HRM vs HRD แตกต่างกันอย่างไร มาทำความเข้าใจพร้อมกันได้เลย

HRM vs HRD ความแตกต่างเพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร

​หนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเกิดความสำเร็จนั่นคือมีวิธีบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ ซึ่งหลักการทั้ง HRM และ HDM จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก Byte HR ผู้นำอันดับ 1 ของโปรแกรมเงินเดือน จึงขอพาทุกคนทำความรู้จักกับเทคนิคดังกล่าวให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นและสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรของตนเองเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้อย่างสำเร็จลุล่วง

HRM (Human Resources Management) การบริหารทรัพยากรมนุษย์

HRM หรือ Human Resources Management คือ รูปแบบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อบริหารบุคลากรภายในองค์กรให้สามารถสร้างผลลัพธ์ตรงตามจุดประสงค์ที่ธุรกิจตั้งเป้าหมายเอาไว้ อาศัยหลักการจัดการสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพ ปรับปรุงประสิทธิผล พร้อมเช็กลิสต์ผลที่เกิดขึ้น หากอธิบายแบบเข้าใจง่ายมากขึ้น หลักของ HRM เสมือนการใช้ศิลปะเพื่อวางตำแหน่งของบุคคลให้เหมาะสมกับงานแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นจะส่งผลดีต่อทุกฝ่ายทั้งตัวพนักงาน องค์กร ไปจนถึงลูกค้า และหลักการสำคัญของ HRM จะประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้

  • วางแผน สรรหา และคัดเลือกบุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ในหน้าที่หรือตำแหน่งงานนั้น ๆ เข้าสู่องค์กร
  • สร้างกลยุทธ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร กำหนดกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้อย่างดี
  • ประเมินผลลัพธ์ของบุคลากรแต่ละคน แต่ละฝ่าย ด้วยข้อกำหนดพื้นฐานของหน้าที่นั้น ๆ
  • จัดการดูแลผลตอบแทนต่าง ๆ ที่บุคลากรพึงได้รับอย่างเหมาะสมทั้งเงินเดือน โบนัส Incentive เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ และอื่น ๆ
  • ส่งเสริมบุคลากรให้เกิดความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้มากขึ้น เช่น การส่งพนักงานไปอบรม
  • สร้างกิจกรรมเพื่อให้พนักงานเกิดความรักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคีภายในองค์กร

HRD (Human Resources Development) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

HRD หรือ Human Resources Development คือ รูปแบบของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากขึ้นกว่าเดิมอันถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภายใต้จุดประสงค์ในด้านการส่งเสริมให้พนักงานมีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการทำงานของตนเองมากขึ้นกว่าเดิม ไปจนถึงการสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์กรด้วย โดยหลักการสำคัญของ HRD ประกอบไปด้วย

  • ออกแบบวิธีฝึกอบรม ฝึกทักษะ หรือเสริมศักยภาพของพนักงานในแต่ละส่วนตามสายอาชีพของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจหมายถึงการนำผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยสอน การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน หรือการส่งพนักงานไปอบรมภายนอก 
  • นำเอาแนวทางที่เหมาะสมด้านจริยธรรม คุณธรรมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสร้างทัศนคติและแนวคิดที่ดีให้กับพนักงาน
  • พัฒนาบุคลากรให้เกิดความรัก ความผูกพัน มีความภักดี รู้สึกว่าตนเองคือส่วนหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย
ทั้ง HRM และ HRD ล้วนมีจุดมุ่งหมายทำให้องค์กรดีขึ้นกว่าเดิม

สรุปความแตกต่างระหว่าง HRM และ HRD

สรุปความแตกต่างระหว่าง HRM และ HRD
  • HRM จะเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดสรรคนเพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แต่สำหรับ HRD จะเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ในองค์กรให้ดีขึ้นกว่าเดิมแบบรอบด้าน
  • HRD ถือเป็นส่วนหนึ่งในของหลักการ HRM ที่มีส่วนช่วยสร้างบุคลากรที่ดีให้กับองค์กร
  • HRM จะมีแนวทางการปฏิบัติที่อิสระมากกว่า ขณะที่ HRD มักมีจุดประสงค์ที่ชัดเจนจึงต้องอาศัยแนวทางที่มีกรอบเพื่อการปฏิบัติได้อย่างดีที่สุด

แม้มีความแตกต่างแต่ทั้ง HRM และ HRD ล้วนสำคัญต่อองค์กร

แม้ตามหลักทางทฤษฎีทั้ง HRM และ HRD อาจมีความแตกต่างกันอยู่ในบางจุด แต่เมื่อมองถึงภาพรวมแล้วทั้ง 2 หลักการนี้ล้วนมีจุดมุ่งหมายแบบเดียวกันนั่นคือพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และจำเป็นต้องทำร่วมกันเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดี ตั้งแต่การคัดสรรคนเข้ามาทำงาน การประเมินความเหมาะสม การหาแนวทางเพื่อเพิ่มเติมทักษะ ความรู้ต่าง ๆ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร จนบทสรุปสุดท้ายองค์กรเดินหน้าไปตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้อย่างสมบูรณ์แบบ

สรุปแล้ว 

การทำความเข้าใจหลักการ HRM และ HRD เป็นสิ่งที่ฝ่าย HR ของทุกองค์กรต้องศึกษาพร้อมปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม แม้ตามหลักทฤษฎีอาจมีข้อแตกต่างในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เมื่อมองภาพรวมแล้วหากสามารถทำให้ทั้ง 2 หลักการดังกล่าวออกมาอย่างดี นั่นบ่งบอกถึงประสิทธิภาพขององค์กรย่อมเกิดการพัฒนาและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน 

ซึ่งส่วนหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้นได้ พนักงานทำงานได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้นก็ต้องรู้จักนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยอยู่เสมอ อย่างเช่นโปรแกรม HR จาก Byte HR พร้อมช่วยให้ฝ่าย HR ทำงานง่ายขึ้นทั้งการทำเงินเดือน การลงเวลาเข้า-ออกงานของพนักงาน และฟังก์ชันอื่นอีกมากมาย ตอบโจทย์ความเหนือระดับ เสริมศักยภาพขององค์กรได้อย่างน่าประทับใจ

Pim Srisomboon
เกี่ยวกับผู้เขียน
พิมพ์เป็นนักเขียนคอนเทนท์ที่มีประสบการณ์กว่า 7 ปีในด้านซอฟแวร์เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลและการอบรม เธอมีความชื่นชอบในด้านซอฟแวร์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในเรื่องความซับซ้อนของกระบวนการและการพัฒนาซอฟแวร์