เช็กเลย เรื่องการลาป่วย 20 ข้อ ที่พนักงานไม่รู้ไม่ได้เด็ดขาด
การลาป่วยถือเป็นสิทธิ์และสวัสดิการประเภทหนึ่งที่ทุกองค์กรต้องจัดให้กับพนักงาน อย่างไรก็ตามด้วยข้อกำหนด กฎระเบียบ หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่แต่ละองค์กรตั้งเอาไว้อาจทำให้พนักงานเกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องการลาประเภทนี้ได้ Byte HR ผู้นำด้านโปรแกรม HR จึงขอพาทุกคนมาเช็กลิสต์ 20 เรื่องเกี่ยวกับการลาป่วยที่พนักงานทุกคนควรรู้เอาไว้ เพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง
การรู้สิทธิ์ลาป่วยของตนเองในฐานะพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ
ปกติแล้วการลาของพนักงานองค์กรจะประกอบไปด้วยการลากิจ การลาป่วย และการลาพักร้อน รวมถึงยังได้รับสิทธิ์ลาพิเศษอื่น ๆ ตามที่แต่ละองค์กรกำหนด เช่น ลาคลอด ลาทำหมัน ลารับราชการทหาร ลาบวช ฯลฯ ซึ่งการลาป่วยปกติแล้วจะสามารถลาได้เมื่อพนักงานมีอาการเจ็บป่วยจนรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จุดประสงค์สำคัญเพื่อให้ได้เข้ารับการรักษาตามอาการและพักผ่อนอย่างเหมาะสม เพื่อการมีสุขภาพที่ดี พร้อมกลับมาทำงานให้กับองค์กรได้แบบเต็มที่เหมือนเดิม
20 ข้อ การลาป่วยที่พนักงานทุกคนต้องรู้
1. พนักงานมีสิทธิลาป่วยตามการเจ็บป่วยจริง สามารถลากี่วันก็ได้หากการเจ็บป่วยดังกล่าวเป็นเรื่องจริง
2. สิทธิในการลาป่วยสามารถลาได้ทุกกรณี ไม่กำหนดแค่การป่วยหนัก
3. การลาป่วย 1 วัน หรือ 2 วัน ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์
4. การลาป่วยตั้งแต่ 3 วัน องค์กรอาจขอให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์ได้เพื่อยืนยันการเจ็บป่วยดังกล่าว
5. ใบรับรองแพทย์จะเป็นของคลินิกหรือโรงพยาบาลก็ได้ แต่แพทย์ต้องเป็นผู้รับรอง
6. ทั้งนี้กรณีใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยสถานพยาบาลของรัฐ ผู้รับรองอาจเป็นเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข โดยไม่ใช่แพทย์ก็ได้
7. การออกข้อบังคับ กฎระเบียบขององค์กรว่าการลาป่วยทุกกรณีต้องมีใบรับรองแพทย์ยืนยัน ถือว่าเป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
8. กรณีลาป่วยมากกว่า 3 วันขึ้นไป แม้ไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แต่กฎหมายกำหนดให้ลูกจ้างสามารถชี้แจงได้ ทั้งนี้อาจต้องใช้หลักฐานเพื่อบ่งบอกการเจ็บป่วย เช่น ภาพถ่ายแสดงถึงอาการป่วย ใบเสร็จค่ายา ค่ารักษาพยาบาล พยานบุคคลยืนยัน ใบรับรองแพทย์แผนไทย แผนจีนที่เข้ารับการรักษา ซองยาจ่าหน้าซอง ระบุวันที่จ่ายยา หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าตนเองป่วย
9. กรณีลาเพื่อไปตรวจร่างกาย หรือลาเพื่อติดตามอาการตามแพทย์นัดเมื่อรักษาหายแล้ว ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลาป่วยได้ เพราะไม่ถือเป็นการเจ็บป่วย
10. แพทย์มีการเจ็บป่วย สามารถออกใบรับรองแพทย์ให้ตัวเองได้
11. การลาป่วยตรงกับวันหยุด องค์กรมีสิทธิ์นับวันลาป่วยเฉพาะที่ไม่ใช่วันหยุดเท่านั้น ให้นับวันลาป่วยเฉพาะเท่านั้น เพราะวันหยุดไม่ลาก็มีสิทธิหยุดอยู่แล้ว
12. องค์กรไม่มีสิทธิ์ในการออกข้อบังคับห้ามลาป่วยปิดหัวหรือปิดท้ายวันหยุด เพราะหากป่วยจริงพนักงานย่อมมีสิทธิลา
13. การลาป่วยเท็จ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ หากเกิน 3 วันนายจ้างมีสิทธิ์เลิกจ้างได้
14. การลาป่วยบ่อยหรือถี่ติดต่อกันเกินไป สามารถถูกมองเป็นการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน องค์กรจึงมีสิทธิ์เลิกจ้างได้ แต่พนักงานมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย
15. หากพนักงานลาป่วยไม่เกิน 30 วัน ยังคงมีสิทธิได้ค่าจ้างตามปกติ แต่ถ้าเกิน 30 วัน ก็ยังมีสิทธิลาป่วยแต่จะไม่ได้รับเงินค่าจ้าง
16. การลาป่วยไม่เกิน 30 วัน มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดที่อยู่ในช่วง 30 วัน แต่ถ้าลาป่วยเกิน 30 วัน แล้วมีวันหยุดในระหว่างที่ลาเกิน 30 วันนั้น จะไม่ได้ค่าจ้างในวันหยุดถือว่าไม่มีวันหยุดแล้ว (วันหยุดต้องมีในวันทำงานจริง)
17. องค์กรสามารถตกลงจ่ายค่าจ้างกรณีลาเกิน 30 วันได้ เพราะถือเป็นรูปแบบการจ้างงานที่พนักงานได้รับประโยชน์
18. กรณีองค์กรสงสัยว่าพนักงานลาป่วยเท็จ องค์กรมีสิทธิ์สอบสวนหาข้อเท็จจริงได้
19. หลังการลาป่วย เมื่อพนักงานกลับมาทำงานตามปกติแล้วต้องยื่นใบลาเพื่อให้ฝ่าย HR นายจ้าง หรือผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับมอบอำนาจเป็นผู้อนุมัติ
20. หากองค์กรไม่ปฏิบัติเรื่องการลาป่วยอาจเป็นได้ทั้งการมีโทษอาญาและ ไม่มีโทษอาญา
อ่านเพิ่มเติม: ห้ามลาพักร้อน ลากิจเกิน 3 วันต่อเดือน บริษัทตั้งกฎแบบนี้ได้ไหม
บทสรุป
การลาป่วยทั้ง 20 ข้อ ที่ระบุมานี้เป็นเรื่องที่ทั้งพนักงานและองค์กรต้องรู้ไว้เพื่อการปฏิบัติตามอย่างเหมาะสม ซึ่งบางเรื่องหลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน ดังนั้นเมื่อมีอาการป่วยก็สามารถทำตามข้อมูลดังกล่าวได้แบบไม่ต้องกังวลใจ ขณะที่ฝ่าย HR หากกำลังปวดหัวเรื่องจำนวนวันลาต่าง ๆ ของพนักงาน โปรแกรม HR จาก Byte HR ยินดีเป็นผู้ช่วยให้การ