อัปเดต วิธีคำนวณโอทีรายวันและรายเดือน ตามกฎกระทรวงแรงงาน
การทำงานล่วงเวลา หรือ OT (Overtime) เป็นเรื่องปกติของพนักงานจำนวนมากที่ต้องทำงานเกินกว่าระยะเวลาปกติเพื่อให้งานของตนเองสำเร็จลุล่วงทันตามเวลาที่กำหนด ซึ่งองค์กรจำนวนไม่น้อยมีเงื่อนไขสำหรับการจ่ายค่าแรงเพิ่มเติมให้กับพนักงานคนดังกล่าว อย่างไรก็ตามเพื่อความถูกต้องและเข้าใจอย่างตรงกัน Byte HR จึงขออัปเดตวิธีคำนวณโอทีทั้งแบบรายวันและรายเดือน ตามกฎของกระทรวงแรงงาน สร้างความเท่าเทียมระหว่าง 2 ฝ่าย
การทำงานตามปกติของพนักงานตามกฎหมายแรงงาน
ปกติแล้วหากเป็นพนักงานทั่วไป เช่น พนักงานออฟฟิศ ที่รับเป็นเงินเดือนหรือเงินรายวันที่จ่ายกันแบบเต็มวัน จะต้องทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง หรือตามเงื่อนไขที่ได้มีการตกลงเอาไว้ระหว่างพนักงานกับองค์กร ซึ่งต้องไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
ขณะที่พนักงานกลุ่มที่ต้องทำงานเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ หรือเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิต เช่น พนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่กับสารเคมี วัตถุไวไฟ อันเป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายแรงงานที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยจะต้องทำงานไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง หรือไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
โดยระหว่างการทำงานต้องมีช่วงเวลาให้พนักงานได้พักไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อทำงานติดต่อกัน 5 ชั่วโมง อาจเป็นการพักยาวเต็ม 1 ชั่วโมง หรือแบ่งช่วงเวลาพักตามความเหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างพนักงานกับองค์กร
ในส่วนของวันหยุดพนักงานทุกคนจะต้องมีวันหยุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 วัน ซึ่งระยะเวลาการหยุดแต่ละครั้งต้องไม่ห่างกันเกิน 6 วัน
ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโอทีที่ถูกต้อง
ปกติแล้วการทำโอที หรือ Overtime (OT) จะใช้หลักการคำนวณตามระยะเวลาที่พนักงานคนดังกล่าวได้ทำงานเกินกว่าช่วงเวลาทำงานปกติที่ได้ตกลงกันเอาไว้ เช่น การทำงานต่อจาก 8 ชั่วโมงในวันทำงาน หรือการทำงานวันหยุด ซึ่งการจะให้พนักงานทำงานล่วงเวลาองค์กรต้องได้รับความยินยอมจากตัวพนักงานและอนุญาตให้ทำตามความจำเป็นเท่านั้น
ยกเว้นงานบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องทำงานอย่างต่อเนื่องแม้เกินเวลาปกติไปแล้ว เพราะถ้าเลิกงานโดยฉับพลันอาจส่งผลเสียต่องาน รวมถึงกรณีเป็นงานเร่งด่วน ฉุกเฉิน เช่น งานด้านการขนส่ง งานโรงแรม ร้านอาหาร งานในสถานที่จัดมหรสพ งานสโมสร / สมาคม และงานในสถานพยาบาล เป็นต้น กรณีนี้องค์กรไม่จำเป็นต้องได้รับการยินยอมจากพนักงาน
อย่างไรก็ตามยังมีเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำโอทีในวันหยุดของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดตามปกติ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ใด ๆ ก็ตาม แต่ละเดือนมีข้อกำหนดไว้ว่าสามารถทำได้ไม่เกิน 36 ชั่วโมง / สัปดาห์ และกรณีที่พนักงานต้องทำโอทีเกินกว่า 2 ชั่วโมง องค์กรต้องมีช่วงเวลาในการพักเบรกให้กับพนักงานไม่ต่ำกว่า 20 นาที
วิธีคำนวณโอทีทุกรูปแบบของการทำงาน
ตามกฎหมายแรงงานพนักงานที่ทำงานล่วงเวลา หรือทำ OT จะต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า ของค่าจ้างปกติ / ชั่วโมง ขณะที่การทำงานในวันหยุดของตนเองหรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ที่องค์กรกำหนดให้พนักงานหยุด ต้องได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 3 เท่า ของค่าจ้างปกติ / ชั่วโมง ซึ่งวิธีคำนวณโอทีทุกรูปแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน มีดังนี้
1. สูตรการคำนวณโอทีรายวัน
ค่าโอที = (ค่าจ้างต่อวัน / ชั่วโมงการทำงานปกติ) x (1.5 หรือ 3 ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทำงาน) x จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
ตัวอย่าง นาย บี ได้ค่าจ้างรายวัน 500 บาท และทำโอทีโดยได้ได้ค่าแรง 3 เท่า เป็นเวลา 6 ชั่วโมง ค่าโอทีที่เขาจะได้รับสามารถคำนวณตามสูตร ดังนี้
ค่าโอที = (500 / 8) x 3 x 6 = 1,125 บาท
2. สูตรการคำนวณโอทีรายเดือน
ค่าโอที = (เงินเดือน / 30 / ชั่วโมงการทำงานปกติ) x (1.5 หรือ 3 ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาทำงาน) x จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
ตัวอย่าง นาย อาร์ ได้เงินเดือน 40,000 บาท และได้ทำงานล่วงเวลาจากชั่วโมงทำงานของวันทำงานปกติรวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง ในเดือนนั้น ค่าโอทีที่เขาจะได้รับสามารถคำนวณตามสูตร ดังนี้
ค่าโอที = (40,000 / 30 / 8) x 1.5 x 10 = 2,500 บาท
การคำนวณโอทีในวันหยุด
1. การคำนวณโอทีวันหยุดสำหรับพนักงานที่มีสวัสดิการ
เช่น พนักงานรายเดือน ต้องได้รับค่าจ้างล่วงเวลาเมื่อทำงานในวันหยุดของตนเองไม่น้อยกว่า 1 เท่า เมื่อเขียนตามสูตร จะเป็นดังนี้
ค่าโอที = (เงินเดือน / 30 วัน / ชั่วโมงทำงานปกติ) X (1 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา)
ตัวอย่าง นาย ซี ได้เงินเดือน 25,000 บาท ต้องมาทำงานในวันหยุดของเดือนนั้นรวม 8 ชั่วโมง ค่าโอทีที่เขาจะได้รับสามารถคำนวณตามสูตรได้ ดังนี้
ค่าโอที = (25,000 / 30 / 8) x 1 x 8 = 833.33 บาท
2. การคำนวณโอทีวันหยุดสำหรับพนักงานที่ไม่มีสวัสดิการ
เช่น พนักงานรายวัน ต้องได้รับค่าจ้างล่วงเวลาเมื่อทำงานในวันหยุดของตนเองไม่น้อยกว่า 2 เท่า เมื่อเขียนตามสูตร จะเป็นดังนี้
ค่าโอที = (ค่าแรงต่อวัน / ชั่วโมงทำงานปกติ) X (2 เท่า) X (จำนวนชั่วโมงทำงานล่วงเวลา)
ตัวอย่าง นาย ดี ได้ค่าจ้างวันละ 500 บาท ต้องมาทำงานในวันหยุดของตนเองจำนวน 8 ชั่วโมง ค่าโอทีที่เขาจะได้รับสามารถคำนวณตามสูตรได้ ดังนี้
ค่าโอที = (500 / 8) x 2 x 8 = 1,000 บาท
สรุป
วิธีคำนวณค่าโอทีหรือการทำงานล่วงเวลาจะมีวิธีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับรูปแบบการรับเงินค่าจ้างของพนักงาน แต่ก็ถือเป็นข้อกำหนดที่กฎหมายระบุเอาไว้เพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สามารถนำสูตรที่บอกไปใช้เพื่อคำนวณรายได้ของตนเองกันได้เลย อย่างไรก็ตามสำหรับฝ่าย HR ที่กังวลเรื่องข้อผิดพลาดในการคำนวณโอที ยิ่งบริษัทที่มีพนักงานเยอะโอกาสพลาดก็มีสูง จึงอยากแนะนำให้เลือกใช้ โปรแกรม HR จาก Byte HR สะดวก ฟังก์ชันครบครัน จ่ายในราคาคุ้มค่า ไม่มีเรียกเก็บเพิ่มภายหลัง ทุกอย่างถูกต้อง ทำงานได้อย่างสบายใจกว่าเดิม