ห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน บริษัทตั้งกฎแบบนี้ได้ไหม
สวัสดิการพื้นฐานที่พนักงานบริษัททุกคนต้องได้รับจากองค์กรของตนเองนั่นคือสิทธิ์ในการลา อันประกอบไปด้วยการลาป่วย ลากิจ และลาพักร้อน (เมื่อทำงานครบตามอายุงานที่กำหนด) อย่างไรก็ตามเชื่อว่ามีพนักงานจำนวนไม่น้อยเกิดข้อสงสัยกับบริษัทของตนเองที่กำลังทำงาน หากมีการตั้งกฎว่า ห้ามพนักงานลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน ทำได้หรือไม่ Byte HR จะพาทุกคนมาค้นหาคำตอบกันเลย
กฎหมายเบื้องต้นในเรื่องสิทธิ์การลาของพนักงาน
ลำดับแรกของพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานในด้านของสิทธิ์การลาเพื่อจะได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องสำหรับการลาของตนเองแต่ละครั้ง
1. กฎหมายเรื่องการลากิจ
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 34 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ระบุไว้ว่า “ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน” และนายจ้างต้องทำการจ่ายค่าจ้างเหมือนมาทำงานตามปกติตลอดการลาดังกล่าว
2. กฎหมายเรื่องการลาพักร้อน
ตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 ระบุว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีละไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน” และนายจ้างต้องทำการจ่ายค่าจ้างเหมือนมาทำงานตามปกติตลอดการลาดังกล่าว ซึ่งการกำหนดวันลาพักร้อนเป็นได้ทั้งนายจ้างแจ้งให้ทราบล่วงหน้า หรือเป็นความตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย
บริษัทตั้งกฎห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน ได้ไหม
สถานการณ์นี้สมมุติว่านาย A ต้องการลาติดต่อกันเกิน 3 วันต่อเดือน โดยอาจเลือกใช้เป็นลาพักร้อน 2 วัน และลากิจอีก 2 วัน รวมเป็น 4 วัน ซึ่งตามกฎหมายที่ระบุก่อนหน้าว่าการลาแต่ละประเภทสามารถทำได้กี่วันต่อเดือนบ้าง จึงสามารถสรุปแต่ละเงื่อนไขได้ ดังนี้
1. นายจ้างมีกฎลาพักร้อนได้ไม่เกิน 2 วัน / เดือน
หากบริษัทมีกฎลาพักร้อนห้ามเกิน 2 วัน / เดือน กรณีนี้สิทธิ์การให้ลาพักร้อนเป็นสิ่งที่นายจ้างกำหนดให้กับลูกจ้างได้ปีละไม่เกิน 6 วัน ดังนั้นหากมีกฎห้ามใช้ลาพักร้อนเกิน 2 วัน / เดือน จึงสามารถตั้งกฎนี้ได้
2. การลากิจธุระจำเป็น
ตามกฎหมายระบุว่าลูกจ้างสามารถลากิจ เพื่อไปกิจธุระจำเป็นของตนเองได้ 3 วัน / ปี แต่ไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนวันในแต่ละเดือน นั่นหมายถึงบริษัทไม่สามารถออกกฎให้กับพนักงานว่าห้ามลากิจเกินเดือนละ 1 ครั้งได้
โดยสรุปของกรณีตัวอย่างนี้หากประเมินตามข้อกฎหมาย นาย A สามารถลาครบตามความตั้งใจของตนเองได้หากมีกิจธุระสำคัญติดต่อกันหลายวัน
อ่านเพิ่มเติม: ลากิจฉุกเฉิน มีอะไรบ้าง
บริษัทตั้งกฎห้ามลางานเกิน 3 วันต่อเดือน ทำได้ไหม
กรณีนี้อาจมีเรื่องของวันลาป่วยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เพราะบริษัทไม่ได้ระบุว่าเป็นการลาประเภทใด แต่ระบุโดยรวม “ห้ามลางานเกิน 3 วันต่อเดือน” ดังนั้นหากการลาดังกล่าวเกิน 3 วัน แต่มีการลาป่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง บริษัทจะไม่สามารถตั้งกฎดังกล่าวได้ เหตุเพราะตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิ์การลาป่วยตามความเป็นจริงที่เกิดอาการเจ็บป่วยและได้รับการอนุญาตโดยแพทย์ ซึ่งการลาดังกล่าวยังคงได้รับเงินค่าจ้างตามปกติ แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน / ปี
โดยภาพรวมบริษัทจึงไม่สามารถตั้งกฎห้ามลางานเกิน 3 วันต่อเดือนได้ เหตุเพราะจะหมายรวมถึงการลาป่วยของพนักงานด้วยนั่นเอง
บทสรุป
หากแยกข้อมูลกันแบบเข้าใจง่าย กรณีลาพักร้อนและลากิจเกิน 3 วัน แต่ไม่เกินตามข้อกฎหมายกำหนด นั่นคือ ลาพักร้อนไม่เกิน 6 วัน และลากิจไม่เกิน 3 วัน แต่ทั้งนี้นายจ้างสามารถระบุจำนวนวันได้ว่าแต่ละเดือนอนุญาตให้ลาเท่าไหร่ เพราะไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้ แต่นายจ้างจะไม่สามารถตั้งกฎการห้ามลางานทุกประเภทรวมกันเกิน 3 วัน ได้เด็ดขาด เพราะอาจมีการลาป่วยเข้ามาเกี่ยวข้อง
เมื่อเข้าใจถึงเรื่องการได้สิทธิ์และการอนุญาตด้านวันลากันไปแล้ว หาก HR ขององค์กรใดกลัวเกิดความสับสนเรื่องการลา การคำนวณเงินได้ เงินหักของพนักงาน และอื่น ๆ ขอแนะนำโปรแกรม HR จาก Byte HR ผู้เชี่ยวชาญตัวจริงด้านการพัฒนาโปรแกรมที่จะช่วยสร้างความสะดวก ง่ายดาย ให้กับฝ่าย HR ของทุกบริษัท ราคาไม่แพง ใช้งานง่าย ฟีเจอร์ดี ๆ มากมาย คุ้มค่าการลงทุนแน่นอน