ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน ตามกฎหมายแรงงาน เช็กกันเลย

ลาพักร้อน ลาป่วย ลากิจได้กี่วัน


ในการทำงานกับองค์กรต่าง ๆ “วันลา” ถือเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่พนักงานทุกคนต้องได้รับ ซึ่งตามหลักแล้วจะแยกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบไปด้วย การลาป่วย การลากิจ และการลาพักร้อน หากพนักงานคนไหนกำลังมีข้อสงสัยว่าตามกฎหมายแรงงานนั้นวันลาดังกล่าวตนเองต้องได้รับทั้งหมดกี่วัน นี่คือสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่ต้องรู้เอาไว้เพื่อไม่ถูกโดนเอาเปรียบ Byte HR ผู้นำเทคโนโลยีโปรแกรมสำหรับ HR นำเอาข้อมูลดี ๆ มาบอกต่อให้แล้ว

การลาป่วย สามารถลาได้กี่วัน?

การลาป่วย สามารถลาได้กี่วัน?

การลาป่วย หมายถึง การขอลางาน ไม่มาทำงานเนื่องจากตนเองมีอาการเจ็บป่วยและต้องขอหยุดเพื่อพักรักษาอาการดังกล่าวให้หายดีจึงจะสามารถกลับไปทำงานได้ตามเดิม ซึ่งตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 32 และ 57 ระบุเอาไว้ชัดเจนว่า ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้ตามระยะเวลาที่เจ็บป่วยจริงโดยนายจ้างไม่สามารถหักค่าแรงใด ๆ ได้ และตลอด 1 ปี จะมีจำนวนวันลาป่วยให้ทั้งสิ้น 30 วัน หากเกินกว่านี้นายจ้างจะมีสิทธิ์หักรายได้ของลูกจ้างตามข้อกำหนดขององค์กรได้

การลากิจ มีอะไรบ้าง ลากิจได้กี่วัน?

การลากิจ คือ การลาเนื่องจากมีกิจธุระสำคัญที่ต้องไปทำโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องดำเนินการในช่วงวันทำงานปกติ ไม่สามารถทำในวันหยุดได้ เช่น 

  • การพาพ่อแม่ ลูก สามี/ภรรยา หรือบุคคลในครอบครัวไปพบแพทย์ตามใบนัดของแพทย์ 

  • การเข้าร่วมพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เช่น งานศพ งานแต่งงาน งานอุปสมบท 

  • การติดต่อกับหน่วยงานราชการ เช่น ต่ออายุบัตรประชาชน ต่ออายุใบขับขี่ การขึ้นเป็นพยานในชั้นศาล การติดต่ออำเภอเพื่อซื้อ-ขายที่ดิน ฯลฯ 

  • เหตุผลอื่น ๆ ตามความเหมาะสมของลูกจ้าง เช่น ลารับปริญญา ฯลฯ

ซึ่งจำนวนวันของการลากิจอาจไม่ได้ถูกให้ความคุ้มครองทางกฎหมายมากนัก โดย พรบ. แรงงาน มีระบุไว้เพียงนายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างลากิจได้อย่างน้อย 3 วัน / ปี แบบไม่มีการหักรายได้ใด ๆ แต่ถ้าเกินกว่าที่กฎหมายระบุก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือข้อกำหนดขององค์กรนั้น ๆ เช่น มีการอนุญาตให้ลาได้ 7 วัน / ปี แต่การลาจะมีผลต่อการปรับเงินเดือน การได้รับโบนัส หรือบางกรณีเหตุผลการลาไม่เห็นสมควรมากพอก็มีสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ลาได้เช่นกัน


พรบ. คุ้มครองแรงงานมีการกำหนดวันลาให้ลูกจ้างชัดเจน

การลาพักร้อน สามารถลาได้กี่วัน?

นี่คือประเภทของการลาที่เหล่าบรรดาลูกจ้างต่างต้องการมากที่สุดเนื่องจากเป็นการลาที่ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลใด ๆ มารองรับมากนัก สามารถลาได้ตามความเหมาะสม ซึ่งตาม พรบ. กฎหมายแรงงานระบุไว้ว่านายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างสามารถลาพักร้อนได้ไม่น้อยกว่า 6 วัน / ปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดอื่นขององค์กร เช่น อาจเพิ่มวันให้เป็น 7 วัน / ปี สามารถนำวันลาพักร้อนของปีก่อนหน้าที่ยังเหลือมาทบกับปีปัจจุบันเพิ่มเติมได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามข้อกำหนดสำคัญของการได้วันลาพักร้อนขององค์กรแทบทุกแห่งนั่นคือ ลูกจ้างต้องทำงานกับองค์กรไม่น้อยกว่า 1 ปี

เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับการลาคลอด

อีกประเภทการลาที่อยากอธิบายเพิ่มเติมสำหรับผู้หญิงนั่นคือ “การลาคลอด” สำหรับลูกจ้างที่มีครรภ์และเตรียมคลอดบุตร ปกติแล้วตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 41 และ 57 ระบุว่า หญิงมีครรภ์สามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 98 วัน หากช่วงระหว่างการลาคลอดมีวันหยุดราชการ อย่างไรก็ตามจะรับรายได้เต็มเพียงแค่ 45 วัน เท่านั้น ส่วนรายได้เพิ่มเติมอื่นต้องติดต่อกับทางสำนักงานประกันสังคม

สรุป

ข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการลาต่าง ๆ หากเป็นการลาป่วยสามารถลาได้ไม่เกิน 30 วัน / ปี ลาพักร้อนไม่น้อยกว่า 6 วัน / ปี ขณะที่ลากิจไม่เกิน 3 วัน / ปี อย่างไรก็ตามทั้งการลาพักร้อนและลากิจยังมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับองค์กรที่ปฏิบัติงานด้วย ส่วนองค์กรไหนที่สนใจโปรแกรมคำนวณเงินเดือนเพื่อสร้างความสะดวกให้กับการทำงานมากขึ้น “Byte HR” ผู้นำตัวจริงของเทคโนโลยีโปรแกรม HR โปรแกรมทำเงินเดือนออนไลน์ ฟังก์ชันจัดเต็มครบถ้วน ใช้งานง่าย ในราคาที่คุณสบายใจ ช่วยประหยัดต้นทุนได้มากขึ้นกว่าเดิม


Pim Srisomboon
เกี่ยวกับผู้เขียน
พิมพ์เป็นนักเขียนคอนเทนท์ที่มีประสบการณ์กว่า 7 ปีในด้านซอฟแวร์เกี่ยวกับทรัพยากรบุคคลและการอบรม เธอมีความชื่นชอบในด้านซอฟแวร์ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจในเรื่องความซับซ้อนของกระบวนการและการพัฒนาซอฟแวร์