บริษัทสามารถสนับสนุนพนักงาน GEN Z ได้อย่างไร
เด็กรุ่น Gen Z ที่เพิ่งจบการศึกษาหรือกำลังจะจบก็ต้องพบเจอกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 บริษัทมากมายทยอยปิดตัว โดยรวมแล้วคนกลุ่มนี้กำลังประสบกับความบอบช้ำระดับชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่และสงครามโลกครั้งที่สองขณะที่พวกเขากำลังเริ่มต้นที่จะก้าวเข้าสู่เส้นทางการทำงานในอนาคต
เพื่อช่วยเหลือให้พวกเขาได้พัฒนาต่อไป บริษัทควรให้ความสำคัญในการสนับสนุนคนรุ่นนี้ 3 ประการ ได้แก่
- การพัฒนาทักษะ โดยอาจนำการเรียนรู้แบบออนไลน์เข้ามาช่วยพัฒนา
- การจัดการความเครียดสิ่งที่คนยุคนี้กำลังดิ้นรนอยู่แล้วก่อนที่จะเกิดการระบาด และ
- ความฉลาดทางอารมณ์ซึ่งเป็นทักษะที่ Gen Z อาจไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่เนื่องจากการสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้พวกเขาสับสนและยังไม่พบกับสิ่งที่กระตุ้นความสามารถหรือแรงผลักดันที่จะค้นพบสิ่งที่ตัวเองอยากทำ
- โปรแกรมปฐมนิเทศ
ทุกวันนี้แม้ว่า COVID-19 จะส่งผลกระทบต่อคนทุกวัยอย่างไร้ความปรานี แต่ผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มประชากร Gen Z ของวัยรุ่นก็มีแนวโน้มที่จะรุนแรงเป็นพิเศษ เพราะจู่ๆพวกเขาก็เข้าสู่เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของอนาคตตัวเองและของโลก ส่งผลให้พวกเขาเกิดความกลัวอย่างสุดซึ้งเกี่ยวกับอนาคตที่ไม่แน่นอนในหลายด้าน
บริษัทสามารถสนับสนุนพนักงาน Gen Z ได้อย่างไร
เราคงจะต้องใช้เวลาหลายปีก่อนที่จะมีข้อมูลเพียงพอที่จะประเมินผลกระทบทั้งหมดของประสบการณ์นี้ใน Gen Z อย่างไรก็ตามการวิจัยที่มีอยู่สามารถช่วยให้นายจ้างเรียนรู้ว่าพวกเขาควรคาดหวังอะไรและจะจัดการพนักงาน Gen Z ได้ดีที่สุดในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร
การวิจัยในสามด้านนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการวิเคราะห์นี้ ได้แก่ การพัฒนาทักษะ การจัดการความเครียดและการสร้างความฉลาดทางอารมณ์
การพัฒนาทักษะ
การเรียนรู้ของ Gen Z หยุดชะงัก เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในรั้วการศึกษา ซึ่งสถานศึกษาหลายแห่งไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสื่อออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงบุคลากรก็ไม่ได้รับการฝึกฝนสำหรับแพลตฟอร์มดังกล่าว ทำให้ภาระไปตกหนักที่ผู้ปกครองและคนรุ่นนี้ต้องเรียนในพื้นที่บ้านซึ่งอาจมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน
ด้วยเหตุนี้นายจ้างอาจต้องเพิ่มความอดทนต่อการปรับตัวของ Gen Z มากขึ้น โดยให้โอกาสและเวลาพวกเขามาปรับตัวเข้าสู่โลกแห่งการทำงานและวิชาชีพ และหันมาให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนระหว่างรุ่นมากขึ้น ตัวอย่างโปรแกรมที่บริษัทสามารถพัฒนาขึ้นมาให้เหมาะกับพนักงานรุ่นใหม่ได้แก่ โปรแกรมปฐมนิเทศ (Orientation) และโปรแกรมการให้คำปรึกษา (Mentoring)
โปรแกรมปฐมนิเทศของบริษัทยุคใหม่ควรปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป จากการให้พนักงานนั่งฟังอย่างเดียว สู่การมอบหมายงานล่วงหน้าและให้คำปรึกษาแก่พนักงานโดยเน้นการพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนการทำงานเชิงกลยุทธ์และฝึกให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายของบริษัทและเข้าใจทักษะของตนเองมากขึ้น
การให้คำปรึกษาก็เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของรุ่นพนักงาน การวิจัยแสดงให้เห็นว่า พนักงานรุ่นใหม่จะพัฒนาเร็วขึ้นเมื่อได้รับการโค้ชชิ่งที่เหมาะสม อีกทางหนึ่งคือการให้คำปรึกษาแบบย้อนกลับหรือ Reverse mentoring โดยให้พนักงานรุ่นใหม่เข้ามาช่วยพนักงานอาวุโสพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นของพนักงานนี้จะทำให้พวกเขาช่วยกันพัฒนาความเชี่ยวชาญและปรับตัวเข้าสู่การทำงานได้ง่ายขึ้น และบริษัทก็ได้รับประโยชน์จากการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งมากกว่าเดิม
การบริหารความเครียด
เป็นเวลากว่าทศวรรษที่นักวิจัยสังเกตเห็นแนวโน้มที่น่าตกใจ: Gen Z มีระดับความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าในระดับที่สูงกว่าคนรุ่นอื่น ๆ จากงานวิจัยยังบอกเราด้วยว่าการพบกับความเครียดในวัยเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและส่งผลต่อพัฒนาการทางจิตใจและสังคม ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ต่างตระหนักดีว่าความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงานที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจส่งผลให้การขาดงาน การลาออกและประสิทธิผลการทำงานที่ลดลง
แน่นอนว่าการปรับตัวที่สำคัญที่สุดในช่วงเวลาการระบาดของ COVID-19 นี้ คือการพัฒนาระบบการทำงานทางไกล โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้และเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้มากขึ้นโดยสังเกตพนักงานว่าพวกเขาเหมาะหรือต้องการใช้วิธีการทำงานรูปแบบใด แพลตฟอร์มใดที่เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด บริษัทอาจจัดกลุ่มการทำงานที่มีการสนับสนุนและให้คำปรึกษาจากรุ่นพี่ เพื่อเสริมความมั่นใจให้พนักงานใหม่ในการทำงานและลดความวิตกกังวลเมื่อต้องรับมือกับความท้าทายใหม่ๆของเนื้องาน
การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
การต้องรับมือกับสถานการณ์พลิกผันหลายด้านทำให้ Gen Z ประสบปัญหากับการสำรวจและเข้าใจตัวเอง และรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในที่ทำงานและเพื่อนร่วมงานได้ยังไม่ค่อยดีนัก นายจ้างสามารถช่วยเติมเต็มช่องว่างนี้ได้ด้วยการนำเสนอโปรแกรมที่ช่วยสร้างความฉลาดทางอารมณ์ตั้งแต่พวกเขาเริ่มเข้ามาทำงาน โดยเน้นการมอบหมายงานที่ช่วยพัฒนา Soft skill ต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร การบริหารเวลา การทำงานเป็นทีม เพื่อช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาเป็นผู้นำที่ดีต่อไปในอนาคต
Image credit : www.freepik.com