4 ประเภทวันลา และสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงานไทย


วันลาพักร้อน


ชีวิตของคนเรานั้นไม่สามารถทำงานทุกวัน ตลอดเวลาโดยไม่ลาไปไหนเลยได้ แต่ละคนต่างมีบทบาท ภาระหน้าที่ที่ต่างกัน แม้ว่าเราจะรักงานแค่ไหนแต่มันก็ต้องมีบ้างที่เราต้องลาป่วย เพื่อพักฟื้นร่างกาย ลาพักร้อนไปพักผ่อนหย่อนใจคลายความเครียด ลากิจไปทำบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต หรือลาคลอดบุตรเพื่อมีเวลาฟื้นร่างกายและดูแลลูก


ในประเทศไทย การทำงานของคนงานมีการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับวันลาและสิทธิ์ต่าง ๆ สำหรับคนงาน พนักงานเองก็ควรรู้ถึงสิทธิ์ลาหยุดในส่วนนี้ เพื่อไม่ให้ตัวเองต้องเสียสิทธิ์ในวันลาไป ในบทความนี้ ByteHR จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ 4 ประเภทของวันลา และสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงานไทยกัน


วันลาป่วย (Sick Leave)


ลาป่วย


ตามกฎหมายแรงงานไทย คนงานมีสิทธิ์ลาป่วยโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ ในกรณีที่ลาไม่เกิน 3 วันต่อปี แต่หากลาเกินกำหนด จะต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันความป่วย คนงานจะได้รับค่าจ้างเต็มวันในระหว่างลาป่วย โดยไม่ต้องหักค่าจ้าง


วันลาพักร้อน (Annual Leave)

วันลาพักร้อน หรือ วันลาพักผ่อน เป็นสิทธิ์ของคนงานที่ทำงานมาแล้ว 1 ปี เต็ม ตามกฎหมาย คนงานมีสิทธิ์ลาพักร้อนไม่น้อยกว่า 6 วัน ต่อปี โดยจะต้องนัดหมายกับนายจ้างล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างลาพักร้อนเต็มวัน


วันลากิจ (Personal Leave)

วันลากิจเป็นการลาเพื่อจัดการธุระส่วนตัว หรือเหตุส่วนตัวที่เกิดขึ้นกับคนงาน ตามกฎหมายสามารถลาได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี   ดังนั้นหากพนักงานใช้สิทธิ์ลากิจไปหมดแล้วและต้องการลากิจเพิ่มเติม ก็อาจให้พนักงานใช้วันลาพักร้อนแทนได้


วันลาคลอดบุตร (Maternity Leave)


ลาคลอด


วันลาคลอดบุตรเป็นสิทธิ์ของพนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ ตามกฎหมาย คนงานหญิงมีสิทธิ์ลาคลอดบุตรไม่เกิน 98 วันต่อครั้ง รวมถึงวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างลาคลอดบุตรไม่เกิน 45 วัน สำหรับวันที่เหลือ พนักงานสามารถขอลาโดยไม่รับค่าจ้าง


พนักงานพาร์ตไทม์(Part-time) หรือพนักงานสัญญาจ้างมีสิทธิ์ได้วันลาไหม?

ในกฎหมายแรงงานไทย พนักงานที่ทำงานแบบพาร์ตไทม์ ไม่ได้มีสิทธิ์ในการลาอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับพนักงานประจำ อย่างไรก็ตาม สิทธิ์การลาของพนักงานพาร์ตไทม์ นั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับพนักงาน โดยสามารถตกลงกันได้ตามความเหมาะสม ซึ่งในบางกรณี องค์กรอาจมีนโยบายเพื่อให้สิทธิ์การลาต่างๆ กับพนักงาน Part-time อาทิ การลาป่วย ลากิจส่วนตัว หรือลาพักผ่อน แต่สิทธิ์นี้จะอยู่ในดุลยพินิจของนายจ้าง และขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกัน

ดังนั้น สำหรับการลาของพนักงาน Part-time ควรตรวจสอบเงื่อนไขที่นายจ้างกำหนด หรือติดต่อฝ่าย HR เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิ์การลาตามนโยบายขององค์กร


นี่คือข้อมูลพื้นฐานของประเภทวันลา และระยะเวลาตามกฎหมายกำหนด ทั้งนี้แต่ละบริษัทก็อาจจะมีการให้สวัสดิการวันลาที่แตกต่างกันไปโดยระบุไว้ในประกาศการจ้างงาน และระบุไว้ในสัญญาจ้างงานเมื่อรับพนักงานเข้าทำงาน โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติที่มีวันหยุดเทศกาลเพิ่มเข้ามา เช่น วันหยุดช่วงปีใหม่คริสมาสต์ หรืออีสเตอร์ หรือในบางบริษัท หากพนักงานไม่ได้ใช้วันหยุดที่สะสมไว้ก็สามารถเปลี่ยนเป็นค่าจ้างเฉลี่ยตามวันได้ บางบริษัทก็ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ โดยพนักงานจำเป็นต้องใช้วันหยุดให้ครบ ถ้าใช้ไม่ครบก็จะถูกตัดตามรอบปีถัดไป ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของพนักงานเอง ดังนั้นก่อนจะเซ็นเอกสารตอบรับเข้าทำงาน พนักงานต้องตรวจเช็กข้อมูลให้ดีก่อนว่า สวัสดิการการลาได้ระบุไว้ตามที่ตกลงในเบื้องต้นหรือไม่


ระบบการลางาน

ระบบลางาน


ในการลาป่วยที่ไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคตได้ บริษัทอาจมีการตั้งกฎให้พนักงานต้องแจ้งหัวหน้างานในช่วงเช้าไม่เกินกี่โมง เพื่อหาคนมาเข้ากะงานแทน หรือเพื่อให้คนในทีมได้มีเวลาเตรียมตัวในการปรับการทำงาน เมื่อขาดพนักงานในทีมไป และพนักงานต้องส่งเอกสารลาป่วย หรือใบรับรองแพทย์ตามมา ในกรณีลากิจ ลาพักร้อน หรือลาคลอด เป็นเรื่องที่พนักงานจะต้องยื่นเอกสารให้กับ HR ล่วงหน้า ซึ่งในระบบแบบดั้งเดิมคือต้องกรอกฟอร์มลาและรอทางหัวหน้าเซ็นอนุมัติและ HR เซ็นรับทราบ และตัดรอบเวลาตามการเดินเอกสาร ซึ่งหากพนักงานส่งช้าก็อาจต้องรอการอนุมัติไปอีกค่อนวัน

ในปัจจุบันหลายบริษัทหันมาให้ระบบการลางานออนไลน์ ซึ่งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ซึ่งพนักงานสามารถเลือกและกรอกแบบฟอร์มการลางานออนไลน์ ผ่านโปรแกรมและแอปพลิเคชันมือถือได้ทุกที่ ทุกเวลา ส่วนหัวหน้างานหรือ HR ก็สามารถอนุมัติคำร้องการลางานได้ภายในไม่กี่นาที รวมถึงสามารถตรวจดูผลการลา เพื่อดูว่าพนักงานมีรูปแบบการลาที่ผิดปกติ หรือเหลือวันลาอยู่เท่าใด และสามารถนำข้อมูลจากระบบการลางานออนไลน์ไปคำนวณเงินเดือนพนักงานได้อีกด้วย

สรุปแล้วในประเทศไทย กฎหมายแรงงานมีการคุ้มครองสิทธิ์คนงานในด้านวันลาที่หลากหลาย สำหรับคนงานที่ทำงานในสถานประกอบการ การทราบถึงสิทธิ์เหล่านี้จะช่วยให้คนงานสามารถวางแผนการทำงานและการพักผ่อนอย่างเหมาะสม ส่งผลให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนงานกับนายจ้าง


บริการของ ByteHR ก็มีระบบลงเวลาทำงาน โปรแกรมคำนวณเงินเดือน ระบบลางานออนไลน์ พร้อมช่วยคุณบริหารจัดการวันลาของพนักงานและคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงานได้ง่ายขึ้น

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 

ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดทำรายงานเอกสารราชการตามการตั้งค่า ภายในโปรแกรม การจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด