6 วิธีปล่อยทีมให้ดิ้นรนอย่างไรให้ได้ดี


team


ในบริบทขององค์กร ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมและส่งเสริมการเติบโตของทีม ซึ่งเราทุกคนคงทราบดีว่าการมอบหมายงานให้คนในทีมมีความสำคัญเพียงใด บ่อยครั้งที่ผู้นำเชื่อว่าการเป็นหัวหน้าที่ดี คือ การรับบทบาทเป็นผู้ดูแล ปกป้องทีมจากความท้าทาย เช่น คุณอาจเป็นผู้นำทีมที่ทุกคนรัก เปรียบเสมือนแม่ของทีม ที่มักจะบอกทุกคนว่า "ฉันเป็นคนเดียวที่สามารถทำงานนี้ได้" หรือ "หากโครงการนี้ไม่ราบรื่น ทั้งทีมจะต้องเดือดร้อน" และเอางานส่วนใหญ่มาทำเอง

หรือ ตอนนี้คุณกำลังนึกถึงเจ้านายหรือหัวหน้าทีมบางคนที่มีลักษณะแบบนี้ เป็นต้นว่า ทีมอื่นจะโยนงานมาให้ ก็กระโดดป้องปัดให้ทีมก่อน เพราะคิดว่านั่นคือการแสดงความเอาใจใส่คนในทีม แม้ว่าวิธีนี้ดูๆ แล้วเหมือนเป็นเรื่องที่ดี แต่มันก็สามารถขัดขวางการเติบโตและจำกัดการพัฒนาของคนในทีม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความยืดหยุ่นในการทำงาน หรือทักษะการคิดแก้ปัญหาต่างๆ


การปล่อยให้ทีมของคุณเผชิญหน้าและทำงานผ่านความยากลำบากสามารถเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการช่วยคนในทีมให้พัฒนาทั้งในเรื่องส่วนตัวและสายอาชีพไปพร้อมๆ กัน 


ในบทความนี้ ByteHR จะมาพูดถึงแนวความคิดที่ท้าทายสัญชาตญาณของการปกป้องทีมที่มากเกินไป และแนะนำถึงวิธีการที่คุณสามารถทำตามได้ เพื่อช่วยให้คนในทีมต่อสู้ดิ้นรนกับปัญหา และเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มาลองวิธีต่อไปนี้ดู


1. ยอมรับด้านที่อ่อนแอของคนในทีม: สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยที่ทีมของคุณรู้สึกสบายใจที่จะแบ่งปันการต่อสู้และความล้มเหลวโดยไม่ต้องกลัวการโดนต่อว่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้พวกเขารู้จักยอมรับข้อด้อยเพื่อพัฒนาตนเองมากกว่าที่จะพยายามปกปิดมันไว้



2. ให้อิสระ: ให้อิสระและเวลาแก่ทีมของคุณในการฝ่าฟันความท้าทายต่างๆ สิ่งนี้ไม่เพียงเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา แต่ยังทำให้พนักงานรู้สึกว่าสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตนเอง และพัฒนาความรับผิดชอบอีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของพนักงานของคุณคือการพัฒนาทักษะการพรีเซ้นงานที่ดีขึ้น ลองให้พวกเขาเริ่มรับผิดชอบงานใหม่ๆ เริ่มจากง่ายไปยาก เช่น เริ่มจากขอให้พวกเขาเป็นผู้นำการประชุมพนักงานครั้งต่อไป ก่อนเขยิบไปให้รับผิดชอบงานที่ท้าทายขึ้น เช่น การจัดการประชุมกับลูกค้า แล้วลองท้าทายพวกเขาใช้เครื่องมือหรือวิธีกระบวนการทำงานใหม่ๆ เป็นต้น


team2


5. ติชมอย่างสร้างสรรค์

คำติชมเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการเติบโต คำติชมที่สร้างสรรค์สามารถช่วยสมาชิกในทีมระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของพวกเขา ทำให้พวกเขาเข้าใจว่าพวกเขาต้องปรับปรุงในจุดใดบ้าง และหาวิธีการรับมือกับความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งคำติชมควรมีความเฉพาะเจาะจง นำไปปฏิบัติได้ และนำเสนอด้วยเจตนาเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการเติบโต ไม่ใช่เพื่อวิจารณ์หรือบั่นทอนความเชื่อมั่น


6. สร้างความยืดหยุ่นผ่านการต่อสู้กับความท้าทาย

เมื่อคนในทีมสามารถเอาชนะความยากลำบากได้ ก็จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆในการทำงานได้ดีขึ้น เหมือนปลดล็อคผ่านด่านเกมส์ในแต่ละเลเวล ทีมที่มีความยืดหยุ่นนั้นสามารถรับมือกับความเครียด ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง และทำงานภายใต้ความกดดันได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น สิ่งที่ผู้นำควรทำคือ แนะนำคนในทีมให้ดึงบทเรียนจากประสบการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยถึงสิ่งที่ผิดพลาด สิ่งที่เป็นไปด้วยดี และสิ่งที่สามารถทำได้แตกต่างออกไปในครั้งต่อไป 


สุดท้าย การฝึกความเมตตาสำหรับผู้นำไม่ได้หมายถึงการอดทนต่อความผิดพลาดโดยประมาทของพนักงาน แต่หมายถึงการเสนอความเข้าใจและการช่วยเหลือต่อคนในทีมที่ยังต้องการการพัฒนา แม้จะต้องดูห่างๆ อย่างห่วงๆ แต่นั่นคือสิ่งที่ทำให้ทั้งผู้นำและคนในทีมเติบโตไปพร้อมกัน

นอกเหนือจากการบริหารจัดการคนในทีมแล้ว การจัดการข้อมูลของคนในองค์กรไม่ควรเป็นเรื่องที่ต้องปล่อยให้ใครมาดิ้นรน เพราะ ByteHR มีระบบ จัดการเงินเดือน โปรแกรม HR On Cloud ที่รองรับธุรกิจทุกประเภท ซึ่งสามารถจัดทำรายงานเอกสารราชการในโปรแกรม เงินเดือนทั้งรายเดือนและรายปีรวมทั้งภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, สปส. 1-10, 50 ทวิ, กท20 เป็นต้น พร้อมรองรับการส่งทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

สามารถสร้างรายงานมาตรฐาน เช่น สรุปการจ่ายเงินเดือน, รายละเอียดเงินได้ เงินหักต่างๆ,การหักภาษีและอื่น ๆ 

นอกจากนี้รูปแบบรายงานทั้งหมดที่สามารถสร้างได้เองตามคอลัมน์ที่ต้องการ รวมถึงนำออกเป็นไฟล์ Excel และ PDF

หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้ระบบการจ่ายเงินเดือนพนักงานออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถปรึกษา ByteHR ฟรีได้ทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com


Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด