เช็กเลย! ลาพักร้อน ลากิจ ลาป่วย ได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน
แม้พนักงานทุกคนจะมีวันหยุดในแต่ละสัปดาห์กันอยู่แล้ว แต่กฎหมายแรงงานเองก็ให้สิทธิ์เรื่องการลาในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินจำเป็น รวมถึงการลาพักผ่อนเพื่อลดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ถือเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายที่พนักงานทุกคนสามารถทำได้ Byte HR จึงอยากพามาเช็กลิสต์กันสักนิดว่า การลาพักร้อน ลากิจ ลาป่วย สามารถทำได้กี่วันตามกฎหมายแรงงาน
พนักงานสามารถลาป่วยได้กี่วัน?
การลาป่วย คือ รูปแบบการลางานเมื่อพนักงานมีอาการเจ็บป่วย ต้องพักรักษาอาการ หรือปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์ ซึ่งสามารถทำได้ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 และ 57 ซึ่งลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ตามระยะเวลาที่เจ็บป่วยจริง นายจ้างไม่มีสิทธิ์หักค่าใช้จ่ายหรือรายได้ใด ๆ ปกติแล้วการลาป่วยจะมีสิทธิ์ทั้งหมด 30 วัน / ปี หากพนักงานลาป่วยเกินที่กำหนดนายจ้างสามารถหักเงินได้ตามข้อกำหนดขององค์กร รวมถึงกรณีลาป่วยติดต่อกันเกิน 3 วันขึ้นไป (บางแห่งกำหนดให้ 2 วัน) ต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยัน
การลากิจ คืออะไร? มีอะไรบ้าง? ลาได้กี่วัน?
การลากิจ คือ การลาของพนักงานเพื่อไปทำธุระสำคัญจำเป็นโดยต้องดำเนินการเรื่องนั้น ๆ ด้วยตนเอง และบุคคลอื่นไม่สามารถกระทำการแทนได้ ซึ่งตัวอย่างการลากิจที่เหมาะสม เช่น
การติดต่อราชการ เช่น ต่อบัตรประชาชน ต่อใบอนุญาตขับขี่ โอนย้ายที่ดิน ฯลฯ
การเป็นพยานตามหมายเรียกของศาล
การทำธุรกิจที่สำคัญจำเป็นกับบุคคลในครอบครัว เช่น พาลูก พาแม่ไปหาหมอ ไปดูใจญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ
การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาอันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
การร่วมพิธีสมรส หรือจัดงานสมรสให้กับบุตร-ธิดา
การเข้าร่วมหรือจัดงานฌาปนกิจให้กับบุคคลในครอบครัว
การเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรของตนเอง
ทั้งนี้การลากิจของแต่ละองค์กรมักมีความยืดหยุ่นแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับข้อกำหนด เช่น ลาได้ 6 วัน / ปี แต่เมื่ออายุงานมากขึ้นก็สามารถลาได้เพิ่มขึ้น (แต่ต้องสามารถลาได้ไม่ต่ำกว่า 3 วัน / ปี โดยไม่มีการหักเงินใด ๆ) ส่วนกรณีมีเหตุผลสมควรจำเป็นที่พนักงานต้องไป อาทิ ดูใจแม่ที่กำลังป่วยหนัก แต่นายจ้างไม่อนุญาต นายจ้างจะไม่มีสิทธิ์ให้พนักงานคนดังกล่าวออกจากงาน หรือถ้าให้ออกต้องมีการจ่ายค่าชดเชยตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ด้วย
พนักงานสามารถลาพักร้อนได้กี่วัน?
การลาพักร้อนถือเป็นประเภทการลาที่พนักงานทุกคนต่างต้องการมากที่สุด เพราะคุณไม่จำเป็นต้องอธิบายเหตุผลใด ๆ ให้มากเรื่อง สามารถลาไปทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้แบบสบายใจ เช่น ท่องเที่ยว พักผ่อนอยู่บ้าน ฯลฯ โดยองค์กรไม่สามารถหักเงินได้ ซึ่งตามปกติแล้วจะอนุญาตให้พนักงานมีสิทธิ์พักร้อนเมื่ออายุงานครบ 1 ปี และไม่ต่ำกว่า 6 วัน / ปี ซึ่งบางบริษัทอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอื่นได้ อาทิ การเพิ่มจำนวนวันพักร้อนสำหรับพนักงานที่อายุงานครบตามกำหนด การทบวันพักผ่อนที่เหลือจากปีปัจจุบันไปยังปีถัดไป เป็นต้น
พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้กี่วัน?
ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 41 และ 57 ระบุชัดเจนว่าสตรีมีครรภ์สามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วัน ซึ่งปัจจุบันมีการปรับเพิ่มเป็น 98 วันให้แล้ว ซึ่งระหว่างการตั้งครรภ์หากมีเหตุผลให้ต้องหยุดเกี่ยวกับเรื่องครรภ์ เช่น พบแพทย์ตามนัด ก็จะนับรวมเข้าไปด้วย การลาคลอดพนักงานสามารถรับเงินเดือนได้ไม่เกิน 45 วัน และสามารถเบิกเพิ่มเติมกับทางประกันสังคมได้
การลาอื่น ๆ เพิ่มเติม?
นอกจากเงื่อนไขการลาที่ระบุเอาไว้ซึ่งเป็นพื้นฐานขององค์กรแทบทุกแห่งแล้ว บางองค์กรยังให้ความสำคัญกับพนักงานด้วยรูปแบบการลาที่เพิ่มเติมขึ้นมาเอง เสมือนเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง เช่น การลาบวช การลาดูแลภรรยาที่พึ่งคลอดบุตร การลาจัดงานศพพ่อแม่โดยไม่เกี่ยวกับการลากิจ เป็นต้น
สรุป
การลาพักร้อน ลากิจ ลาป่วยอันเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดเอาไว้พนักงานสามารถทำได้โดยองค์กรไม่มีสิทธิ์หักเงิน แต่ต้องอยู่ภายใต้ระยะเวลาที่เงื่อนไขขององค์กรได้ระบุเอาไว้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามฝ่าย HR ไม่ต้องกังวลใจเรื่องการลืมอนุมัติวันลา หรือการระบุวันลาผิดพลาดหากคุณเลือกใช้โปรแกรม HR จาก “Byte HR” ฟังก์ชันจัดเต็มแบบครบครัน สะดวก ง่ายดาย ลดความผิดพลาดทั้งการทำเงินเดือน การลงเวลางาน การกำหนดวันลา การทำสถิติวันลา และอื่น ๆ ราคาคุ้มค่า ตอบโจทย์ทุกองค์การแน่นอน