ป้องกันข้อมูลพนักงานไม่ให้ตกเป็นเหยื่อโจรกรรมทางไซเบอร์



cyber security 1


หัวใจของการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลคือ "ป้องกันก่อน ดีกว่าแก้ไขทีหลัง" เป็นเรื่องจริงเสมอ 

ปัจจุบันการละเมิดความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง และความปลอดภัยของข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่รักษาได้ยากมากขึ้นเพราะเรามักเป็นฝ่ายตั้งรับมากกว่าโจมตี ดังนั้นผู้ไม่หวังดีจึงสามารถสำรวจช่องโหว่และโจมตีเราด้วยความแม่นยำ

ในบทความนี้ ByteHR จะมาพูดถึงการโจมตีทางไซเบอร์ซึ่งสามารถเกิดได้หลายวิธีและทำให้บริษัทได้รับความเสียหายมหาศาลจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมและโปรแกรมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์

จากประสบการณ์ของ ByteHR ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นแผนกที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์มากที่สุดแผนกหนึ่งขององค์กร เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ละเอียดอ่อนของพนักงานได้ ถึงอย่างนั้นเราก็สามารถป้องกันความเสี่ยงนี้ได้ ทั้งจากการเรียนรู้เทคนิคของการโจรกรรมทางไซเบอร์และการหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยป้องกันข้อมูลของพนักงานและองค์กรได้


เคสตัวอย่าง

นาย ก เห็นอีเมลจาก CEO ของเขาเข้ามาใน Inbox และขอให้เขาส่งข้อมูลทางการเงินทั้งหมดของบริษัทให้เขา ซึ่งนาย ก ก็ลังเล เพราะมันไม่ปกติเลยที่ CEO จะขอให้เขาทำแบบนั้น แต่อีเมลดังกล่าวก็ดูเหมือนมาจากอีเมลของบริษัทจริง ๆ 

ในความเป็นจริงแล้วอีเมลนี้ไม่ได้มาจาก CEO แต่มาจากแฮกเกอร์...

นี่คือเรื่องราวที่เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกทุกวัน 

สุดท้ายนาย ก ตัดสินใจติดต่อ CEO โดยตรงเพื่อตรวจสอบว่าอีเมลนี้มากจากเขาหรือไม่


นี่คือการตัดสินใจที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทจะโชคดีขนาดนั้น ขนาดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Target, eBay, JP Morgan,  ยังเคยตกเป็นเหยื่อจากการโจมตีทางไซเบอร์ 

บริษัทต่าง ๆ ได้หาวิธีป้องกันโดยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจัดฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับพนักงานเพื่อให้รู้เท่าทันมิจฉาชีพ โดยจัดการอบรมสม่ำเสมอ เพื่อย้ำเตือนพนักงานไม่ให้กดไฟล์หรือลิงก์ใด ๆ ที่ถูกส่งมาจากอีเมลน่าสงสัย 

หลาย ๆ บริษัทก็ตั้งกฎให้พนักงานต้องส่งอีเมลต้องสงสัยไปที่แผนก IT เพื่อตรวจสอบดูก่อนว่าเป็นอีเมลของจริงหรือเป็นมิจฉาชีพ เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพปลอมแปลงอีเมลได้ดูคล้ายคลึงกับชื่ออีเมลจริงของบริษัทมาก จนบางทีเหมือนจนแทบแยกไม่ออก


cyber security 2


รูปแบบของการโจรกรรมข้อมูล

ผลของการตื่นตัวใน Digital transformation ทำให้องค์กรต่าง ๆ ปรับปรุงการทำงานและข้อมูลในองค์กรให้เป็นดิจิทัลและทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ทำให้เป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูดสำหรับอาชญากรทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน ตั้งแต่แรนซัมแวร์ (Ransomware) ที่เข้ารหัสข้อมูลของเหยื่อและเรียกเงินค่าไถ่สำหรับการถอดรหัส ไปจนถึงการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง (Phising) ที่ส่งเมลหลอกลวงพนักงานให้เปิดเผยข้อมูลละเอียดอ่อนและเข้าถึงข้อมูลของบริษัทโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ส่งอีเมลฟิชชิ่งมาในรูปแบบของลูกค้าที่ต้องการสอบถามข้อมูล หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสินค้า และแนบลิ้งก์หรือไฟล์ไว้ในเมล ซึ่งพนักงานฝ่ายบริการลูกค้ามักตกเป็นเหยื่อของอีเมลฟิชชิ่งลักษณะนี้

ความซับซ้อนของการโจมตีเหล่านี้มักมีความสัมพันธ์กับความอ่อนแอของมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร หลายบริษัทจึงเลือกให้ความสำคัญไปที่โปรแกรมความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นอันดับแรก


โปรแกรมความปลอดภัยทางไซเบอร์: เกราะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์

โปรแกรมรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่:

  • การประเมินความเสี่ยง: ประเมินมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอเพื่อระบุช่องโหว่

แผนตอบสนองต่อเหตุการณ์: การเตรียมและซ้อมวิธีตอบสนองต่อการละเมิดความปลอดภัย

  • การอัปเดตและการจัดการแพตช์เป็นประจำ: คอยอัปเดตซอฟต์แวร์และระบบให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อป้องกันช่องโหว่ที่ทราบ

  • การฝึกอบรมและการตระหนักรู้ของพนักงาน: การศึกษาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และกลยุทธ์การป้องกันล่าสุด

จากที่เราเกริ่นไปข้างต้นแล้วว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมักเป็นเป้าหมายอันดับแรก ๆ ของมิจฉาชีพที่ต้องการล้วงข้อมูลของพนักงานและบริษัท เพราะข้อมูลของฝ่ายทรัพยากรบุคคลมักมีข้อมูลที่นำไปใช้หลอกลวงต่อได้ ทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และเลขบัญชีเงินเดือน ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยอีกชั้นบริษัทควรให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์ทรัพยากรบุคคลด้วย


บทบาทที่สำคัญของซอฟต์แวร์ทรัพยากรบุคคล

ซอฟต์แวร์ HR สมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ดังนี้

1. จัดการข้อมูลพนักงานอย่างปลอดภัยผ่านการเข้ารหัสและการควบคุมการเข้าถึงที่ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของภัยคุกคามจากภายในและการละเมิดข้อมูล 

2.ช่วยเผยแพร่ข้อมูลการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แก่พนักงาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากข้อผิดพลาดของมนุษย์เป็นสาเหตุสำคัญของเหตุการณ์ทางไซเบอร์


hr software


วิธีป้องกันที่องค์กรทุกองค์กรควรพิจารณา

1. ลงทุนในซอฟต์แวร์ทรัพยากรบุคคลที่ล้ำสมัยที่นำเสนอคุณสมบัติรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

2. พัฒนาและอัปเดตกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่

3. จัดการฝึกอบรมเป็นประจำเพื่อให้พนักงานมีทักษะที่จำเป็นในการรับรู้และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์

4. บูรณาการการตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรผ่านการสื่อสารปกติและการฝึกอบรมการปฏิบัติตามข้อบังคับที่บังคับ

โปรแกรมHR ของ ByteHR มีฟังก์ชันการจัดการ กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลของพนักงานที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับ โปรแกรมทำเงินเดือน ครบวงจร ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูง ปรับแต่งได้ตามลักษณะองค์กรของคุณ 

หากคุณต้องการวางแผนระบบการจัดหารข้อมูลพนักงานให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรายินดีให้คำปรึกษาได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด