Flag EnglandFlag Thailand

แชร์วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างคำนวณ

แชร์วิธีคิดเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นง่าย ๆ พร้อมตัวอย่างคำนวณ


ปกติแล้วนอกจากรายได้หลักอย่างเงินเดือนที่พนักงานได้รับก็จะมีพนักงานบางตำแหน่งที่มีเงินพิเศษเพิ่มเติมในแต่ละเดือนโดยเฉพาะกลุ่มพนักงานขาย หรือบางองค์กรอาจจ่ายให้กับพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขาย หรือทำยอดขายได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเงินพิเศษดังกล่าวเรียกว่า “คอมมิชชั่น” (Commission) โดยตามหลักทั่วไปแล้วจะใช้วิธีคิดหาด้วยการคำนวณค่าร้อยละหรือค่าเปอร์เซ็นต์ หลายคนจึงมักสงสัยว่าค่าคอมมิชชั่นคิดยังไงให้ยุติธรรมและเหมาะสมกับโครงสร้างรายได้ของแต่ละองค์กร Byte HR จึงอยากแชร์วิธีคิดร้อยละค่าคอมมิชชั่นง่าย ๆ พร้อมแนะนำตัวอย่างการคำนวณให้เห็นภาพมากขึ้น

ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร?

ค่าคอมมิชชั่น คือ ค่าตอบแทนพนักงานขายที่ให้เพิ่มเติมขึ้นมา หรืออาจจะให้พนักงานในตำแหน่งอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท พนักงานจะได้รับค่าคอมมิชชั่นเมื่อสามารถทำยอดขายหรือผลงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่มักมาจากยอดขายสินค้า / บริการของบริษัท ทั้งนี้ค่าคอมมิชชั่นยังมีวิธีคิดได้หลายรูปแบบด้วย อย่างไรก็ตาม องค์กรควรพิจารณารูปแบบการจ่ายให้เหมาะสมและเป็นธรรมตามค่าคอมมิชชั่นตามกฎหมาย เพื่อป้องกันปัญหาข้อพิพาทหรือความไม่ชัดเจนในเรื่องสิทธิของพนักงาน

วิธีคำนวณอัตราคอมมิชชั่นที่ได้รับให้เป็นค่าเปอร์เซ็นต์

วิธีนี้เป็นการคำนวณว่าจำนวนเงินที่ได้จากค่าคอมมิชชั่นเมื่อคิดออกมาเป็นค่าร้อยละ หรือค่าเปอร์เซ็นต์แล้วพนักงานได้รับเท่าไหร่ โดยมีสูตรดังนี้

อัตราค่าคอมมิชชั่น (ร้อยละ / เปอร์เซ็นต์) = ค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับยอดขายทั้งหมด × 100

ตัวอย่างการคำนวณ

สมมุติยอดขายทั้งหมดคือ 100,000 บาท พนักงานขายได้รับคอมมิชชั่น 3,000 บาท จะเข้าสูตร ดังนี้

3,0000100,000 × 100 = 3

เท่ากับ พนักงานคนดังกล่าวได้ค่าคอมมิชชั่น 3% จากยอดขายทั้งหมด ซึ่งถ้าถามว่าควรได้ค่าคอมมิชชั่นกี่เปอร์เซ็นต์จึงถือว่าเหมาะสม ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายและประเภทสินค้าของแต่ละบริษัทนั่นเอง

วิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นที่ได้จากค่าเปอร์เซ็นต์

ถือเป็นวิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นที่พบเจอได้บ่อยมาก ซึ่งสามารถใช้ได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับข้อกำหนดขององค์กรแต่ละแห่ง ประกอบไปด้วย

1. วิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นจากราคาขายของสินค้า

เป็นวิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบเข้าใจง่ายมาก หลักการคือใช้วิธีนำเปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นที่กำหนดคำนวณกับยอดขายหรือราคาขายสินค้าที่สามารถขายได้ในแต่ละรายการ หรือจะเรียกว่าการได้รับค่าคอมมิชชั่นจากเปอร์เซ็นต์ของยอดขายก็ได้เช่นกัน 

สูตรการคำนวณ ยอดขาย x % คอมมิชชั่น = ยอดค่าคอมมิชชั่น

ตัวอย่าง พนักงานขายคอมพิวเตอร์ได้ยอดขาย 20,000 บาท โดยองค์กรกำหนดยอดคอมมิชชั่นไว้ที่ 7% เมื่อคำนวณตามสูตรจะได้เป็น

20,000 x 7% = 1,400 

เท่ากับพนักงานคนดังกล่าวได้คอมมิชชั่นจากการขายครั้งนี้อยู่ที่ 1,400 บาท

2. วิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได

คอมมิชชั่นแบบขั้นบันได หรือ Tiered Commission คือ รูปแบบของการได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามจำนวนยอดขายที่สามารถขายได้ อธิบายง่าย ๆ คือ ยิ่งมียอดขายสูง เปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นก็จะสูงขึ้นตามด้วย ส่วนมากวิธีนี้มักถูกใช้เพื่อกระตุ้นยอดขาย

ตัวอย่าง บริษัท A กำหนดเงื่อนไขการคำนวณค่าคอมมิชชั่นเอาไว้ ดังนี้

ยอดขาย 50,000 - 100,000 บาท ได้ค่าคอมมิชชั่น 5%

ยอดขาย 100,001 – 150,000 บาท ได้ค่าคอมมิชชั่น 7% 

ยอดขาย 150,001 บาทขึ้นไป ได้ค่าคอมมิชชั่น 10% 

นาย B สามารถขายสินค้าได้ที่ 200,000 บาท นั่นเท่ากับว่านาย B จะใช้อัตราคอมมิชชั่น 10% เข้ามาคำนวณ

200,000 x 10% = 20,000 บาท 

อย่างไรก็ตาม บางบริษัทยังอาจใช้การคำนวณในลักษณะขั้นบันไดโดยแยกตามยอดขายที่เกิดขึ้นและใช้อัตราทีละสเต็ป เช่น ตัวอย่างเดียวกัน จะคำนวณตามสูตร ดังนี้

100,000 x 5% = 5,000

50,000 x 7% = 3,500

50,000 x 10% = 5,000

หากบริษัทใช้สูตรคำนวณตามขั้นบันไดแบบนี้เท่ากับ นาย B จะได้ค่าคอมมิชชั่นรวม 13,500 บาท

3. วิธีคำนวณค่าคอมมิชชั่นจากกำไรรวม

อีกวิธีที่สามารถพบได้จะเป็นการคิดค่าคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับโดยใช้กำไรรวมของสินค้าที่ขายได้ในแต่ละเดือนเป็นตัวตั้ง หรือที่เรียกว่า Profit-Based Commission ข้อดีคือ พนักงานขายมักสร้างลูกเล่นเพื่อให้ขายแล้วได้กำไรมากขึ้น 

ตัวอย่าง เดือนตุลาคมที่ผ่านมา พนักงานขายสามารถทำกำไรรวมให้กับบริษัทได้ทั้งสิ้น 500,000 บาท โดยบริษัทกำหนดอัตราคอมมิชชั่นไว้ที่ 5% เมื่อคำนวณตามสูตร จะได้

500,000 x 5% = 25,000 บาท 

ค่านายหน้า กับ ค่าคอมมิชชั่น ต่างกันอย่างไร?

ค่านายหน้าและค่าคอมมิชชั่นมีความคล้ายกันในแง่ที่เป็นผลตอบแทนจากการปิดการขายหรือการหาลูกค้ามาให้กับบริษัท แต่ต่างกันที่ลักษณะการจ้างงานและรูปแบบการจ่ายเงิน ค่านายหน้ามักใช้กับบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานประจำขององค์กร เช่น ตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์ หรือนายหน้าประกัน ในขณะที่ค่าคอมมิชชั่นมักจ่ายให้พนักงานประจำ เช่น พนักงานขาย ที่มีหน้าที่ทำยอดขายตามเป้า และค่าคอมมิชชั่นจะเป็นรายได้ที่เสริมจากเงินเดือน

ค่าคอมมิชชั่น เป็นค่าจ้างหรือไม่?

ตามกฎหมายแรงงาน ค่าคอมมิชชั่นถือเป็น “ค่าจ้าง” ประเภทหนึ่ง เพราะเป็นค่าตอบแทนที่ลูกจ้างได้รับจากการทำงานตามข้อตกลงกับนายจ้าง เช่น การทำยอดขายได้ตามเป้า ดังนั้นค่าคอมมิชชั่นจึงต้องถูกนำมาคำนวณรวมกับค่าจ้างปกติเมื่อคำนวณค่าล่วงเวลา วันหยุด หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณรายได้

ค่าคอมมิชชั่น ได้ตอนไหน?

ช่วงเวลาการจ่ายค่าคอมมิชชั่นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท โดยทั่วไปแล้วจะจ่ายเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ภายหลังจากมีการสรุปยอดขายและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ในบางกรณีอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น ลูกค้าต้องชำระเงินครบก่อน หรือยอดขายต้องไม่มีการคืนสินค้าจึงจะมีสิทธิ์ได้รับค่าคอมมิชชั่น ดังนั้นฝ่าย HR หรือการเงินจึงควรแจ้งช่วงเวลาและเงื่อนไขให้พนักงานทราบอย่างชัดเจน

บทสรุป

วิธีคิดค่าคอมมิชชั่นจากเปอร์เซ็นต์หรือร้อยละไม่ใช่เรื่องยาก และยังสามารถเลือกได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทที่ระบุเอาไว้ ซึ่งปกติมักเป็นหน้าที่ของฝ่าย HR เมื่อได้รับรายงานสรุปจากฝ่ายขายแล้วต้องนำมาคำนวณเพื่อจ่ายเป็นรายได้ต่อไป ดังนั้นเพื่อลดปัญหาความยุ่งยาก หรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการคำนวณเงินเดือน โปรแกรมคำนวณเงินเดือนจาก Byte HR พร้อมเป็นทางเลือกชั้นยอดที่จะทำให้การคิดเงินเดือนเป็นเรื่องง่าย พร้อมฟังก์ชันต่าง ๆ อีกมากมาย ราคาคุ้มค่า บอกลาความน่าปวดหัวได้เลย


Pim Rongkasuwan
เกี่ยวกับผู้เขียน
พิมพ์เป็นนักเขียนคอนเทนท์ที่มีประสบการณ์กว่า 7 ปีในด้านซอฟแวร์เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลและการอบรม เธอมีความชื่นชอบในด้านซอฟแวร์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในเรื่องความซับซ้อนของกระบวนการและการพัฒนาซอฟแวร์