Quiet Quitting คืออะไร และผู้นำจะรับมือได้อย่างไร


quiet quitting


ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เราจะเห็นศัพท์ Quite Quitting ปรากฏให้เห็นในหน้าสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับเทรนด์การทำงาน  หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงานของเราเองที่อาจจะเรียกตัวเองว่า Quiet Quitter แต่ไม่ได้หมายความว่าคนเหล่านี้จะลาออกแต่อย่างใด


ถ้าจะให้คำนิยามสั้นๆ Quiet Quitting คือ เทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ยึดเอาการทำงานเป็นศูนย์กลางของชีวิต เรียกได้ว่าทำตามหน้าที่ แต่จะไม่ทุ่มเทมากกว่านั้นเพื่อรักษาสุขภาพจิตและสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน และปฏิเสธที่จะทำงานล่วงเวลาหากไม่ได้รับผลตอบแทนเพิ่ม ซึ่งเป็นเทรนด์การทำงานที่สวนทางกับกระแสกับวัฒนธรรมการทำงานหนัก เพื่อให้สำเร็จไวเหมือนที่เราอาจเคยเห็นก่อนหน้านี้


ปรากฏการณ์นี้เป็นผลกระทบมาจากช่วงการระบาดของโควิด19 ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ลดคนลงและเพิ่มงานให้กับพนักงานที่มีอยู่โดยพนักงานเหล่านี้ถูกคาดหวังให้ทำงานเพิ่มขึ้นและไม่ได้รับค่าจ้างเพิ่ม ทำให้หลายคนเข้าสู่ภาวะหมดไฟและเลือกทำงานแบบ Quite Quitting ในช่วงที่หางานใหม่ยาก และส่วนใหญ่ก็ลาออกไปในที่สุด


ความคิดเห็นส่วนหนึ่งของผู้คนต่อเทรนด์นี้มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทั้งคนทำงานที่เห็นว่าการทำงานแบบนี้คือเรื่องปกติ แล้วเราจะทำงานมากกว่าที่ถูกจ้าง ให้บริษัทเอาเปรียบเราเพื่ออะไร? ในขณะที่อีกส่วนก็มองว่า ถ้าคุณต้องการเติบโตและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ไม่มีใครอยากเลื่อนขั้นให้คนที่ทำงานได้แค่พอใช้หรอก 


อย่างไรก็ตาม Harvard Business Review ได้ทำการศึกษาและเจาะลึกถึงเทรนด์นี้ โดยทำการสำรวจความคิดเห็นพนักงานภายใต้หัวข้อ "สถานที่ทำงานเป็นที่ ที่ทำให้เขารู้สึกอยากทุ่มเททำงานมากกว่าหน้าที่ ที่ได้รับ" เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และเมื่อพวกเขามาวิเคราะห์ผลสำรวจเพื่อหาคำตอบของความแตกต่างระหว่าง คนที่เห็นที่ทำงานเป็นเหมือนคุก กับคนที่รู้สึกว่างานที่ทำมีความหมายและทำให้มีจุดมุ่งหมายในชีวิต


ข้อมูลบอกอะไรเรา


data


จากการเก็บข้อมูลจากเหล่าพนักงาน 13,048 คน ต่อความคิดเห็นของผู้จัดการ 2,801 คนของพวกเขา ตั้งแต่ปี 2020 โดยเฉลี่ยผู้จัดการแต่ละคนจะมีลูกน้องที่ทำงานขึ้นตรงกับพวกเขา 5 คน โดยพนักงานจะต้องให้คะแนนผู้จัดการของพวกเขาในสองส่วน


  • คะแนนการจัดการประสิทธิผลของงานควบคู่ไปกับการจัดการความต้องการของพนักงาน
  • คะแนนสภาพแวดล้อมการทำงานว่ากระตุ้นให้พนักงานรู้สึกอยากทุ่มเทกับงานมากขึ้น


ทีมวิจัยพบว่า หากคุณมีพนักงาน 10 คนที่ทำงานขึ้นตรงกับคุณ และแต่ละคนทุ่มเทกับงานมากกว่าที่ได้รับมอบหมายอีก 10% ผลลัพธ์ที่ได้คือประสิทธิผลของงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

กราฟด้านล่างนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ผู้จัดการที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด จะมีพนักงานที่เป็น Quiet Quitters มากกว่าผู้จัดการที่ดีถึง 3-4 เท่า


chart
Credit: Havard Business Review


ผู้จัดการเหล่านี้ มีจำนวนพนักงานที่เป็น Quiet Quitters อยู่ถึง 14% และมีเพียง 20% เท่านั้นที่จะยอมทำงานที่นอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมาย ในขณะที่ผู้จัดการที่มีผลการจัดการความสัมพันธ์กับพนักงานได้ดีเยี่ยมนั้น ผลคือ 62% ของพนักงานยอมที่จะทำงานนอกเหนือจากที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มใจ ในขณะที่มีเพียง 3% ที่เป็น Quiet Quitters


มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้พบกับผู้จัดการที่แย่ จนทำให้พวกเขาทำงานแบบ Quiet Quitting ไปซะอย่างนั้น สาเหตุมาจากความรู้สึกต่ำต้อยและไร้ค่าในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเกิดจากอคติของผู้จัดการ หรือการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสม ทำให้พนักงานหมดความกระตือรือร้น


ทำอย่างไรเมื่อคุณต้องบริหารพนักงานที่เป็น Quiet Quitter

เมื่อคุณบริหารพนักงานหลายคนที่คุณคิดว่าเป็น Quiet Quitter สิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า นี่เป็นปัญหาที่เกิดจากลูกน้องของตัวเอง หรือ นี่เป็นปัญหาที่เกิดจากตัวของเราและความสามารถในการบริหารจัดการทีมของเรากันแน่

ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณบริหารจัดการคนได้อย่างดีและมีลูกน้องสองสามคนที่ไม่ค่อยกระตือรือร้น นั่นอาจไม่ใช่ความผิดของคุณ เพราะจากชาร์ตด้านบน แม้แต่เมเนเจอร์ที่ได้คะแนนสูงก็ยังมีคนในทีมที่เป็น Quiet Quitter อยู่ 3%-4%


หรือลองหันมาพิจารณาวิธีการที่คุณบริหารทีม เช่นเมื่อคุณบอกให้ทีมเพิ่มผลงานให้มากขึ้น ตัวคุณเองได้ทำอะไรเพิ่มเพื่อให้คนในทีมรู้สึกมีค่า มีความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำหรือไม่ การเปิดอกพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับความคาดหวังในงาน หรือตารางเวลาทำงาน ซึ่งในปัจจุบัน คุณสามารถจัดการด้วย โปรแกรม HR ที่มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเงินเดือน โปรแกรม บันทึก เวลา ทํา งาน การประกาศภายในองค์กร การส่งคำร้องออนไลน์ เป็นต้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความไว้วางใจ เมื่อพนักงานในทีมไว้ใจผู้นำของพวกเขา พวกเขาก็จะรู้สึกว่าได้รับความเอาใจใส่ และเกิดความห่วงใย


จากงานวิจัยได้สรุปถึง 3 พฤติกรรมที่ผู้นำควรทำ


leader


1. สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกกับคนในทีมทุกคน หาจุดร่วมที่คุณจะสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกับพวกเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรกที่เหมือนกัน หรือเรียนรู้ความคิดเห็นที่ต่างกัน การจะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพนักงานแต่ละคน มีทั้งยากและง่าย แตกต่างกันไปตามอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือแม้แต่ทัศนคติทางการเมือง อย่าหยุดที่จะมองหาจุดร่วมที่เหมือนกันกับคนในทีมและสร้างความไว้วางใจแก่กันและกัน


2.ความสม่ำเสมอ ผู้นำต้องซื่อสัตย์ต่อสัญญาและคำพูดของตนเอง สิ่งนี้จะทำให้คนในทีมเชื่อใจและไว้ใจ


3. ความเชี่ยวชาญ สิ่งที่เสริมสร้างความไว้วางใจต่อผู้นำคือ คุณทำงานของคุณได้ดีหรือไม่ คนในทีมเชื่อถือความคิดเห็นและคำแนะนำของคุณไหม ผู้ที่เชี่ยวชาญในสิ่งที่ตนทำจะนำทีมไปสู่การแก้ไขปัญหาและแนวทางสร้างสรรค์ใหม่ๆและสร้างความเชื่อมั่นต่อคนในทีม

เมื่อผู้นำสามารถทำให้คนในทีมเชื่อใจได้ พนักงานที่เป็น Quiet Quitter ก็จะลดลงด้วย 


แม้ว่าการกล่าวโทษว่า Quiet Quitting เป็นเพียงความขี้เกียจในการทำงานของคนรุ่นใหม่จะง่ายกว่าก็ตาม แต่งานวิจัยชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่า คนเราแต่ละคนก็อยากจะมอบพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เวลา และความกระตือรือร้นให้กับบริษัทและผู้นำที่คู่ควร

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด