ส่งประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?


ประกันสังคม คือการสร้างหลักประกันให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาและการทดแทนรายได้ ซึ่งการหักเงินสมทบประกันสังคมถือเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารระบบจัดการเงินเดือน โดยบริษัทจะหักจากฐานค่าจ้างของลูกจ้าง 5% แต่ไม่เกิน 750 บาทต่อเดือนเพื่อนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม


วิธีคำนวณประกันสังคม


สาเหตุที่นายจ้างต้องทำประกันสังคมให้ลูกจ้าง

เพื่อสร้างระบบการจัดการเงินเดือนที่มีหลักประกันที่มีมาตรฐานแก่ลูกจ้าง และแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบขององค์กรต่อลูกจ้าง โดยใช้เลขนิติบุคคล 13 หลัก ดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้าง/ผู้ประกันตน โดยนายจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วันหลังจากที่รับลูกจ้างคนแรกเข้าทำงาน


หากนายจ้างยังไม่เคยขึ้นทะเบียน สามารถยื่นได้ 2 แบบคือ

  1. แบบนิติบุคคล ต้องใช้เอกสารทั้งหมดดังนี้


  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

  • สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์

  • สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)

  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ

  • หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนพร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

 

  1. แบบเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ต้องใช้เอกสารทั้งหมดดังนี้

  • สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)

  • สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

  • สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน

  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)

  • แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ

  • หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

ประกันสังคม


เอกสารที่ต้องใช้สำหรับนายจ้าง เพื่อยื่นข้อมูลให้แก่ลูกจ้าง

  • หนังสือนำส่งแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-02) 

  • แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) ของพนักงาน

  • สำเนาบัตรประชาชนของลูกจ้าง

  • ข้อมูลเงินสมทบที่สรุปอัตราค่าจ้างในแต่ละเดือน พร้อมข้อมูลของลูกจ้าง (เลขบัตรประจำตัวประชาชน, คำนำหน้า, ชื่อ-นามสกุล, ตำแหน่ง, เงินเดือน และเงินสมทบ) 


เงินสมทบประกันสังคมที่นายจ้างต้องนำส่ง

นายจ้างต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมที่หักจากลูกจ้างและเงินสมทบส่วนของนายจ้าง ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป


วิธีคำนวณเงินสมทบประกันสังคม

เงินสมทบประกันสังคมส่วนของลูกจ้างคำนวณจาก ฐานค่าจ้างของลูกจ้างเป็นรายเดือน (ไม่ต่ำกว่า 1,650 บาทและสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) x 5%

เงินสมทบประกันสังคมส่วนของนายจ้างจะเท่ากับเงินสมทบประกันสังคมที่หักจากลูกจ้าง

เช่น เงินสมทบของลูกจ้าง = 15,000 x 5% =750 บาท รวมกับเงินสมทบของนายจ้างอีก 750 บาท รวมเป็น 750 + 750 = 1,500 บาท


การทำธุรกรรมออนไลน์

  1. เข้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th เลือกหัวข้อ สถานประกอบการ

  2. เลือกขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต กรอกข้อมูลให้ครบ เพื่อลงทะเบียน สปส. 1-05

  3. ระบบส่งแบบลงทะเบียน (สปส. 1-05) กลับทาง e-mail เพื่อพิมพ์แบบลงทะเบียนส่งสำนักงานประกันสังคม

  4. ผู้มีอำนาจลงนาม ประทับตราและพยาน 2 ท่าน

  5. สำนักงานประกันสังคมอนุมัติส่ง User-ID ให้ทาง e-mail เพื่อสถานประกอบการสามารถส่งข้อมูลงานทะเบียน

  6. แจ้งเข้า – แจ้งออก เปลี่ยนแปลงข้อมูลและส่งเงินสมทบประจำเดือน


ByteHR มีโปรแกรมทำเงินเดือน ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชันจัดการข้อมูลเงินสมทบประกันสังคมสำหรับนายจ้าง เพื่อให้คำนวนรายการและจำนวนได้อย่างรวดเร็ว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ HR ประหยัดเวลาในการทำระบบการจัดการเงินเดือน

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมทำเงินเดือนพนักงานออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษา ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com

Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด