เทรนด์ HR ปี 2566 : วิถีการทำงานแบบผสมผสานเพื่อรักษาคนเก่งขององค์กร


HR


ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผู้นำในฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเจอกับความท้าทายที่ไม่เคยเจอมาก่อน ทั้งการปรับระบบพนักงานให้ทำงานจากที่บ้านในช่วงที่เกิดโรคระบาด เจอกับคลื่นการลาออกครั้งใหญ่ของพนักงาน ความผันผวนของระบบเศรษฐกิจที่ยากจะควบคุม แล้วต่อจากนี้ HR จะต้องพบเจอกับอะไรอีกในปี 2566 ?


ในปี 2566 ประเด็นเหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งที่ HR ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับสูงสุด


  • ประสบการณ์ของพนักงาน

  • การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้จัดการ

  • ภาวะขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะและความสามารถที่ตลาดต้องการ

  • การบริหารจัดการพนักงานชั่วคราว

  • การทำงานแบบผสมผสานที่สมบูรณ์แบบ


1. ประสบการณ์ของพนักงาน


ความคาดหวังของพนักงานเปลี่ยนไปตั้งแต่ปี 2563 ที่มีการเกิดโรคระบาด หลังจากนั้นเป็นต้นมา HR ก็ได้เจอกับความท้าทายในการดึงดูดพนักงานใหม่ๆ และการรักษาพนักงานที่มีความสามารถไว้ในองค์กร ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อดึงดูดพนักงาน ตั้งแต่การสร้างความประทับใจแรกของผู้สมัคร ไปจนถึงการจ้างงานและการเริ่มงาน เส้นทางอาชีพและการพัฒนา ไปจนถึงเมื่อพนักงานตัดสินใจออกจากบริษัท ก็ถือเป็นกระบวนการที่ต้องให้ความสำคัญในทุกขั้นตอน

จากการสำรวจของ Gartner พบว่า 47% ของผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลกล่าวว่า การสร้างประสบการณ์ของพนักงานมีความสำคัญสูงสุดในปี 2566


พนักงานกำลังมองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสี่ด้าน:


  • การให้ความสำคัญกับผู้คนเป็นอันดับแรก: ประสบการณ์ของพนักงานจะต้องได้รับการปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ส่วนบุคคลและอาชีพของพวกเขา

  • ความยืดหยุ่น: พนักงานต้องการชั่วโมงที่ยืดหยุ่นและสวัสดิการที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของพวกเขา

  • วัตถุประสงค์ร่วมกัน: พนักงานกำลังมองหาองค์กรที่สอดคล้องกับจริยธรรม ค่านิยม และการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ

  • ความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวม: พนักงานมองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต ร่างกาย และอารมณ์แบบองค์รวม


meeting


2. การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับผู้จัดการ


หน้าที่ของผู้จัดการมีความท้าทายมากขึ้นเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบผสมผสานระหว่างพนักงานที่ทำงานทางไกล และพนักงานในออฟฟิศ ขณะนี้บริษัทต่างๆ ก็ได้นำระบบที่สามารถรองรับการทำงานแบบผสมผสานเข้ามาใช้  ส่วน HR เองก็ต้องเปลี่ยนโฟกัสไปที่การพัฒนาความสัมพันธ์กับพนักงานใหม่และกระชับความสัมพันธ์กับพนักงานที่มีอยู่ด้วยการแสดงถึงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ

31% ของพนักงานนั้นกล่าวว่าการสนทนาระหว่างผู้จัดการและพวกเขาเป็นเรื่องพื้นๆ ทั่วไป หรือค่อนไปทางแย่ และไร้การให้ความสำคัญด้านการช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

จากการศึกษาของ Joblist ในไตรมาส 3 ปี 2563 พบว่า 49% ของพนักงานรู้สึกหมดไฟและไม่พึงพอใจในงานเพิ่มสูงขึ้น ผู้จัดการต้องใช้หลักการพัฒนาการความสัมพันธ์กับคนในทีม ทั้งการสร้างความเชื่อใจ สื่อสารและเช็กความรู้สึกของพนักงานเมื่อมีโอกาส ยกย่องพนักงานในที่สาธารณะ เพื่อแสดงว่าคุณรับรู้ถึงความทุ่มเททำงานของพวกเขา


3. ภาวะขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะและความสามารถที่ตลาดต้องการ


 เมื่อคนรุ่นเก่าออกจากตลาดงาน การระบาดของโควิด และบัณฑิตจบใหม่ยังขาดทักษะที่ธุรกิจต้องการ การสรรหาและจ้างงานในปี 2566 จึงยังคงเป็นเรื่องท้าทาย

จากการสำรวจด้านทรัพยากรบุคคลของ Gartner พบว่า 36% ของผู้นำด้านทรัพยากรบุคคลกล่าวว่ากลยุทธ์การสรรหาบุคลากรของพวกเขาขาดประสิทธิภาพเมื่อต้องค้นหาทักษะที่ต้องการ

กลยุทธ์การสรรหาพนักงานแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาบริษัทจัดหางานและข้อความจาก LinkedIn กลับไม่ได้ผล ดังนั้นในปี 2566 ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องนำกลยุทธ์ด้านการตลาดมาใช้ เช่น การพัฒนาชื่อเสียงและแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ซึ่งเน้นถึงจริยธรรมของบริษัท การเติบโตของพนักงาน วัฒนธรรมที่เป็นมิตรและการเงินที่มั่นคง และใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของพนักงานในการช่วยสรรหาบุคลากร


workplace


4. การบริหารจัดการพนักงานชั่วคราว


การขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะความสามารถที่ต้องการทำให้บริษัทมองตัวเลือกอื่นๆ ซึ่งก็คือพนักงานสัญญาจ้าง หรือ ฟรีแลนซ์ เพิ่มเติมเต็มช่องว่างงานที่ต้องการทักษะพิเศษที่บริษัทต้องการ และเทรนด์นี้มีแนวโน้มที่จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในปี 2566


พนักงานประจำ จำนวนมากที่ผันตัวไปรับงานฟรีแลนซ์เพราะพวกเขาสามารถเลือกรับประเภทงานและเลือกทำงานกับบริษัทที่ต้องการได้ รวมไปถึงเลือกวิธีหรือเวลาที่พวกเขาต้องการทำงานได้อีกด้วย ในส่วนของบริษัทเอง วิธีนี้ก็ได้ประโยชน์ในการจ้างพนักงานตามโปรเจค ได้เลือกและทดลองพนักงานในตลาดและประหยัดค่าใช้จ่ายของประกันสังคมและผลประโยชน์อื่นๆ


5. การทำงานแบบผสมผสานที่สมบูรณ์แบบ


ในปีหน้าการสร้างระบบการทำงานแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพจะเป็นเทรนด์อันดับต้นๆของวิถีการทำงาน

จากการสำรวจของ Beezy จากพนักงานบริษัท 800 คนในองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งพบว่า 73% ทำงานในระบบการทำงานแบบผสม หรือทำงานแบบทางไกล 100% ในปี 2565 โดย 32% กล่าวว่าพวกเขาชอบที่จะทำงานทางไกลมากกว่ามาที่บริษัท


ความเชื่อดั้งเดิมโดยทั่วไปก่อนที่เราจะพบกับโควิด บริษัทมักคิดว่า พนักงานที่ทำงานในออฟฟิศทำงานมีประสิทธิผลมากกว่าพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน แต่ในช่วงสองปีที่ผ่านมามีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า คนที่ทำงานจากระยะไกล หรือทำงานที่บ้าน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 9%  กว่าทำงานที่ออฟฟิศ 

การเพิ่มตัวเลือก และการจัดการระบบงานโดยการนำเทคโนโลยีที่พนักงานสามารถทำงานร่วมกันทั้งในออฟฟิศและจากบ้านได้จะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆที่ดึงดูดพนักงานใหม่ๆ และรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร เพราะมันแสดงให้เห็นว่าองค์กรสามารถรับมือกับเทรนด์วิถีการทำงานที่เปลี่ยนไปของพนักงานและเข้าใจถึงการจัดการความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตของพนักงานได้


จะเห็นได้ว่าเทรนด์ด้านทรัพยากรบุคคลได้เน้นไปที่การสร้างคุณภาพและประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานเพื่อรักษาคนเก่งเอาไว้ และการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น ไม่ว่าธุรกิจคุณในตอนนี้จะเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศหรือทำที่บ้าน หรืออย่างละครึ่ง หรือมีการจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น ก็อย่าลืมให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ และจัดการข้อมูลของพนักงานด้วยเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับลักษณะองค์กรของคุณ 

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 


ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด