บริษัทจะช่วยให้พนักงานที่ถูกเลิกจ้าง และบริหารพนักงานที่ยังอยู่ได้อย่างไร

layoff


ในขณะนี้หลายองค์กรทั่วโลกกำลังเจอสถานการณ์ซ้ำซ้อนของการเลิกจ้าง โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งครองพาดหัวข่าวใหญ่ทุกสำนัก แน่นอนว่าคนที่โดนเลิกจ้าง อนาคตอาจดูไม่สดใส แต่สำหรับคนที่ยังมีงานทำ ชีวิตของพวกเขาก็อาจไม่หวานชื่นอย่างที่ใคร ๆ คิด


สำหรับคนที่ 'รอด' คนเหล่านี้ต้องเผชิญความกดดันที่มากขึ้น เพื่อผลักดันให้สิ่งต่าง ๆ ดำเนินต่อไป พวกเขาอาจต้องใช้ความพยายามมากขึ้น หรือทำงานเพิ่มเติม ท่ามกลางความกังวลว่าพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่จะตกงาน สถานการณ์เหล่านี้อาจเลวร้ายลงไปจนพวกเขาต้องเผชิญกับความรู้สึกผิด เมื่อพวกเขาเป็นคนที่ 'รอด' ในขณะที่เพื่อนร่วมงานคนอื่นต้อง 'ตกงาน' โดยไม่สามารถช่วยอะไรได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงหรือให้ความสำคัญมากเท่าที่ควร เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่า คนที่ไม่ถูกเลิกจ้างและยังอยู่ในองค์กรต่อไปได้ก็คงมีความสุขดีอยู่แล้ว

ในทำนองเดียวกันพนักงานที่ 'ถูกเลิกจ้าง' รู้สึกเหมือนคนที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง รู้สึกแย่ที่ต้องเสียงานไป พวกเขาอาจเชื่อว่าตัวเองมีค่าน้อยกว่า หรือมีทักษะน้อยกว่าคนที่ยังถูกจ้างอยู่


ในความเป็นจริงแล้ว การเลิกจ้างส่วนใหญ่ เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อผิดพลาดในการตัดสินของฝ่ายบริหาร เนื่องจากบริษัทจำนวนมากในช่วงที่ดอกเบี้ยต่ำและยุค ZIRP (Zero interest-rate policy - นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์ เป็นแนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาคที่อธิบายเงื่อนไขที่มีอัตราดอกเบี้ยระบุที่ต่ำมาก เช่น อัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นร่วมสมัยและในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ถึงธันวาคม 2558 และอีกครั้งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2565 ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของโควิด19) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก VC (Venture Capital : บริษัทจัดตั้งกองทุนที่ระดมเงินจากนักลงทุนเพื่อมาลงทุนในธุรกิจ Startup)ที่กระหายการเติบโตเพื่อไปอยู่ในแนวหน้าปฏิบัติตามโมเดลที่เน้นการเติบโตในทุกต้นทุน ซึ่งต่อมานำไปสู่การจ้างทีมขนาดใหญ่เพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดด้วยความเร็วสูงโดยไม่ต้องสนใจความสามารถในการทำกำไร ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เงินจึงหลั่งไหลเข้าสู่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงและโมเดลธุรกิจ "เติบโตในทุกต้นทุน" เมื่ออัตราดอกเบี้ยกลับสู่ระดับปกติหรือที่เรียกว่า 4+% VC และนักลงทุนเริ่มให้ความสำคัญกับการทำกำไร (เพราะถ้าคุณไม่ทำกำไร ฉันจะเก็บเงินไว้ในธนาคารและรับดอกเบี้ย 4%) และวิธีที่ดีที่สุดในการลด ต้นทุนและปรับปรุงงบดุลคือการไล่พนักงานออก มันทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นทันที ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารและนักลงทุนชื่นชอบ ดังนั้นในกรณีส่วนใหญ่ ไม่ใช่ความผิดของพนักงาน แต่เป็นความผิดของการทำงานของระบบเท่านั้น


layoff2


สิ่งที่บริษัทสามารถช่วยเหลือพนักงานหลังสถานการณ์การเลิกจ้างพนักงานได้ 

1. การสื่อสารและการเคารพศักดิ์ศรีของพนักงาน

รูปแบบการสื่อสารการเลิกจ้างเป็นสิ่งสำคัญ การสื่อสารด้วยความเคารพ ชัดเจน และคำนึงถึงศักดิ์ศรีของพนักงานอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการรับมือกับการตกงาน ควรเน้นการสื่อสารส่วนบุคคลจากผู้นำระดับสูง แทนที่จะเน้นไปที่อีเมลทั่วไป การให้ผู้จัดการหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคล สามารถบอกพนักงานที่ยังอยู่ได้ว่า คนที่ถูกเลิกจ้าง ได้รับการปฏิบัติอย่างดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และต้องปฏิบัติเช่นนั้นจริง ๆ เพราะไม่ใช่ความคิดที่ดี ถ้าบริษัทจะโกหกเกี่ยวกับเรื่องนี้ คนที่ไม่ได้ถูกเลิกจ้างก็อาจจะลาออกไปเองโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า หากพวกเขาคิดว่าบริษัทปฏิบัติกับพนักงานอย่างไม่เห็นค่า และผู้จัดการควรพยายามไม่แสดงความยินดีกับคนที่ยังมีงานทำอยู่ เพราะนี่อาจเพิ่มความรู้สึกผิดให้พนักงานที่เห็นเพื่อนจากไปได้


2. แพ็กเกจชดเชย

การนำเสนอแพ็กเกจเงินชดเชยที่เกินกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดสามารถบรรเทาความกังวลทางการเงินได้ทันทีสำหรับพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง แพ็คเกจเหล่านี้มักจะรวมค่าตอบแทนตามอายุการทำงาน สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และบางครั้งอาจรวมตัวเลือกหุ้นหรือโบนัสด้วย


3. ช่วยให้คำปรึกษาในการหางานใหม่ 

ไม่ว่าจะเป็น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ การเขียนเรซูเม่ การฝึกสัมภาษณ์และการสนับสนุนการหางานซึ่งช่วยให้พนักงานได้งานใหม่เร็วขึ้นและลดความเครียดระหว่างการหางาน


4. การสนับสนุนพนักงานที่เหลืออยู่

ผลกระทบของการเลิกจ้างขยายไปถึงพนักงานที่ยังคงอยู่ ขวัญกำลังใจและประสิทธิผลของผู้รอดชีวิตมักถูกมองข้ามไป ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ความรู้สึกผิดของผู้รอดชีวิต" การสื่อสารอย่างสม่ำเสมอและโปร่งใสกับพนักงานที่เหลืออยู่เป็นสิ่งสำคัญ การอัปเดตเกี่ยวกับสถานะของบริษัทและแผนการในอนาคตสามารถลดความไม่แน่นอนและสร้างความไว้วางใจได้ ฟอรัมแบบเปิดและช่วงถามตอบสามารถเป็นเครื่องมือในการจัดการข้อกังวลและขจัดข่าวลือได้


5. สร้างความมั่นใจและให้การสนับสนุน

ฝ่ายบริหารควรสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานที่เหลืออยู่ในเรื่องความมั่นคงและคุณค่าของงานต่อองค์กร การให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิตผ่านบริการให้คำปรึกษาหรือโครงการช่วยเหลือพนักงานสามารถช่วยให้พวกเขารับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการสูญเสียเพื่อนร่วมงานได้ หลังการเลิกจ้าง มักจำเป็นต้องกำหนดบทบาทใหม่และกระจายความรับผิดชอบใหม่ การให้การฝึกอบรมสำหรับบทบาทและความรับผิดชอบใหม่ๆ สามารถช่วยลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงและรักษาประสิทธิภาพการทำงานได้

บริษัทจัดการกับการเลิกจ้างอย่างมีความรับผิดชอบ ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกที่เป็นธรรมสำหรับการเลิกจ้าง การหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ และระยะเวลาของการประกาศเพื่อลดการหยุดชะงัก ความรับผิดชอบขององค์กรขยายไปถึงชุมชนท้องถิ่น ซึ่งการเลิกจ้างจำนวนมากอาจมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ


การบริหารจัดการข้อมูลของพนักงานหลังการเลิกจ้างก็เป็นอีกหน้าที่ ที่สำคัญของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องมีการบันทึกการสิ้นสุดการทำงานและข้อตกลงสัญญาต่าง ๆ ไว้เป็นข้อมูลอ้างอิง ทั้งสำหรับตัวบริษัทเอง หรือบริษัทใหม่มาขอข้อมูลว่ามีพนักงานคนนี้เคยทำงานที่นี่หรือไม่ รวมถึงป้องกันเหตุไม่คาดฝันหากพนักงานที่ถูกเลิกจ้างไปกระทำความผิดใด ๆ ที่ได้อ้างชื่อบริษัทไว้หรืออ้างว่ายังทำงานกับบริษัทอยู่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเองก็สามารถใช้หลักฐานการบันทึกข้อมูลนี้ยืนยันได้ ไม่ใช่ว่าบริษัทเลิกจ้างพนักงานไปแล้ว และบริษัทจะทิ้งข้อมูลไปเลย หรือไม่บันทึกรายละเอียดใด ๆ ไว้เลย

การจัดการกับข้อมูลพนักงานจำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้เพื่อให้ทุกการเปลี่ยนแปลงดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นปัจจุบัน ByteHR มีโปรแกรมHRที่มีฟังก์ชันการจัดการข้อมูลพนักงานที่ครบวงจร รวมไปถึงโปรแกรมทำเงินเดือน สามรถแยกย่อย ปรับเปลี่ยนกฎตามลักษณะขององค์กรได้ ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อตอบรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดเวลา หากคุณต้องการวางแผนระบบการจัดการข้อมูลพนักงานให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรายินดีให้คำปรึกษาได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com



Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด