3 ปัจจัยหลักที่จะทำให้พนักงานอยากไปทำงานทุกวัน


หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่วัยเด็ก จวบจนมาถึงปัจจุบัน ถ้าเปรียบชีวิตเป็น หากเรามองย้อนกลับไปในอดีตตั้งแต่วัยเด็ก จวบจนมาถึงปัจจุบัน ถ้าเปรียบชีวิตเป็น 3 ช่วง เด็ก ผู้ใหญ่ และวัยชรา ชีวิตช่วงวัยเด็ก ถือเป็นช่วงชีวิตที่เราทำอะไรซ้ำๆ ได้อย่างบริสุทธิ์ใจมากที่สุด ใครจะไปคิดว่าเราจะสามารถไปโรงเรียนได้ทุกวัน ทั้งๆ ที่การเรียนหลายๆ อย่างก็แทบจะไม่สนุกอะไรเลย จนเมื่อเราก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จากที่ต้องเรียนทุกๆ วัน ก็ได้แปรเปลี่ยนมาเป็นการทำงานเสียแทน ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานในยุคสมัยนี้นั้น ก็ไม่ได้มีแค่การนั่งทำงานที่ในออฟฟิศเพียงอย่างเดียว แต่มันมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ทำงานในออฟฟิศเหมือนเดิมๆ ไปจนถึงนั่งทำงานอยู่ที่บ้านแบบชิลๆ …

อาจมองได้ว่า หนุ่มสาวยุคนี้เริ่มไม่ชอบที่จะเข้าไปนั่งทำงานในออฟฟิศกันแล้ว ปัจจัยเหล่านั้นก่อเกิดมาจากหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเหล่าผู้คนที่ต้องพบเจอในแต่ละวัน การกิน ไปจนถึงการเดินทาง แล้วรู้ไหม ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริงของการที่เราไม่อยากไปทำงาน ?


1. “คน” ในที่ทำงาน

เขาว่ากันว่า ปัญหาที่เหนื่อย และแก้ยากที่สุด มักจะเกิดขึ้นมาจากคนด้วยกันเองเนี่ยแหละ… ดังนั้น ผู้คนในที่ทำงาน คือปัจจัยข้อแรกสุด และเป็นปัญหามากที่สุด ที่ทำให้ตัวเราไม่อยากไปทำงาน โดยผู้คนที่พูดถึงนี้ ก็คือทุกคนที่เราต้องพบเจอในที่ทำงานทุกๆ วัน ตั้งแต่ยามหน้าออฟฟิศ ไปจนถึงหัวหน้า และเจ้าของบริษัท ซึ่งปัญหาที่เจอก็จะแตกต่างกันออกไป โดยก็มีตั้งแต่ลักษณะท่าทาง การแต่งตัว นิสัยใจคอ ไปจนถึงการอยู่ร่วมกัน คงไม่มีใครชอบที่ต้องเจอหัวหน้าที่เอาแต่ตะคอกเสียงดังใส่เสมอๆ และคงยิ่งไม่ชอบ เมื่อต้องถูกทำต่อหน้าคนอื่นๆ คงไม่มีใครชอบ หากเราไปทำงานในที่ผู้คนเยอะๆ แต่กลับต้องไปนั่งกินข้าวคนเดียว คงไม่มีใครชอบ หากเราต้องเป็นฝ่ายถูกกลั่นแกล้ง หรือถูกพูดถึงในทางแย่ๆ จากคนหมู่มากที่อยู่ใกล้ตัว และคงไม่มีใครชอบ หากคนที่ต้องทำงานด้วยมีลักษณะท่าทางน่าหงุดหงิด จนรู้สึกเบื่ออยู่ในใจ

สิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ และเราเชื่อว่าอนาคตข้างหน้าก็จะยังคงเป็นแบบนี้อยู่ต่อไป แต่ปัญหาเหล่านี้วิธีการแก้ที่ดีที่สุด ไม่ใช่การแก้ที่คนอื่นๆ แต่มันคือการแก้ที่ตัวของเราเอง สิ่งสำคัญที่สุด ของการที่เราจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ นั่นคือเราต้องมีความมั่นใจ จงมั่นใจสิ่งที่เราเป็น เชื่อในสิ่งที่ตัวเองทำ แล้วจงก้าวต่อไปข้างหน้า จนเมื่อพบสิ่งที่ตัวเราไม่ชอบ จะปล่อยวาง หรือจะเดินเข้าไปปะทะ ก็ล้วนเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ใช้งานได้เช่นเดียวกัน ขอแค่คุณอย่าหลับหูหลับตา แล้ววิ่งหนีมันไปก็พอ

2. “การเดินทาง” ไปทำงาน 

อีกหนึ่งปัจจัยที่พูดได้เต็มปากว่า มีผลต่อความอยากไปทำงานของเรามากๆ นั่นก็คือเรื่องของการเดินทาง ปัญหารถติด เดินทางไกล ค่าเดินทางสูง จะค่อยๆ บั่นทอนจิตใจที่อยากไปทำงานของเราลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อบริษัท หรือออฟฟิศที่เราทำงานอยู่ซีเรียสเรื่องเวลาการเข้าออกงานมากๆ ก็จะยิ่งเป็นตัวบั่นทอนที่ทำให้เราเหนื่อยก่อนได้เข้าไปนั่งทำงานที่โต๊ะเสียอีก ปัจจัยข้อนี้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ยากจะแก้ไข หากผู้ประกอบการ หรือเจ้าของบริษัทไม่ได้ใส่ใจ หรือมองลึกลงไปถึงปัญหาที่แท้จริงของพนักงาน โดยวิธีแก้ไขมันก็ง่ายแสนง่าย เพียงแต่สิ่งนั้นมันคือการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ที่เปลี่ยนจากการลงทุนในธุรกิจ แต่มาเป็นการลงทุนในคนของตนแทน

มันจะดีแค่ไหน หากเราอยู่ในบริษัทที่มีรถไปรับไปส่งทุกวัน มันจะดีแค่ไหนหากบริษัทเรามีที่พักราคาถูกเตรียมไว้ให้ และมันจะดีแค่ไหน หากบริษัทเรามีเบี้ยค่าการเดินทางให้ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ง่ายที่จะทำ และบริษัทเล็กๆ คงไม่ทำ แต่มันจะดีขึ้น หากตัวบริษัทเข้าใจถึงปัญหาของพนักงานที่ต้องเจอ แล้วพูดคุยเพื่อร่วมแก้ปัญหากับเขาดีๆ โดยที่ไม่ไปเหวี่ยงใส่เขาทุกวัน ว่าทำไมถึงมาสาย หรือตื่นเร็วกว่านี้ไม่ได้เหรอ เป็นต้น

3. “งาน” ที่ต้องทำ และ “เงิน” ที่ได้รับ 

เราทำงานเพราะอะไร ? ชื่อเสียง ความสามารถ ความอยากเอาชนะ หรือแค่เงิน เราสามารถตอบ หรือพูดกันตรงๆ ได้เลยว่า เราทำงานเพื่อต้องการเงิน เพราะเงินคือปัจจัยการดำรงชีวิตของเรา ต่อให้เราจะมีแนวคิดว่างานคือความท้าทายแค่ไหน แต่ความสำเร็จของเรา มันวัดได้ง่ายๆ จากเงินที่ได้รับมาในแต่ละเดือน แต่ละสัปดาห์ หรือในแต่ละวัน เพราะฉะนั้นคงไม่มีใครที่อยากทำงานที่ไม่คุ้มกับค่าจ้างที่ได้รับเป็นแน่ จริงไหม ?

ปัจจัยเรื่องนี้มีอยู่ในทุกที่ และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราไม่อยากไปทำงานต่อ เพราะคำว่างาน มันไม่ได้มีแค่กระบวนการเพียงกระบวนเดียว เหมือนคำว่า ทำงาน แต่มันมีหลากหลายกระบวนการ ที่อาจทำให้เราต้องปวดหัวในแต่ละวัน คงไม่มีใครที่อยากมาทำงาน แล้วต้องพบเจอกับงานเดิมๆ น่าเบื่อๆ คงไม่มีใครอยากมาทำงาน เมื่อรู้สึกว่างานที่ทำ มันไม่คุ้มกับค่าจ้างเอาเสียเลย และคงไม่มีใครอยากมาทำงานหรอก เมื่อรู้สึกว่างานที่ทำมันไม่เหมาะกับตัวเอง นี่คืออีกหนึ่งปัจจัยที่เจ้าของบริษัท หรือหัวหน้างานจะต้องมองให้ออก และควรใช้โปรแกรม HR บริหารจัดการพนักงานของตนเองอย่างไร เพราะเมื่อคุณมองไม่ออก พวกเขาก็จะออกกันเอง เพื่อเดินไปหา งาน และ เงิน ที่พวกเขานั้น ต้องการจริงๆ


« 20 ข้อควรรู้ก่อนเลือกโปรแกรม Time Attendance (ตอนที่1)20 ข้อสำคัญควรรู้ก่อนจะตัดสินใจเลือกโปรแกรม Time Attendance (ตอนที่2) »
Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด