เคล็ดลับต้องรู้ เมื่อต้องการจ้างพนักงานจากบริษัทคู่แข่ง


select-employee


เมื่อ Shopee ได้ประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวนมากกะทันหันในหลายประเทศรวมทั้งไทย สร้างความตื่นตระหนกให้กับพนักงานที่ตกงานกันแบบไม่ทันได้ตั้งตัว แต่ทว่านี่กลับเป็นโอกาสให้บริษัทอีคอมเมิร์ซและธุรกิจด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ประกาศรับสมัครงานคนที่ถูกเลิกจ้างอย่างกระตือรือร้น 

ซึ่งนอกจากค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อแล้ว สิ่งที่ HR ควรเสริมลงไปเมื่อต้องการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถจากบริษัทคู่แข่งมีอีกสามข้อ ได้แก่


  • สร้าง Career path ของตำแหน่งงาน เพื่อให้ผู้สมัครได้เห็นว่าสามารถเติบโตไปในทิศทางใดได้บ้าง 

  • อย่าลืมว่าพนักงานเหล่านี้มีตัวเลือก และอาจมีหลายบริษัทที่มาพร้อมข้อเสนอที่ดีเช่นกัน HR ควรสอบถามถึงความสนใจหรือความต้องการส่วนตัวนอกเหนือจากเงินเดือนว่า พวกเขาคาดหวังอะไรจากบริษัทบ้าง เช่น ประกันสุขภาพ หรือการทำงานที่ยืดหยุ่น สามารถ Work from home ได้ เป็นต้น

  • เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง สิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงการต้องจัดแคมป์ ให้พนักงานไปบุกป่า ลุยไฟด้วยกัน เพียงแค่ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและสร้างสรรค์ เพราะสภาพแวดล้อมการทำงานที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างนั้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญโดยเฉพาะพนักงานรุ่นใหม่

การจ้างพนักงานจากบริษัทคู่แข่ง ดูเป็นเรื่องที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทหลายอย่าง ทั้งในเรื่องการได้พนักงานที่เข้าใจธรรมชาติของธุรกิจเดียวกัน ที่มีทักษะที่คุณกำลังมองหา แต่ถ้าคุณไม่ระวัง การจ้างพนักงานจากบริษัทคู่แข่งอาจเต็มไปด้วยอันตราย

สิ่งที่บริษัทหรือ HR จะต้องรับมือคือ สัญญาต่าง ๆ ที่พนักงานเหล่านี้อาจได้เซ็นไว้กับบริษัทเก่า ไม่ว่าจะเป็นข้อผูกมัดว่า ไม่สมัครในบริษัทที่เป็นธุรกิจเดียวกัน หรือเป็นคู่แข่ง สัญญาห้ามเปิดเผยความลับหรือข้อมูลลูกค้าและเทคโนโลยีของบริษัท


วันนี้ ByteHR จะมาบอกเคล็ดลับที่คุณควรรู้ก่อนจะจ้างพนักงานจากบริษัทคู่แข่ง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางกฎหมายตามมา

ประเภทสัญญาที่บริษัทมักให้พนักงานเซ็นหลังพนักงานพ้นสถานะภาพการเป็นพนักงาน หลักๆ แล้วแบ่งเป็น 3 ประเภท


    1. Non-competition clause (สัญญาห้ามทำการค้าแข่งกับนายจ้าง) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่และระยะเวลา ไม่ได้มีการห้ามตลอดไป เช่น ห้ามทำในธุรกิจเดียวกันภายใน 2 ปี ส่วนใหญ่สัญญาลักษณะนี้ มักจะเป็นผู้บริหารต่างๆ กรรมการผู้จัดการ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น

    2. Non-solicitation clause (สัญญาห้ามชักชวนพนักงานไปทำงานกับคู่แข่ง) ตำแหน่งงานที่มักต้องเซ็นคือตำแหน่งที่ต้องล่วงรู้ความลับทางการค้า ไม่ว่าจะเป็น ตำแหน่งทางการตลาด หรือกลยุทธ์     

    3. Confidentiality clause/Non Discloser Agreement (ข้อตกลงห้ามเปิดเผยความลับของบริษัท/องค์กร) สัญญาตัวนี้มีตั้งแต่พนักงานสัญญาจ้างเช่น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิจัยสูตรสินค้าซึ่งเกี่ยวพันโดยตรงกับสินค้าของบริษัท 


people-lego


เคล็ดลับที่ควรรู้


  • ระหว่างขั้นตอนการสัมภาษณ์ อย่าลืมแจ้งผู้สมัครว่า คุณคาดหวังให้พวกเขาปฏิบัติตามข้อผูกพันทางกฎหมายตามสัญญาก่อนและหลังสิ้นสุดการจ้างงานกับนายจ้างปัจจุบัน ผู้สมัครควรได้รับการเตือนว่าจะไม่นำข้อมูลใด ๆ ที่เป็นข้อมูลที่เป็นความลับหรือความลับทางการค้าของนายจ้างปัจจุบันของตน

  • ในกระบวนการจ้างงาน ต้องแน่ใจว่าพนักงานตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่าในระหว่างการทำงานกับบริษัทของคุณพวกเขาจะไม่ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับหรือความลับทางการค้าของอดีตนายจ้างของตน เพราะเมื่อข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งถูกส่งเข้าคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายของคุณ การค้นหา และลบข้อมูลเพื่อแก้ไขร่องรอยของข้อมูลอาจมีค่าใช้จ่ายสูง เพราะหากมีร่องรอยการส่งข้อมูลทิ้งเอาไว้ บริษัทคู่แข่งอาจใช้โอกาสนี้ฟ้องร้องคุณได้

  • ถ้าตำแหน่งที่บริษัทต้องการจำเป็นต้องให้ผู้สมัครเซ็นสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามประเภทสัญญาข้างต้น HR หรือผู้ว่าจ้างต้องย้ำกับทางผู้สมัครว่าสัญญานี้มีข้อบังคับทางกฎหมาย และไม่ควรเซ็นผ่านๆ เพื่อให้ได้เข้าทำงาน 


การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัญญาเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในกระบวการสรรหาบุคลากรสามารถลดปัญหาหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นกว่าการที่จะกลับมาแก้ในภายหลัง

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 

ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย