ประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษีมีอะไรบ้าง รู้ไว้จะได้ยื่นถูก

เงินได้


เงินได้พึงประเมิณ คือ เงินได้ที่กฎหมายบังคับให้เราต้องเสียภาษี ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความมั่งคังเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เงินสด ทรัพย์สินที่ตีมูลค่าได้ สิทธิประโยชน์ตีมูลค่าได้ เงินค่าภาษีที่มีคนจ่ายแทนเรา เครดิตภาษีเงินปันผล เว้นแต่ว่ากฎหมายจะระบุไว้ว่าเงินได้ประเภทนั้นเป็น เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

เมื่อจะต้องยื่นภาษีสิ่งที่เราต้องระบุคือประเภทเงินรายได้ที่ต้องเสียภาษี เพราะคนเราประกอบอาชีพแต่งต่างกัน รายได้อาจมีทั้งเงินเดือน หรือรายได้จากการประกอบการอื่นๆ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ดังนั้นกฏหมายภาษีจึงแบ่งลักษณะเงินได้เป็นกลุ่ม ๆ เพื่อกำหนดวิธีคำนวนภาษีที่เป็นธรรมที่สุด หากใครทำงานประจำแล้วมีรายได้เสริมอื่น ๆ และไม่แน่ใจว่ารายได้ของเราเข้าข่ายเงินได้ประเภทไหนใน 8 ประเภท วันนี้ ByteHR รวบรวมประเภทเงินได้มาอธิบายให้ฟัง


1. เงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินจากการจ้างแรงงาน ได้แก่

- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ 

- ค่าเช่าบ้านที่ได้จากนายจ้าง หรือเงินคำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า

- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ

- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน 


2. เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้(ฟรีแลนซ์) เช่น

- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด

- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเน็จ โบนัส

- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

- เงินคำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า

- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้ต้องชำระ

- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้ เนื่องจากตำแหน่งหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือ จากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็นงานประจำหรือชั่วคราว


เงินได้


ลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

 4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น โดยเงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายแทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้


 5. เงินได้ประเภทที่ 5 คือ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หรือเงินประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก

- การให้เช่าทรัพย์สิน

- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน

- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว


 6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ใน 6 อาชีพ(ไม่ใช่ฟรีแลนซ์ทั่วไป) ได้แก่ นักกฎหมาย(เช่น ค่าปรึกษาว่าคดีความ) การประกอบโรคศิลป(เช่น เปิดคลินิกส่วนตัวนอกโรงพยาบาลและไม่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยค้างคืน) วิศวกรสถาปนิก นักบัญชี(ค่าออกแบบ ค่าปรึกษา)  และประณีตศิลป์(ค่าผลงาน เช่น งานวาด งานปั้น) เพราะค่าตอบแทนจากอาชีพอิสระเหล่านี้มีจำนวนไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือความยากง่าย


7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ


8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพานิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 - 7


หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยจัดการ การทำเงินเดือนในองค์กร ByteHR ก็มีโปรแกรมคำนวณเงินเดือน ที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วมากกว่าเดิม ทั้งคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินและสร้างรายงาน ภงด.1 และ ภงด.1ก ฯลฯ แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมสำหรับ HR อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


ByteHR มีโปรแกรมสำหรับ HR ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน การจัดการกะพนักงาน และบันทึกเวลาเข้าออกพนักงาน ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย

อ้างอิงจาก กรมสรรพากร


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด