ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 คืออะไร จะยื่นภาษีแล้ว รีบมาเช็กกันเร็ว
เมื่อสิ้นปีใกล้เข้ามา ก็ถึงเวลาที่ต้องเริ่มจัดการเอกสารภาษีกันแล้ว ใครที่ยังสงสัยอยู่ว่าตัวเองต้องยื่นภาษีตัวไหนมารวมกันทางนี้ ByteHR จะอธิบายและบอกขั้นตอนของการยื่นภาษีภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91ให้เข้าใจกัน
ความแตกต่างระหว่าง ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91
ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด.91 และจะต้องทำการยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีถัดไป
มีรายได้หลายทางนอกเหนือจากเงินเดือนต้องยื่นยังไง?
เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็หารายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ เพราะความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ถ้าคุณทำงานประจำไปด้วยและทำธุรกิจส่วนตัวหรือมีรายได้อื่น ๆ ด้วยก็ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 เพราะเราคำนวณจากรายได้พึงประเมิน 40(1) ถึง 40(8) เช่น หากนาย A ทำงานประจำ แต่มีรับออกแบบกราฟิกนอกเวลางาน และมีรายได้จากการให้เช่าบ้าน ก็จะมีประเภทรายได้ที่ต้องยื่นดังนี้
ในส่วนของเอกสารที่ต้องยื่น และเช็กอัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ที่บทความ ภาษีเงินได้คืออะไร เข้าใจไม่ยาก
ยื่นภาษีได้ที่ไหนบ้าง
1. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
2. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง
วิธีคำนวณภาษี
วิธีปกติ
รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตร
รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามการคำนวณวิธีปกติ)
วิธียื่นภาษีออนไลน์
ทางที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการยื่นภาษีออนไลน์เพราะยื่นได้ตลอด 24 ชม. มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และคลิกไปที่ "ยื่นออนไลน์"
2. ทำการ “เข้าสู่ระบบ” โดยสามารถเลือกวิธีการเข้าสู่ระบบได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ เข้าสู่ระบบด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือชื่อผู้ใช้งาน และเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID กรณีที่ไม่เคยเป็นสมาชิกมาก่อนให้คลิก “สมัครสมาชิก”
3. ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้เลือกทำรายการในส่วนของ ภ.ง.ด.90/91 และคลิก “ยื่นแบบ”
4.“กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี” ทำการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่ระบบดึงมาแสดงผล หากข้อมูลไม่ถูกต้องหรือต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล คลิก “แก้ไข”
5. กรอกข้อมูลเงินได้ของตนเอง โดยคลิกที่ “ระบุข้อมูล” จากนั้นทำการระบุข้อมูลเงินได้ที่ต้องการ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้กดถัดไป
6. กรอก “ค่าลดหย่อนภาษี” โดยกรมสรรพากรจำแนกกลุ่มค่าลดหย่อนออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น ด้านการออมและการลงทุน
กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อน/ยกเว้น จากสินทรัพย์และมาตรการนโยบายภาครัฐ
กลุ่มที่ 4 เงินบริจาค
7. ตรวจสอบ “ผลการคำนวณภาษี” ว่าถูกต้องหรือไม่ โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีและผู้เสียภาษีเลือกการชำระ/ขอแบ่งชำระ หรือขอเงินภาษีคืน
8. “สรุปรายการภาษี” ซึ่งจะแสดงรายละเอียดการยื่นแบบภาษีชำระไว้เกิน หรือ ภาษีที่ชำระเพิ่มเติม และกำหนดการชำระเงิน (กรณีมีภาษีต้องชำระเพิ่ม)
9. ตรวจสอบความถูกต้องในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ หากถูกต้องให้กด "ยืนยันการยื่นแบบ" ก็เป็นอันเสร็จ
หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยจัดการ การทำเงินเดือนในองค์กร ByteHR ก็มีโปรแกรมคำนวณเงินเดือน ที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วมากกว่าเดิม ทั้งคำนวณภาษีโดยนำเงินได้พึงประเมินและสร้างรายงาน ภงด.1 และ ภงด.1ก ฯลฯ แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมสำหรับ HR อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com