ปลดล็อกวิถีการทำงานกับคน Gen Z

Gen Z


ผู้นำ Gen X ต้องก้าวออกจาก Comfort Zone เพื่อลองวิธีใหม่ๆ ในการมีส่วนร่วมและจูงใจสมาชิก Gen Z ในทีม

Gen Z (ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1996-2012) เป็นหัวข้อถกเถียงอย่างต่อเนื่องในโลกของการทำงาน โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำงานที่ต่างไปอย่างชัดเจนกับรุ่นก่อน ๆ โดย Gen Z จะเลือกทำงานที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง และให้ความสำคัญด้านสุขภาพจิตมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งจุดนี้ทำให้พวกเขาโดนโจมตีต่างคนทำงานรุ่นก่อน ว่าเรื่องเยอะ ไม่มีความอดทน และเปราะบาง ในขณะที่ Gen Z แย้งว่า วัฒนธรรมองค์กรเดิม ๆ ที่เป็นพิษ ยกย่องการทำงานหนักโดยไม่สนใจสุขภาพจิตหรือกาย ไม่ควรเป็นเรื่องปกติอีกต่อไป

แม้มีการวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางแต่องค์กรต่าง ๆ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขาเหล่านี้คือประชากรรุ่นใหม่ที่กำลังเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร ฉะนั้นเพื่อปรับให้เข้ากับตลาดที่กำลังพัฒนาตามภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนในปัจจุบัน องค์กรต่างๆ เผชิญกับความท้าทายใหม่ว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไร เพื่อชนะใจคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาทำงานกับองค์กร และให้คนรุ่นก่อนหน้า ทำงานร่วมกับ Gen Z ได้อย่างราบรื่น


โฟกัสที่คน Gen Z

แบบสำรวจ Gen Z ทั่วโลกประจำปี 2022 ของ Deloitte ได้วิเคราะห์ถึงกลุ่มแรงงานรุ่นนี้ไว้ว่าสาเหตุสามอันดับแรกที่กลุ่ม Gen Z อ้างในการลาออกจากงาน คือ

  1. เงินเดือนไม่ดี 

  2. สุขภาพจิตเสีย

  3. ความเหนื่อยหน่าย น่าเบื่อของงาน

นอกจากนี้ Gen Z ยังระบุอีกว่า ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดี โอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา รวมถึงเงินเดือน/ผลประโยชน์ทางการเงินที่สูงเป็นเหตุผลหลักสามประการในการเลือกตำแหน่งใหม่

รายงาน Global Leadership Forecast ประจำปี 2561 ของ DDI รายงานว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของบทบาทผู้นำทั่วโลกดำรงตำแหน่งโดยกลุ่ม Gen X และจะยังคงมีบทบาทเป็นผู้นำที่สำคัญต่อไปในอีก 8 ถึง 25 ปีข้างหน้า ผู้นำรุ่นนี้มักถูกขนานนามว่าเป็นลูกคนกลาง โดยอยู่ในจุดสูงสุดของเทรนด์ดิจิทัลและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด

ส่วนการพัฒนาความเป็นผู้นำของ Gen X ได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มทางสังคมและเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ 90 ถึงต้นทศวรรษ 2000 ซึ่งมาพร้อมการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล 

พนักงาน Gen Z ให้ความสำคัญกับองค์กรที่ให้อำนาจพวกเขาในการจัดหางานที่มีเป้าหมาย ยืดหยุ่น และโอกาสในการเติบโตและการพัฒนา ทว่าค่านิยมเหล่านี้ขัดแย้งกับสิ่งที่องค์กรสามารถให้ได้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะวิกฤต สิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้นำองค์กรทำได้ และสามารถทำได้ทันที คือการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่น่าอยู่ เพื่อดึงดูดให้ Gen Z ที่มีความสามารถสนใจมาทำงานกับองค์กรมากขึ้น


การปรับตัวของผู้นำ Gen X ในยุคใหม่

GenZ


ผู้นำ Gen X สามารถแสดงจุดแข็งของความเป็นผู้นำโดยการยอมรับว่าประชากร Gen Z บางครั้งอาจมีความรู้เชิงลึกที่หลากหลายในบางเรื่องที่ Gen X อาจไม่เคยรู้มาก่อนโดยเฉพาะด้านเทรนด์ใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยี ผู้นำ Gen X ต้องคำนึงถึงความชอบและมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ของทีม Gen Z และเลี่ยงการบังคับใช้แนวทางการดำเนินงานแบบเดียวกันกับทุกคน แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจขัดกับความคุ้นชินของ Gen X ในการบริหารคน ในช่วงเริ่มต้น ByteHR ขอให้คุณอดทนพยายามเข้าไว้และทำ 2 ข้อนี้อย่างสม่ำเสมอ


1. การสื่อสาร

ผู้นำ Gen X สามารถใช้วิธีการสื่อสารที่ Gen Z นิยมใช้ ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อตามใจ Gen Z แต่เพื่อให้เข้าใจเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบันมากขึ้น เช่น การใช้แพลตฟอร์มที่ไม่เป็นทางการ (ข้อความ, WhatsApp ฯลฯ) เพื่ออำนวยความสะดวกในช่องทางการสื่อสารแบบเปิด

ใช้ประโยชน์จากอินโฟกราฟิก วิดีโอ และอิโมจิเพื่อแสดงอารมณ์และถ่ายทอดข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่องทางการสื่อสารที่ชัดเจนและเปิดกว้างสามารถเสริมความมั่นใจพวกเขาและเปิดโอกาสให้มีการสนทนาที่ตรงไปตรงมามากขึ้น


2. การทำงานร่วมกัน

Gen Z ให้ความสำคัญกับตัวเลือกการเรียนรู้และความยืดหยุ่น ผู้นำสามารถส่งเสริมการทำงานร่วมกันได้ด้วยวิธีต่อไปนี้:

  • ใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มในการทำงานร่วมกัน เช่น Slack, Teams ฯลฯ ที่สอดคล้องกับความคล่องแคล่วในการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลของ Gen Z 

  • ฝึกการฟังอย่างตั้งใจเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ยอมรับว่าทุกแนวคิดต่างมีคุณค่า แม้ทัศนคติบางอย่างอาจมีความต่างกันอย่างสุดขั้ว ก็อย่าเพิ่งใช้ทัศนคติของตนข่มความคิดเห็นของ Gen Z

  • จับคู่กับที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ซึ่งสามารถชี้แนะและสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพได้ สิ่งนี้ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันข้ามรุ่นและการแบ่งปันความรู้ และเคารพความต้องการของ Gen Z ที่ต้องการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกันข้ามสายงาน โดยสนับสนุนให้พนักงาน Gen Z ทำงานร่วมกันในโปรเจคที่ตรงกับความสนใจและความเชี่ยวชาญของพวกเขา

  • เสนอโอกาสในการทำงานจากระยะไกล (Work from Home)และกำหนดเวลาที่ยืดหยุ่น ช่วยให้ Gen Z สามารถทำงานร่วมกันได้นอกเหนือจากเวลาทำการแบบเดิมๆ


ในส่วนของ HR เองก็ต้องปรับตัวรับกับพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี ที่วันนี้อาจไม่รู้ว่าเครื่องแฟกซ์คืออะไร หรือเครื่องถ่ายเอกสารใช้งานอย่างไร แต่พวกเขารู้จักการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ได้คล่องราวกับหายใจ การจะบริหารจัดการข้อมูลของพนักงานควรทำให้พวกเขารู้สึกว่าเข้าถึงง่าย สะดวกและอัปเดตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง ByteHR เองมีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมสำหรับ HRหรือโปรแกรมบริหารงานบุคคลครบวงจร แม่นยำ ทั้งการทำเงินเดือน เอกสารลดหย่อนภาษี บันทึกกะ วันลาคงเหลือในรูปแบบเรียล์ไทม์ นอกจากนี้พนักงานสามารถส่งลาออนไลน์ พร้อมดูสรุปต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชัน รวมถึงเช็กเวลาเข้างานผ่านแอปฯได้อีก โดยระบบจะแสดงรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ โดยใช้ ​​Google Maps ตอบโจทย์การทำงานร่วมกับคน Gen Z ช่วยประหยัดเวลาของฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อนำเวลาที่เหลือไปใช้กับการสื่อสาร พัฒนางานด้านอื่น ๆ ในองค์กรต่อไป 


หากคุณสนใจโปรแกรมเงินเดือน และโปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจรที่มีความยืดหยุ่นสูงติดต่อทีมของเราเพื่อรับคำปรึกษาได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด