Q&A ลูกจ้างลาป่วยเท็จ เลิกจ้างได้ไหม ต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่

การลาป่วยถือเป็นสิทธิ์พื้นฐานที่พนักงานประจำทุกคนมีโอกาสได้รับจากองค์กรตามกฎหมาย โดยในการทำงานตลอด 1 ปี พนักงานสามารถลาป่วยได้ 30 วัน แบบไม่ถูกหักรายได้ อย่างไรก็ตามพนักงานหัวหมอบางคนอาจใช้ช่องโหว่ดังกล่าวลาป่วยเท็จบ่อยครั้งจนสร้างปัญหาให้กับงานที่ตนเองรับผิดชอบ เมื่อนายจ้างหรือ HR จับได้อาจเกิดข้อสงสัยว่าจะสามารถเลิกจ้างพนักงานคนดังกล่าวได้หรือไม่ แล้วถ้าเลิกจ้างจริงต้องจ่ายเงินชดเชยด้วยไหม Byte HR จึงเอาข้อมูล Q&A ที่น่าสนใจมาบอกต่อ
ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับการลาป่วยของพนักงาน
อย่างที่อธิบายไว้ว่าปกติแล้วการลาป่วยของพนักงานประจำใน 1 ปี ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานได้มอบสิทธิ์เอาไว้ทั้งหมด 30 วัน โดยที่องค์กรยังต้องจ่ายเงินเดือนตามปกติ ซึ่งตามเงื่อนไขกฎหมายแล้วพนักงานสามารถลาได้ตามระยะเวลาของการเจ็บป่วยจริง โดยไม่จำกัดว่าพนักงานคนดังกล่าวทำงานมานานเท่าใดแล้วก็ตามทั้งในฐานะของลูกจ้างรายวัน รายสัปดาห์ ราย 15 วัน หรือรายเดือน รวมถึงกลุ่มลูกจ้างที่อยู่ในช่วงทดลองงานด้วย
แต่ทั้งนี้ตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 ระบุไว้ว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยจริงตามการเจ็บป่วยหรือการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ถ้าหากการลาป่วยดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 3 วันขึ้นไป กฎหมายได้ผ่อนปรนให้องค์กร “สามารถ” เรียกขอเอกสารใบรับรองแพทย์จากพนักงานคนดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามกรณีพนักงานไม่ได้รักษากับสถานพยาบาลแต่เป็นการซื้อยาจากร้านขายยา หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นซึ่งไม่สามารถออกใบรับรองแพทย์ได้ พนักงานอาจใช้วิธีชี้แจงตามเหตุผลการป่วย หรือนำซองยามาเป็นหลักฐานเพื่อยืนยันการป่วยของตนเอง

หากจับได้ว่าพนักงานลาป่วยเท็จ สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยไหม?
ในกรณีที่องค์กรจับได้ว่าพนักงานคนใดก็ตามทำการลาป่วยเท็จ หมายถึง การลาป่วยโดยที่ตนเองไม่ได้มีการเจ็บป่วยจริง หรือลาป่วยบ่อยเกินไปแล้วไปทำธุระอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยของตนเอง ตามกฎหมาย พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (วรรค 1) (ฉบับปรับปรุงล่าสุด) อาจประเมินได้ว่าพนักงานคนดังกล่าวส่อเจตนาทุจริตต่อหน้าที่ของตนเอง
ดังนั้นก็มีเหตุอันสมควรให้องค์กรสามารถเลิกจ้างพนักงานได้หากพนักงานคนดังกล่าวปฏิบัติพฤติกรรมไม่ถูกต้องในเรื่องต่าง ๆ เช่น การทุจริตในหน้าที่ การไม่ปฏิบัติตามกฎบริษัทหรือฝ่าฝืนกฎสำคัญ ซึ่งการลาป่วยเท็จก็จัดอยู่ในกลุ่มการปฏิบัติผิดกฎสำคัญขององค์กร อีกทั้งหากเป็นการเลิกจ้างด้วยเหตุผลนี้องค์กรยังไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยกับพนักงานด้วย รวมถึงการเลิกจ้างดังกล่าวยังไม่ถูกเข้าเงื่อนไขการเลิกจ้างงานแบบไม่เป็นธรรม
ดังนั้นหากสรุปให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น กรณีองค์กรจับได้ว่าพนักงานลาป่วยเท็จ ก็มีสิทธิ์เลิกจ้างพนักงานคนนั้นได้ทันที เพราะถือเป็นการทุจริตในหน้าที่และทำผิดกฎสำคัญขององค์กร ซึ่งการเลิกจ้างกรณีดังกล่าวมีผลบังคับใช้ได้ทันที และไม่ต้องเสียค่าชดเชยใด ๆ กับพนักงานคนนั้นอีกด้วย
บทสรุป
สิทธิ์การลาป่วยตามกฎหมายของไทย พนักงานสามารถลาได้ปีละไม่เกิน 30 วัน แต่ถ้าเมื่อไหร่พนักงานถูกจับได้ว่าเป็นการลาป่วยเท็จ องค์กรก็มีสิทธิ์เลิกจ้างและไม่จ่ายเงินชดเชยได้เช่นกัน ทั้งนี้หาก HR คนใดกำลังเจอกับปัญหาน่าปวดหัวเมื่อพนักงานในออฟฟิศลากันบ่อยจนทำเงินเดือนไม่ถูก กำหนดกะเข้า-ออกงานไม่ได้ ขอแนะนำโปรแกรม HR จาก Byte HR ตัวช่วยการทำเงินเดือนอันแสนรวดเร็วพร้อมฟีเจอร์ต่าง ๆ มากมาย เช่น โปรแกรมทำเงินเดือน โปรแกรมลงเวลางานผ่านมือถือ คำนวณวันขาด ลา สาย ช่วยจัดกะพนักงาน โปรแกรมการจัดเก็บประวัติพนักงาน และอื่น ๆ มั่นใจว่าใช้งานง่าย ช่วยลดภาระการทำงานได้จริง งบไม่บานปลาย คำตอบชั้นยอดขององค์กรทั่วไทยจำนวนมาก