10 เคล็ดลับดึงคนเก่งให้อยู่กับบริษัทในช่วงเติบโตและเปลี่ยนแปลง (ตอนที่ 1)


ในโลกธุรกิจ การคาดสถานการณ์ต่างๆล่วงหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนอยู่เสมอคือ ‘ความเปลี่ยนแปลง
ในฐานะเจ้าของธุรกิจ คุณคงได้เรียนรู้จากประสบการณ์แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงคือกลไกสำคัญที่นำไปสู่การเติบโต ดังที่ โทนี่ กัสคินส์(โค้ชสร้างแรงบันดาลใจและนักเขียนชาวอเมริกัน) ได้กล่าวเอาไว้ว่า “การเติบโตนั้นทำให้เราเจ็บปวด เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ง่ายเลย เพราะฉะนั้นเราเลยเรียกมันว่าความเจ็บปวดของการเติบโต” คุณต้องผ่านเรื่องที่ยากลำบากหลายปีกว่าที่ธุรกิจจะไปข้างหน้า เมื่อคุณต้องเดินหน้ารับคนใหม่เข้ามาทำงาน เปิดสาขาใหม่ ๆ เหล่าค่ำคืนที่คุณสู้อดหลับอดนอนนั้นก็ดูจะคุ้มค่าขึ้นมา แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ทำงานในบริษัทของคุณจะรู้สึกเหมือนคุณเพราะในขณะที่ธุรกิจเติบโตและเปลี่ยนแปลง มันก็จุดชนวนความกังวลและความไม่แน่นอนขึ้นในจิตใจของพนักงานของคุณเช่นกัน โดยเฉพาะการรักษาพนักงานคนเก่งประจำบริษัท
การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่คุณก็ไม่ควรรอให้ถึงเวลาที่พนักงานตัวท๊อปของคุณเดินมาบอกว่าเขาหรือเธอไม่พอใจเรื่องอะไรอยู่ คุณควรเริ่มวางแผนตั้งแต่วันนี้ ถ้าคุณเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะมาในปีหน้า หรือในอีกหกเดือน ให้ใช้เคล็ดลับการรักษาพนักงานเหล่านี้เพื่อรักษาพนักงานระดับท๊อปของคุณให้อยู่กับบริษัทในขณะที่ธุรกิจก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลง

1. หยั่งเชิงดูก่อน


คุณไม่ควรจะได้ฟังความในใจของพนักงานเป็นครั้งแรกในเวลาที่พวกเขาลาออก หากคุณต้องการรู้ว่าทีมของคุณมีความผูกพันและพึงพอใจกับงานที่ทำอยู่มากเพียงไร ให้ค้นหาว่าพวกเขากำลังรู้สึกอย่างไรอยู่ตอนนี้เลย การวางแผนเพื่อพูดคุยกับพนักงานแต่ละคนในช่วงกลางหรือปลายปีจะช่วยได้มาก เพราะพนักงานจะได้เตรียมตัวหารือเกี่ยวกับเป้าหมายของพวกเขาและอาจมาพร้อมข้อเสนอเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพในการทำงาน
แต่พนักงานมือฉมังของคุณก็อาจจะยังไม่ปริปากเล่าถึงความไม่พอใจอะไรลึกๆ แต่เคล็ดลับการรักษาพนักงานคือการเตรียมชุดคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาชอบจะทำให้คุณได้รับคำตอบที่คุณต้องการ เช่น ถ้าพนักงานบอกว่าเขาชอบที่จะทำงานในตำแหน่งเล็ก ที่มีส่วนร่วมกับทีมมากๆ นี่ก็เป็นหนึ่งในสัญญาณที่คุณควรคำนึงเมื่อต้องการขยายธุรกิจ พวกเขาอาจจะอาศัยอยู่ใกล้บริษัทและไม่ชอบใช้เวลาในการเดินทางมาทำงานนาน การย้ายพวกเขาไปสาขาอื่นๆอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกพึงพอใจกับงาน

2. ให้ค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล


สิ่งหนึ่งที่พนักงานตัวท๊อปของคุณไม่ค่อยสะดวกใจที่จะถามคืออะไรรู้ไหม? เรื่องเงินๆทองๆยังไงล่ะ
ในขณะที่ค่าตอบแทนแตกต่างกันไปตามบุคคล อาจจะยากที่จะมองว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร บางบริษัทปรับค่าครองชีพ พร้อมกับการเพิ่มรายรับต่อปี แต่มันอาจจะยังไม่เพียงพอหากธุรกิจของคุณมีความต้องการที่สูง พนักงานของคุณก็เช่นกัน
คุณควรเสนอผลตอบแทนที่เหมาะสมและสูสีกับตลาด โดยหมั่นประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอยู่เสมอ จำไว้ว่า นี่ไม่ใช่เวลาที่จะมาตระหนี่ ลองคิดดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากพนักงานตัวท๊อปของคุณลาออกไป มันจะกระทบอะไรกับธุรกิจของคุณบ้าง?

3. ช่วยให้พวกเขาเลี่ยงจากสภาวะหมดไฟ


ความพึงพอใจในงานไม่ได้หมายถึงเรื่องค่าตอบแทนอย่างเดียว ตามสถิติแล้วมีเพียงแค่ 1 ใน 8 ของพนักงานที่กระตือรือร้นในงานของตัวเองและทุ่มเทเวลาของตัวเองไปกับการบรรลุเป้าหมายของบริษัท คุณอาจจะคิดว่าพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูงจะมีแรงกระตุ้นในการทำงานมากกว่าพนักงานทั่วไป แต่พวกเขาก็เสี่ยงต่อภาวะหมดไฟมากกว่าคนอื่นเช่นกันเพราะมีความเครียดที่มากกว่าคนอื่น อย่าเพิ่งทึกทักว่าพนักงานที่มีผลงานที่ดีจะไม่มีความกดดันเพราะพวกเขาทำผลงานได้ดี
คุณสามารถช่วยให้พนักงานจากสภาวะหมดไฟโดยแบ่งความรับผิดชอบให้พนักงานคนอื่น ๆด้วย เพราะถ้าคุณปล่อยให้พนักงานตัวท๊อปของคุณรับงานหนักๆคนเดียวก็จะยิ่งทำให้เขาเข้าสู่สภาวะหมดไฟได้เร็วขึ้น การกระจายความรับผิดชอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณไม่กระจุกที่คน ๆ เดียว ทั้งนี้การลงทุนในโปรแกรมการจัดการบริการเวลาของพนักงานจะช่วยให้คุณบริหารประสิทธิภาพขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังประหยัดเวลาให้คุณไปจัดการอย่างอื่นอีกด้วย

4. ใช้ความสามารถทุกด้านของพนักงานให้เป็นประโยชน์


หนึ่งในเคล็ดลับการรักษาพนักงานคือ จงให้ความสำคัญกับความสามารถอื่น ๆของพนักงานของคุณด้วย เพราะพนักงานที่ทำงานดีอยู่แล้ว อาจจะอยากใช้ความสามารถของพวกเขาในด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาตัวเองและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเช่นกัน ลองให้โอกาสพวกเขาได้พักจากงานประจำวันและลองโปรเจคใหม่หรือคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจของคุณดู คุณอาจพบความสามารถที่น่าทึ่งของพนักงานของคุณที่ซ่อนอยู่ก็ได้นะ

5. เพิ่มความยืดหยุ่น



ถ้าคุณเห็นว่าพนักงานของคุณทำงานได้ดีแต่ชีวิตส่วนตัวของเขากลับยุ่งเหยิง การทำงานตามเวลาแบบดั้งเดิมอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับพวกเขา ยกตัวอย่างเช่น พนักงานตัวท๊อปของคุณอาจจะทำงานล่วงเวลาตลอดและจัดการโปรเจคได้อยู่หมัด แต่พวกเขาก็อาจกำลังสร้างครอบครัวหรือมีเป้าหมายอื่น ๆในชีวิตเช่นกัน หากพวกเขารู้สึกว่าไม่ได้รัยการสนับสนุนหรือได้รับเวลาพักที่เหมาะสมเพื่อจัดการตารางเวลาเหล่านี้ พวกเขาก็อาจหาบริษัทอื่นที่ให้สิ่งเหล่านี้ได้
ลองเข้าไปพูดคุยกับพนักงานถึง “สมดุล” ในแบบของพวกเขา ตารางงานที่ยืดหยุ่นจะช่วยให้พนักงานจัดการงานในช่วงพีคได้ดีและยังทำเป้าให้กับบริษัทได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณปล่อยให้พนักงานทำงานเหลาะแหละ เพราะพนักงานตัวท๊อปของคุณคงไม่ทำเช่นนั้น การทำงานที่ยืดหยุ่น หมายถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลาป่วยน้อยลง เมื่อพนักงานรู้สึกได้รับการสนับสนุนทั้งที่บ้านและที่ทำงาน พวกเขาก็จะทำผลงานออกมาได้ดีและสม่ำเสมอ โปรแกรมhr ที่คุณใช้อยู่ก็ควรมีระบบที่สามารถบันทึกเวลาได้ยืดหยุ่นเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานของบริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเช่นกัน


ในบทความหน้าเราจะมาต่อกันอีก 5 ข้อเคล็ดลับในการรักษาคนเก่งให้อยู่กับบริษัท โดยเฉพาะที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นภายในบริษัทมากมาย และหากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลหรือระบบบริหารจัดการกะเวลาของพนักงานอย่างไรและฟังก์ชันต่าง ๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่
คุณสามารถปรึกษา ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 
อ้างอิง [1]
Credit image : www.pixabay.com


« 8 วิธีง่าย ๆ เพื่อลดเวลาทำงานล่วงเวลาของพนักงาน (ตอนที่ 2)HR ควรทำอย่างไรในสถานการณ์ระบาดของ Coronavirus(COVID-19) »

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด