วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือนตามกฎหมายสำหรับเจ้าของมือใหม่
หากคุณกำลังวางแผนอยากทำธุรกิจของตนเองไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามแล้วจำเป็นต้องมีพนักงานประจำเข้ามาทำในตำแหน่งต่าง ๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือนตามกฎหมายถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด แม้ในเชิงการทำธุรกิจจะถูกมองว่าเป็นหน้าที่ของฝ่าย HR หรือฝ่ายบัญชีก็ตาม แต่ถ้าคนเป็นเจ้าของรู้ข้อมูลเอาไว้ย่อมเป็นเรื่องที่ดีไม่แพ้กัน Byte HR จึงขอแนะนำข้อมูลน่าสนใจให้ลองศึกษากันเลย
ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายการจ่ายค่าจ้างพนักงาน
ตามกฎหมายแรงงานได้ให้สิทธินายจ้างเกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไข ข้อตกลง รวมถึงหลักเกณฑ์ต่าง ๆ สำหรับลูกจ้างในการทำงาน (แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายกำหนดเอาไว้) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนวันทำงาน เวลาทำงาน ค่าจ้าง รูปแบบการจ่ายค่าจ้าง การลา วันหยุดงาน ค่าจ้างทำงานล่วงเวลา ค่าจ้างทำงานในวันหยุด รวมถึงการเลิกจ้างงาน ซึ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับรายได้นายจ้างต้องจ่ายไม่น้อยกว่าจำนวนเงินขั้นต่ำที่กฎหมายระบุ ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นการปฏิบัติโดยมิชอบและมีความผิดตามกฎหมาย
วิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือนตามกฎหมาย
การจ่ายเงินเดือน คือ รูปแบบของการจ่ายเงินค่าจ้างของนายจ้างให้กับลูกจ้างตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดเอาไว้ในสัญญาการจ้างงาน และเป็นการยิมยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งปกติแล้วรายละเอียดในสัญญาจะระบุข้อมูลครบถ้วนทั้งเรื่องจำนวนเงิน ข้อกำหนดการขาด ลา มาสาย รอบการจ่ายเงินเดือน ฯลฯ โดยวิธีคิดจะแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การคิดเงินเดือนพนักงานแบบจ่ายเต็มเดือน
หลักการคิดเงินเดือนแบบนี้จะไม่ค่อยยุ่งยากมากนักเพราะใช้การคำนวณรายได้แบบเต็มเดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 หรือ 31 โดยไม่มีการนำวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์เข้ามาเป็นตัวหักรายได้ ประกอบไปด้วย
รายได้พนักงาน คือ ฐานเงินเดือนต่อเดือน + รายรับอื่น ๆ เช่น ค่า Incentive, เปอร์เซ็นต์ยอดขาย, เบี้ยเลี้ยง ฯลฯ
รายหักพนักงาน คือ ประกันสังคม + ภาษีหัก ณ ที่จ่าย + จ่าย หรือรายการหักอื่น ๆ อย่างเช่น เงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
ดังนั้น รายได้สุทธิที่เกิดขึ้นจึงเป็นการนำ รายได้พนักงาน - รายหักพนักงาน
ตัวอย่าง นายไก่ มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 25,000 บาท มีรายจ่ายคือ ประกันสังคม 750 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ของเงินเดือน 750 บาท เท่ากับในเดือนนี้ นายไก่ จะได้รับเงินเดือน 23,500 บาท เป็นต้น
2. การคิดเงินเดือนพนักงานแบบจ่ายไม่เต็มเดือน
จากประสบการณ์ของเรา การคำนวณเงินเดือนวิธีนี้จะใช้จำนวนวันที่ลูกจ้างมาทำงานจริงแล้วคูณกับรายได้ต่อวันของลูกจ้าง ส่วนการหักค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัท เช่น ประกันสังคม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
ตัวอย่าง นายไข่ มีรายได้ต่อเดือน 15,000 บาท เมื่อเทียบเป็นรายได้แบบรายวันจะอยู่ที่วันละ 500 บาท (ฐานเงินเดือน / 30) หากนายไข่ มาทำงานระหว่างวันที่ 1-15 (ไม่หักเงินในวันหยุด) รายได้ของ นายไข่ จะคำนวณด้วยการนำ 500 x 15 = 7,500 บาท (ไม่รวมรายหักเพิ่มเติมที่บริษัทหรือกฎหมายกำหนด)
วิธีคิดค่าจ้างพนักงานรายวันและรายชั่วโมง
โดนประสบการณ์ของ Byte HR นอกจากคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีคิดเงินเดือนพนักงานรายเดือนแล้ว สำหรับธุรกิจที่จ้างพนักงานแบบรายวัน หรือทำงานพาร์ทไทม์แบบรายชั่วโมง ก็เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้การจ่ายค่าจ้างถูกต้องและไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง
1. การคิดค่าจ้างพนักงานรายวัน
หลักการจะคล้ายกับการคิดเงินเดือนแบบไม่เต็มเดือน คือ จำนวนวันทำงานจริง x รายได้ต่อวันของลูกจ้าง และจะมีการหักเงินทั้งตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
ตัวอย่าง นายคม มีรายได้วันละ 500 บาท มาทำงานตลอดเดือนรวม 20 วัน ก็จะเข้าสูตร 500 x 20 = 10,000 บาท ไม่รวมรายหักอื่น ๆ
2. การคิดค่าจ้างพนักงานรายชั่วโมง
จะเป็นการนำค่าจ้างต่อชั่วโมง คูณด้วย จำนวนชั่วโมงการทำงาน ซึ่งการหาค่าจ้างรายชั่วโมงให้ใช้วิธีนำค่าจ้างต่อวัน หาร 8 (ชั่วโมงทำงานตามกฎหมาย) เช่น มีรายได้วันละ 500 บาท เมื่อหาร 8 ก็จะได้เป็น รายได้ชั่วโมงละ 62.5 บาท เป็นต้น หากต้องการคำนวณเป็นรายเดือนก็ให้นำรายได้ต่อวัน คูณ จำนวนวันที่มาทำงานตลอดเดือน
ตัวอย่าง นายจาน มีรายได้ชั่วโมงละ 70 บาท ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ก็จะมีรายได้ 560 บาท / วัน ตลอดเดือนมาทำงาน 25 วัน ดังนั้นรายได้ต่อเดือนจะอยู่ที่ 14,000 บาท
วิธีคิดค่าทำงานล่วงเวลา หรือ OT
อีกเรื่องที่ขอแนะนำเพิ่มนั่นคือการคิดชั่วโมงทำงานล่วงเวลา หรือที่เรียกกันติดปากว่า OT (Over Time) ตามหลักการก็ไม่ได้ยุ่งยาก ให้นำรายได้ต่อชั่วโมง คูณ 1.5 (3 เท่าของการทำงานปกติตามกฎหมายกำหนด) x จำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลาในวันนั้น ๆ
ตัวอย่าง นายช้าง ทำงานล่วงเวลา 3 ชั่วโมง โดยเขามีรายได้ชั่วโมงละ 70 บาท ก็จะคำนวณเป็น 70 x 1.5 x 3 = 315 บาท
นี่คือวิธีเบื้องต้นเกี่ยวกับการคำนวณเงินเดือนพนักงานรายเดือนทั้งแบบเต็มเดือน ไม่เต็มเดือน รวมถึงยังแนะนำการคำนวณเงินค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง และคำนวณ OT ให้ด้วย อย่างไรก็ตามการให้คนทำหน้าที่นี้โดยตรงอย่างฝ่าย HR ดูแลจะเป็นเรื่องง่ายที่สุด และจะยิ่งง่ายกว่าเดิมอีกหลายเท่าหากทางบริษัทเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือน Byte HR มีฟังก์ชันหลากหลาย ครบครันเรื่องการดูแลผลประโยชน์ขององค์กรและพนักงาน ทดลองใช้ได้เลย