Hybrid Work เทรนด์นี้ยังจะอยู่ต่อหรือไม่

Hybrid Work เทรนด์นี้ยังจะอยู่ต่อหรือไม่ มาหาข้อมูลกันเลย

Hybrid Work เทรนด์การทำงานที่ยังคงไปต่ออีกนาน

ช่วงที่โควิด-1 ระบาดหนัก หลายองค์กรต้องให้พนักงานทำงานแบบ Work From Home เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อ กระทั่งสถานการณ์ดีขึ้นแต่องค์กรเองก็มองว่าการทำงานด้วยวิธีดังกล่าวสร้างประโยชน์ในหลายด้านจึงเกิดการผสมผสานในสิ่งที่เรียกว่า Hybrid Work หรือการทำงานแบบไฮบริด อย่างไรก็ตามยุคปัจจุบันที่การแพร่ระบาดน้อยมาก บวกกับความแข็งแรงของร่างกายผู้คนมีมากขึ้นต่อเชื้อ จึงสร้างความสงสัยว่าเทรนด์การทำงานดังกล่าวยังจะอยู่ต่อไปหรือไม่? Byte HR จะพาทุกคนหาคำตอบกันเลย

ทำความรู้จักกับการทำงานแบบ Hybrid Work

การทำงานแบบ Hybrid Work คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานกันระหว่างการทำงานในสถานที่ (ภายในออฟฟิศ) และนอกสถานที่ ซึ่งไม่ได้จำกัดว่าพนักงานจะต้องเข้ามาออฟฟิศสแกนนิ้ว หรือตอกบัตรทุกวัน แต่สามารถทำได้ทุกที่ตามความสะดวกของตนเอง ขอให้งานเสร็จตรงตามเวลาที่กำหนดและผลลัพธ์ออกมาดีเท่านี้องค์กรก็พึงพอใจมากแล้ว

ลักษณะเด่นของการทำงานในรูปแบบ Hybrid Work บางองค์กรมีการกำหนดวันเข้าออฟฟิศของพนักงานไว้ชัดเจน โดยอาจให้สับเปลี่ยนกันเข้าภายในแผนกของตนเอง เช่น สัปดาห์ละ 3 วัน / คน ส่วนอีก 2 วัน จะทำงานที่บ้าน ร้านกาแฟ หรือสถานที่ไหนก็ตามสะดวก ขณะที่วิธีเช็กว่าพนักงานเข้างานจริงหรือไม่ก็สามารถใช้โปรแกรม HR สำหรับลงเวลาเข้า-ออกงาน ซึ่งตัวโปรแกรมยังสามารถส่งสถานที่ผ่านระบบ GPS เพื่อยืนยันตัวตนจากสถานที่ที่กำลังทำงานอยู่ได้อีกต่างหาก การมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจึงเป็นอีกความพิเศษที่ช่วยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น

Hybrid Work ประโยชน์ที่ทั้งองค์กรและพนักงานต่างได้รับ

เทรนด์การทำงานแบบ Hybrid Work จะยังอยู่ต่อไปหรือไม่?

จากข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำงานแบบ Hybrid Work จะเห็นว่าทั้ง 2 ฝ่าย ได้ประโยชน์ร่วมกันจากวิธีทำงานแบบนี้ ฝั่งธุรกิจสามารถประหยัดต้นทุนด้านค่าใช้จ่ายทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ ขณะที่พนักงานก็ไม่ต้องเหนื่อยเดินทาง ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายรายวัน แต่ทั้งหมดทั้งมวลงานที่ออกมาก็ยังคงต้องได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ด้วยเช่นกัน 

เมื่อทุกฝ่ายต่างได้ประโยชน์ก็เป็นสิ่งยืนยันแบบชัดเจนว่าเทรนด์การทำงานแบบ Hybrid Work จะยังคงอยู่ต่อไป และคาดว่ามีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยซ้ำ หากองค์กรไหนอยากลดต้นทุนด้านสาธารณูปโภค หรือมีตัวช่วยที่ให้พนักงานของตนเองทำงานโดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวันได้ เช่น การใช้โปรแกรม HR เพื่อเช็กการเข้า-ออกงาน พนักงานลงเวลาผ่านมือถือด้วยแอป HR โปรแกรม Zoom ใช้สำหรับการประชุม การนำเสนองาน เป็นต้น

แต่การทำงานแบบ Hybrid Work ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกอาชีพเสมอไป

แม้เทรนด์ของการทำงานแบบ Hybrid Work จะยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้าเจาะลึกลงไปแล้วต้องยอมรับว่าวิธีนี้ก็ไม่ได้เหมาะกับทุกอาชีพ หรือทุกประเภทธุรกิจเสมอไป เช่น ฝ่ายบัญชีที่ต้องมีการพูดคุย หรือทำงานร่วมกันกับฝ่ายของตนเองและผู้อื่นตลอด งานด้านการผลิต การทดลอง การ QC สินค้า หรือแม้แต่บางตำแหน่งที่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะที่มีในออฟฟิศเท่านั้น แต่ในภาพรวมก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรมาก เพราะคนทำอาชีพหรือตำแหน่งเหล่านี้เข้าใจและพร้อมปฏิบัติตาม

สรุป

การทำงานแบบ Hybrid Work ซึ่งเป็นเทรนด์ในลักษณะของทำงานแบบอิสระมากขึ้น มีวันที่เข้าออฟฟิศและวันที่ทำงานนอกออฟฟิศ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับตัวพนักงาน ขณะที่ธุรกิจเองก็ลดต้นทุนลงไปได้อีกพอสมควร นั่นจึงทำให้เทรนด์นี้จะยังคงอยู่ต่อไปแม้ผ่านช่วงเวลารุนแรงของการระบาดมาพักใหญ่แล้วก็ตามที แต่ก็มีบางอาชีพ บางตำแหน่งที่ไม่อาจทำงานลักษณะนี้ได้ ทว่าพวกเขาก็เข้าใจและไม่ได้เรียกร้องสิ่งใด เพราะต้องการสร้างผลลัพธ์ออกมาให้ดีที่สุดด้วยเช่นกัน 

ซึ่งองค์กรไหนให้พนักงานทำงานแบบ Hybrid Work แต่ยังใช้วิธีลงเวลางานแบบแจ้งผ่านแชท ไม่สามารถตรวจสอบจริงได้ ลองเลือกใช้โปรแกรม HR จาก Byte HR ครบครันเรื่องบริหารจัดงานพนักงานให้เป็นเรื่องง่าย อัปเดตเวลาเข้า-ออกของตนเองได้จากทุกสถานที่ ข้อมูลอัปเดตและบันทึกอยู่ตลอด พร้อมโปรแกรมคำนวณเงินเดือน และอื่น ๆ อีกมากมาย คุ้มค่าการลงทุนแน่นอน 

Pim Srisomboon
เกี่ยวกับผู้เขียน
Pim Srisomboon is a seasoned Content Marketer with 7 years of experience in Human Resource software and training programs. She has a deep passion for software, especially in understanding the intricacies of processes and development.