HR ยุค 4.0 กับบทบาทที่ต้องเปลี่ยนแปลง


หลายปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศต่างปรับระบบองค์กรขนานใหญ่เพื่อพยุงบริษัทต้านคลื่นกระแสของเทคโนโลยีที่พัดเข้ามาอย่างรวดเร็ว ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้แทบทุกแผนก พร้อมทั้งลดแรงงานคนและเน้นการจ้างงานพนักงานที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น

ถือเป็นฝ่ายที่ข้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคนในองค์กรร่วมกับแต่ละแผนกโดยเฉพาะ แต่หลายองค์กรมักไม่ได้ให้ความสำคัญกับแผนกนี้เท่าที่ควร

จากรายงานล่าสุดของ KPMG เปิดเผยว่า จากการสำรวจผู้บริหารฝ่ายบุคคลกว่า 1,200 คนจากบริษัททั่วโลกใน 64 ประเทศ พบว่า 39% นั้นมีความมั่นใจว่าผู้นำในฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะเป็นผู้ควบคุมและนำข้อมูลเชิงลึกมาสร้างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเดิมของบริษัทที่ล้าสมัย และพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น การวิเคราะห์เชิงลึก การนำแรงงานดิจิทัล (Digital Labor) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้
ทว่าผู้บริหารระดับสูงส่วนมากยังคงงุนงง สับสนกับสิ่งใหม่ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางคนก็พยายามที่จะปรับตัวเพื่อตามยุคดิจิทัลให้ทัน ไม่ก็เลือกที่จะเพิกเฉยไปเลย
หากคุณคือผู้บริหารองค์กรหรือหัวหน้าในแผนกทรัพยากรบุคคล มี 3 ข้อที่ผู้บริหารยุค 4.0 จะต้องตระหนักถึงด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลต่อไปนี้

1. บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของ CHRO (CHIEF HUMAN RESOURCE OPERATION)


คุณอาจไม่คุ้นกับชื่อตำแหน่งนี้ แต่ตำแหน่ง CHRO ก็คือ ตำแหน่งระดับผู้บริหารสูงสุดฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั่นเอง

ตำแหน่ง CHRO เป็นตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับจากฝ่ายบริหารด้วยเพราะ CHRO มีบทบาทสำคัญในการเติบโตของบริษัท เพราะต้องช่วยฝั่งธุรกิจในการวางกลยุทธ์ ช่วยตัดสินใจ ทั้งเรื่องการจ้างพนักงาน ค่าตอบแทน การจัดการความสามารถของพนักงาน การจัดการประสิทธิภาพของการทำงาน การฝึกอบรม การจัดการประสบการณ์ที่ดีของพนักงานต่อองค์กร และด้านอื่นๆในองค์รวม

CHRO จึงต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องความต่างของบุคคลและสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีและทำให้วัฒนธรรมองค์กรเดินไปด้วยกันกับเป้าหมายของธุรกิจ
หากคุณคือผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้ คุณจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อรักษาให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมคู่แข่งอื่นๆในตลาดได้ และหากคุณคือผู้บริหารองค์กร คุณจำเป็นต้องวางแผนร่วมกับ CHRO อย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจได้ว่า CHRO กำลังสร้างคนและวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งเฟ้นหาบุคลากรที่ใช่เพื่อนำองค์กรสู่เป้าหมาย

ตำแหน่ง CHRO มีหน้าที่ให้คำแนะนำทั้งทางด้านธุรกิจและด้านความเป็นผู้นำในการจำกัดความของ เทรนด์การทำงานในอนาคต (Future of work) พร้อมช่วยให้องค์กรเดินหน้าจากวัฒนธรรมรูปแบบเดิมๆที่เชื่องช้า สู่ระบบที่มีรูปแบบ Agile และเป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างดิจิทัลและความเป็นมนุษย์ เพื่อเสนอกลยุทธ์ซึ่งสามารถช่วยสร้างสมดุลของ Future of work ได้


2. “ประสบการณ์ของพนักงาน” กระจกสะท้อน “ประสบการณ์ของลูกค้า”
ความสำคัญของ Employee Engagement นั้นกลายเป็นกลยุทธ์ที่มีความสำคัญกับประสิทธิผลขององค์กรในปัจจุบัน จากรายงานของ G2 Crowd ภาคธุรกิจทั่วโลกจะเพิ่มงบประมาณเพื่ออัดฉีดแผนการสร้าง Employee Engagement เพิ่มมากขึ้น 45% ในปี 2019 และฝ่ายบุคคลคือผู้ที่จะผลักดันสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นจากผลวิจัยพบว่า Employee Engagement มีความสัมพันธ์กับอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างมีนัยะสำคัญ จากผลวิจัยนี้ทำให้ฝ่ายบุคคลในหลายองค์กรปรับตัวโดยการสรรหาโปรแกรมHR มาใช้เพื่อช่วยให้เพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานตั้งแต่วันที่เข้าบริษัทจนวันที่พวกเขาลาออกไปปี 2019 ถือว่าเป็นครั้งแรกที่องค์กรต่างๆจะมีคน 5 เจนเนอเรชั่น ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน ฉะนั้นองค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจกลุ่ม Millenials และ GenZ เพราะปัจจุบันพนักงานรุ่นใหม่ๆในองค์กรนั้นไม่ต่างอะไรจากลูกค้า ซึ่งองค์กรจำเป็นจะต้องวางแผนกลยุทธ์ในองค์กรเพื่อให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดี เพราะหากไม่มีพนักงานซึ่งมีความผูกพันกับองค์กรแล้ว ก็จะไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งได้บริษัทต่างๆมีความต้องการพนักงานที่มีทักษะการทำงานที่โดดเด่นในด้านเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันก็หาได้ยากเหลือเกิน เพราะบริษัทส่วนใหญ่เล็งเห็นว่าทางเดียวที่องค์กรจะแข่งขันอยู่ในตลาดได้นั้นคือต้องเฟ้นหาคนที่ใช่ ทำให้พวกเขามีความสุข กระตุ้นให้พัฒนาและรักษาพวกเขาไว้ในองค์กรให้ได้ โซลูชั่นต่างๆเกี่ยวกับ Employee Engagement ถูกคิดค้นขึ้นมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด แต่องค์กรก็ต้องคิดให้ดีเพื่อเลือกเทคโนโลยีหรือโซลูชั่นที่เหมาะสมกับพนักงานของตน องค์กรอาจจะขอฟีดแบคจากพนักงาน ให้รางวัลและการประกาศรางวัลความสำเร็จให้แก่พนักงานตามความเหมาะสม รวมถึงการฝึกอบรมเป็นประจำและกระตุ้นให้พวกเขาเห็นเส้นทางในการเติบโตของหน้าที่การงานอยู่เสมอ

Employee Engagement จึงเป็นมากกว่าแค่การนำโปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลมาใช้ แต่ยังรวมถึงโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมตามความต้องการของพนักงานอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความสามารถและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน


3. การทำงานร่วมกันระหว่างคนและระบบดิจิทัล

ภาคการจัดการทรัพยากรมนุษย์ทั่วโลกได้ประมาณการกันไว้ว่าจะลงทุนงบประมาณกว่า 30 พันล้านเหรียญสหรัฐในด้าน IT การวิเคราะห์เชิงทำนาย( Predictive analytics), AI และ Machine learning ในระบบของฝ่ายบุคคลเพื่อช่วยให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาและทรัพยากร

แต่ในอีกด้าน การเกิดขึ้นมาของกระแส AI และ Machine Learning ก็ผลักให้บริษัทต่างๆต้องมาลงทุนในเทคโนโลยีที่พวกเขาอาจยังไม่มีความรู้มากพอที่จะนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ จากรายงานของ KPMG กล่าวว่า 50% ของผู้นำในภาคทรัพยากรบุคคลรู้สึกว่าพวกเขายังเตรียมตัวไม่พร้อมกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นรอบตัว

การขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถตามความต้องการของตลาดได้กลายเป็นความท้าทายใหญ่ที่สุดซึ่งจำกัดขีดความสามารถขององค์กรที่จะเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนแปลง วิธีที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดในการเดินหน้าสู่ยุค Digital Transformation คือ จ้างงานคนที่มีความสามารถตรงกับองค์กรและต้องเพิ่มความสามารถให้พวกเขาพัฒนาไปพร้อมกัน เพื่อเตรียมให้พนักงานสามารถทำงานภายใต้ความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกดิจิทัล

กล่าวโดยสรุปคือ ฝ่ายบุคคลในยุคนี้ ไม่ใช่แค่ทำเอกสารข้อมูลวันต่อวันอีกต่อไปแล้ว หากคุณจะก้าวหน้าในองค์กร หรือมีหน้าที่ผลักดันวัฒนธรรมองค์กร คุณจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับคน และความต้องการที่หลากหลายของพนักงานในแต่ละเจเนอเรชั่น ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายความสามารถและยังต้องทำความเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะเข้ามามีส่วนช่วยการทำงานของคุณให้เป็นอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมเงินเดือนโปรแกรมบันทึกเวลาของพนักงานโปรแกรมประมวลผลเวลา โปรแกรมคำนวณภาษี ซึ่งมีให้เลือกใช้มากมายในตลาดปัจจุบัน

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษา ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


« การตัดสินใจเลือกสมัครสมาชิกกับซอฟต์แวร์HR & Payroll20 ข้อควรรู้ก่อนเลือกโปรแกรม Time Attendance (ตอนที่1) »
Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด