 21% นั้นเกิดความเครียดปานกลางถึงเครียดมากหลายครั้งต่ออาทิตย์ และจากรายงาน CIPD ปี 2019 ของประเทศอังกฤษ 37% ของพนักงานลาป่วยด้วยสาเหตุจากความเครียดเนื่องจากปริมาณงานจำนวนมากและการบริหารงานภายในองค์กรที่ไร้ประสิทธิภาพ รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ (Toxic Workplace) เป็นอีกหนึ่งในสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงาน และจากรายงาน 34% ของพนักงานในอังกฤษลาออกจากงานเพราะวัฒนธรรมองค์กรที่ย่ำแย่ ส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของอังกฤษกว่า 23.6 ล้านปอนด์ต่อปี
ในส่วนของประเทศไทยเองจากการรายงานของ Cigna ปี 2017 พบว่าพนักงานออฟฟิศ 30% เท่านั้นที่รู้สึกว่าที่ทำงานของตนมีการให้ความช่วยเหลือในการจัดการความเครียด ขณะที่อีก 37% กล่าวว่านายจ้างไม่มีการช่วยเหลือใดๆ เกี่ยวกับการจัดการความเครียดเลย ตัวเลขเหล่านี้กระตุกให้องค์กรต่างๆหันมาใส่ใจสภาวะทางจิตใจของพนักงานมากขึ้น

สังเกตได้อย่างไรเมื่อพนักงาน เกิดความเครียด?

  • หมดความสนใจในงานที่ได้รับมอบหมายและคุณภาพของงานลดลง
  • ร่าเริงน้อยลง หรือจากเป็นคนที่มีอารมณ์ขันก็ซึมไม่พูดไม่จา
  • ลาป่วยบ่อย ดูเหนื่อยตลอดเวลา
  • เริ่มไม่ตรงต่อเวลาในนัดหมายต่างๆ
  • ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความเครียด
  • การสื่อสารคือหัวใจ

ทำอย่างไรเมื่อพนักงานลาหยุดเพราะความเครียด?
เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการพูดคุยเป็นการส่วนตัว ลองถามไถ่ถึงสาเหตุของความเครียดและหาทางที่จะแก้ไขมัน แน่นอนว่าพนักงานของคุณอาจจะรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะเล่าให้หัวหน้างานฟัง และพวกเขาก็คงจะไม่แน่ใจว่าคุณจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร หรือช่วยได้จริงหรือไม่ สิ่งสำคัญคือคุณต้องอดทนและให้เวลาพนักงานได้เล่าออกมา
การเคารพในการตัดสินใจของพนักงานและให้เวลาพวกเขาได้พักผ่อน การสื่อสารจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งพนักงานและหัวหน้างานคุยเข้าใจในสิ่งเดียวกัน และสอบถามว่ามีอะไรที่คุณสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นหรือกลับมาทำงานได้ดีดังเดิม นี่ยังเป็นโอกาสที่ทำให้พวกเขาได้ตระหนักว่าพวกเขาสำคัญแค่ไหนสำหรับองค์กรทางที่ดีที่สุดสำหรับพนักงานที่พบกับภาวะหมดไฟ(Burn Out) อาจจะเป็นการหยุดพักผ่อน ให้ห่างไกลจากออฟฟิศที่ทำงาน และรีชาตแบตเตอรี่สมองของตัวเองใหม่ ในฐานะหัวหน้างานหรือ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนี่เป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องรู้จักจัดการปัญหานี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนักงานหายจากภาวะความเครียดและกลับมาทำงานได้อย่างรวดเร็ว แล้วทางแก้ไขปัญหาจะกระจ่างขึ้นเมื่อคุณได้พูดคุยเปิดอกกับพนักงานครั้งแรกและเข้าแก้ไขได้อย่างถูกจุด



หากคุณประสบปัญหาการจัดการข้อมูลระบบลาของพนักงานและยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของ ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com

อ้างอิง
https://www.breathehr.com/blog/what-to-do-when-you-have-an-employee-off-sick-with-stress
Image credit : www.pixabay.com

« รายงานเอกสารราชการที่ต้องรู้ก่อนยื่นภาษีสำหรับ HR Payroll มือใหม่


บทบาทที่เปลี่ยนไปของ HR ในยุค Gig Economy »

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด