ภาษีเงินได้คืออะไร เข้าใจไม่ยาก


income-tax0



ภาษี ฟังดูเหมือนเรื่องน่าปวดหัวและเข้าใจยากเพราะมีหลายประเภทเหลือเกิน อันที่จริงแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องภาษีทุกตัวก็ได้ เพราะมีภาษีไม่กี่ประเภทเท่านั้นที่คุณจะต้องเจอบ่อยๆ วันนี้ ByteHR จะมาพูดถึงประเภทภาษีที่ทุกคนจะต้องเจอบ่อยที่สุด นั่นก็คือ “ภาษีเงินได้ - Income Tax” ให้กับทั้งเหล่าพนักงานเงินเดือนและผู้ประกอบการได้เข้าใจถึงความเหมือนและความต่างไปพร้อมๆ กัน

ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่อัตราการเสียภาษีถูกกำหนดโดยรัฐบาลต่อรายได้ที่บุคคล ธุรกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในเขตอำนาจกฎหมายที่กำหนดไว้ ภาษีเงินได้เป็นหนึ่งในแหล่งรายได้หลักของรัฐบาลเพื่อใช้ในการสนับสนุนบริการสาธารณะและโปรแกรมต่างๆ โดยภาษีเงินได้ มีสองประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ ภาษีเงินได้นิติบุคคล วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงรายละเอียดของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากันก่อน


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

คือ ภาษีเงินได้ที่บุคคลธรรมดาจะถูกเรียกเก็บจากรายได้ทั้งหมดที่บุคคลได้รับจากแหล่งต่างๆ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง รายได้จากการลงทุน เงินเช่า และรายได้จากกิจการส่วนตัว ภาษีจะถูกคำนวณขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่ใช้และช่วงรายได้ที่กำหนดโดยรัฐบาล อัตราภาษีทั่วไปจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับรายได้สูงขึ้น 

ทุกคนที่รายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งระหว่าง คนโสด และ คู่สมรส

เปรียบเทียบให้เห็นกันง่ายๆ ดังนี้


table


วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ = เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน

ภาษีจากเงินได้สุทธิ = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีมี 3 ขั้นตอน คือ

1. คำนวณจากอัตราภาษีก้าวหน้าของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. คำนวณจากอัตราภาษีคงที่

3. สรุปและเปรียบเทียบ


ขั้นตอนที่ 1 คำนวณจากอัตราภาษีก้าวหน้า

อัตราภาษีก้าวหน้า (Progressive Tax Rate) คือ อัตราภาษีที่จะสูงขึ้นตามระดับเงินได้สุทธิที่นำมาใช้คำนวณภาษีเงินได้ โดยเมื่อผู้เสียภาษีมีเงินได้สุทธิสูง จะยิ่งเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าที่สูงขึ้น โดยแต่ละขั้นของเงินได้ จะใช้อัตราภาษีในการคำนวณที่ต่างกัน และนำภาษีที่คำนวณในแต่ละขั้นของอัตราก้าวหน้ามารวมเป็นภาษีที่ต้องจ่าย 

ปัจจุบันอัตราภาษีก้าวหน้าของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะแบ่งอัตราภาษีออกเป็น 8 ขั้น ตั้งแต่ 0% - 35% ตามระดับฐานเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 - 5,000,000 บาทขึ้นไป


income-tax1


ตัวอย่างเช่น



income-tax2


ขั้นตอนที่ 2 คำนวณจากอัตราภาษีคงที่

เราจะคำนวณภาษีจากอัตราภาษีคงที่ ก็ต่อเมื่อเรามีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) ถ้ารายได้จากทางอื่นรวมกันตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ก็ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงิน 

อัตราภาษีคงที่ = (เงินได้ทุกประเภท - เงินเดือน) x 0.5

* หากคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสียไม่เกิน  5,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้


ขั้นตอนที่ 3 สรุปและเปรียบเทียบ

เมื่อคิดคำนวณทั้งสองแบบแล้ว และเอามาเปรียบเทียบกันดู วิธีไหนคำนวณออกมาแล้วเสียภาษีสูงกว่าก็ให้เลือกวิธีนั้น


ค่าลดหย่อนภาษีประเภทต่างๆ

ค่าลดหย่อนภาษีมีอยู่ 4 กลุ่มหลักๆด้วยกัน ซึ่งเราควรรู้ไว้และเช็คให้ละเอียดเมื่อกรอกเอกสารว่าเราสามารถหักลดการเสียภาษีได้ไหม

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนพื้นฐาน

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส

  • ค่าลดหย่อนบุตร

  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอดบุตร

  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา

  • ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ


กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน

  • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • เงินสะสมกองทุน กบข. และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน

  • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม

  • เบี้ยประกันชีวิต

  • เบี้ยประกันสุขภาพ

  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

  • ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย

  • เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม)


กลุ่มที่ 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากนโยบายภาครัฐ

  • ค่าลดหย่อนพิเศษในปีภาษี เช่น โครงการช้อปดีมีคืน 2566


กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนเพื่อบริจาค

  • เงินบริจาคทั่วไป

  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม สาธารณประโยชน์ และสถานพยาบาลรัฐ

  • เงินบริจาคพรรคการเมือง


จากวิธีคำนวณดังกล่าวจะทำให้เราได้รู้ว่า เรามีเงินได้ปีละเท่าไหร่ และต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไหร่ รวมถึงการวางแผนลดหย่อนภาษีต่างๆเพื่อให้เราบริหารจัดการการเงินได้ดีขึ้น


ByteHR มีระบบคำนวณภาษี โดยสามารถตั้งค่าการคำนวณภาษีได้ทั้งแบบ อัตราก้าวหน้า และ อัตราคงที่ และมีระบบ จัดการเงินเดือน โปรแกรม HR On Cloud ที่รองรับธุรกิจทุกประเภท ซึ่งสามารถจัดทำรายงานเอกสารราชการในโปรแกรม เงินเดือนทั้งรายเดือนและรายปีรวมทั้งภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, สปส. 1-10, 50 ทวิ, กท20 เป็นต้น พร้อมรองรับการส่งทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

สามารถสร้างรายงานมาตรฐาน เช่น สรุปการจ่ายเงินเดือน, รายละเอียดเงินได้ เงินหักต่างๆ,การหักภาษีและอื่น ๆ 

นอกจากนี้รูปแบบรายงานทั้งหมดที่สามารถสร้างได้เองตามคอลัมน์ที่ต้องการ รวมถึงนำออกเป็นไฟล์ Excel และ PDF


หากคุณกำลังมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมสำหรับHR อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 


ByteHR มีโปรแกรมสำหรับ HRที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน การจัดการกะพนักงาน และบันทึกเวลาเข้าออกพนักงาน ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด