HR ต้องรับมืออย่างไรกับกระแสการเลิกจ้างของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่


developer


Machine learning อาจเป็นอีกทางเลือกทั้งฝ่ายจัดหางานและผู้หางานที่เผชิญกับการถูกเลิกจ้าง

เราได้เห็นพาดหัวข่าวหลายสำนักกันไปไม่มากก็น้อยเกี่ยวกับการประกาศเลิกจ้างของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่หลายเจ้า แค่เพียงบริษัทเทคในอเมริกาอย่างเดียวก็ปลดพนักงานไปกว่า 75,000 คนแล้วในปี 2022

เช่น Twitter ซึ่งประกาศเลิกจ้างพนักงานเกือบ 4,000 คน หรือเกือบครึ่งหนึ่งของพนักงานทั้งหมด ส่วน Meta ก็ปลดคนไปกว่า 11,000 กว่าคน (ประมาณ 13% ของพนักงานทั้งหมด)ปรากฏการณ์นี้เปรียบเสมือนคลื่นสึนามิที่ทำให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโลกธุรกิจสั่นสะเทือนไปพร้อมกัน

วันนี้ ByteHR จะมาช่วยเจาะลึกให้ดูกันว่าอะไรคือสาเหตุของการเลิกจ้าง และการเลิกจ้างในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในปัจจุบันมีผลกระทบอย่างไร HR และฝ่ายสรรหาบุคลากรจะต้องเผชิญความท้าทายอะไรบ้าง


อะไรคือสาเหตุเบื้องหลังของการปลดอย่างมโหราฬเช่นนี้?

ก่อนจะวิเคราะห์ไปถึงตรงนั้น เราขอให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่า พวกเราเพิ่งผ่านพ้นช่วงระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้ทั่วโลกต้องอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์ ผู้บริโภคต่างหันไปพึ่งเทคโนโลยีพุ่งสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นแนวทางที่ยั่งยืน เพราะเมื่อโควิดผ่านไป เราก็ได้เห็นสภาพเงินเฟ้อที่พุ่งตามมาซึ่งมีผลต่อผู้บริโภคโดยตรง ผลที่ตามมาในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก กำลังลดขนาดการลงทุน ซึ่งแปลว่าการจ้างงานจะลดลง

ความเสี่ยงจากการคุกคามของภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่กำลังจะเกิดขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆ เลิกจ้างคนเพิ่ม เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบทางการเงินให้ผ่านพ้นช่วงที่ยากลำบากไปได้

ปรากฏการณ์การเลิกจ้างในช่วงภาวะถดถอยนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสถานการณ์สำคัญในทุกยุคสมัยที่ HR ต้องเผชิญเมื่อเกิดวิกฤต และการตัดสินใจของ HR จะมีผลกระทบต่อองค์กรมากที่สุด 

ช่วงเวลาที่เปราะบางเช่นนี้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องระมัดระวังในการรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ของพนักงานที่ไม่พอใจหรือสูญเสียศรัทธาในตัวนายจ้าง รวมถึงคุมข่าวลือต่างๆ ไม่ให้แพร่สะพัดจนเป็นเหตุให้รักษาพนักงานที่ต้องการรักษาไว้ไม่ได้

จากประสบการณ์ของ ByteHR เราขอแนะนำสิ่งที่ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องคำนึงสามอันดับแรกคือ

  1. ลดแรงกระแทกให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งข่าวลือและข้อมูลเผยแพร่ที่ส่งผลต่อบริษัท

  2. ลดจำนวนหรือผลกระทบของคนงานที่อาจไม่พอใจให้เหลือน้อยที่สุด

  3. ช่วยคนงานที่เพิ่งเลิกจ้างในการย้ายงานครั้งต่อไป


Machine Learning อาจเป็นทางออก

AI


ปัญญาประดิษฐ์สามารถเข้ามาแบ่งเบาหน้าที่ ที่ผู้จัดการฝ่ายสรรหาบุคลากรต้องใช้เวลานานในสั้นลงเมื่อใช้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เอาพลังไปใช้กับงานที่ละเอียดอ่อนซึ่งต้องการ “มนุษย์" ในการสื่อสาร และให้ AI ช่วยงานจิปาถะที่กินเวลานานในกระบวนการสรรหาบุคลากร เช่น

  • กรองผู้สมัครที่ไม่คุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเลย

  • การส่งข้อความเบื้องต้นเพื่อยืนยันการรับเรซูเม่

  • การส่งจดหมายปฏิเสธด้วยถ้อยคำสุภาพ

  • ประเมินผลการมีส่วนร่วม หรือการสอบประเมินทักษะของผู้สมัคร

  • กำหนดการสัมภาษณ์และติดตามผล

  • ตอบคำถามที่ผู้สมัครถามบ่อย


เมื่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือพนักงานที่ถูกเลิกจ้าง การนำ Machine Learning มาใช้ก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะ AI สามารถช่วยวิเคราะห์เรซูเม่และข้อเสนองานนับล้าน และสามารถระบุรูปแบบและจับคู่ผู้สมัครกับตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดได้ เพื่อช่วยนำทางผู้หางานไปสู่งานที่พวกเขามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จและช่วยเหลือให้พวกเขาเริ่มต้นเส้นทางอาชีพใหม่ ยกตัวอย่างเช่น


  • การระบุจุดอ่อนในเรซูเม่: เนื่องจากแมชชีนเลิร์นนิงวิเคราะห์เรซูเม่และข้อเสนองานหลายล้านรายการแบบเรียลไทม์ จึงสามารถระบุจุดอ่อน เช่น ทักษะ คุณสมบัติ หรือข้อมูลส่วนตัวที่อาจขาดหายไปในเรซูเม่ของพนักงานที่เพิ่งเลิกจ้าง AI สามารถช่วยวิเคราะห์เรซูเม่และข้อเสนองานนับล้าน และสามารถระบุรูปแบบและจับคู่ผู้สมัครกับตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดได้

  • การวางแผนด้านอาชีพ: พนักงานบางคนถูกเลิกจ้างเนื่องจากไม่มีงานหรือโปรเจคให้พวกเขาทำต่อ หรือความต้องการของตลาดเปลี่ยนไป ในกรณีเหล่านี้ แมชชีนเลิร์นนิงสามารถช่วยระบุแนวทางที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น การฝึกอบรมเพิ่มเติม ที่จะนำทางพนักงานที่เพิ่งถูกเลิกจ้างไปสู่เส้นทางอาชีพที่มีศักยภาพมากขึ้น

  • การคาดการณ์สภาวะตลาดงาน: แมชชีนเลิร์นนิงสามารถระบุและคาดการณ์แนวโน้มในตลาดแรงงานที่สามารถช่วยวิเคราะห์ลักษณะงานที่ตรงกับความต้องการและคุณสมบัติของผู้สมัครเช่น เงินเดือนที่เหมาะสม ลักษณะงานและประสบการณ์ที่ตรงกัน ไปจนถึงเมืองหรือสถานที่ทำงานที่ผู้สมัครต้องการเพื่อลดการเดินทาง


เมื่อบริษัทเกิดภาวะวิกฤต แต่ก็แสดงออกถึงความพยายามที่จะช่วยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างอย่างเต็มที่ ผลที่ตามมามักจะเป็นกระแสบวกมากกว่าลบ 

ByteHR เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงของการบริหารจัดการบุคลากรเกิดขึ้นเสมอ แต่สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปคืองานด้านนี้จำเป็นต้องใช้ “มนุษย์” ในการบริหาร “มนุษย์” แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมามากมาย และคงจะมีเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อไปในอนาคต สิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องปรับตัว ที่สุดแล้วคือการใช้เทคโนโลยีให้เป็น เพื่อช่วยจัดการความซับซ้อนของการบริการทรัพยากรบุคคลในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน ทำเอกสารภาษีส่งทางราชการ การบริการจัดการกะ เข้า-ออกของพนักงาน และระบบลาออนไลน์ ทั้งหมดนี้คุณสามารถบริหารมันได้แม้จะไม่ใช่ HR มืออาชีพ เพียงแค่ต้องหาโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการ และมีความยืดหยุ่นในการบริหาร ให้ ByteHR มาช่วยคุณบริหารจัดการส่วนนี้ให้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลครบวงจรที่ดีที่สุด  ติดต่อทีมของเราเพื่อรับคำปรึกษาได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด