7 คำถามที่ควรถามตัวเองหากคุณคิดจะเปลี่ยนงานในช่วง COVID-19


1. ฉันอยากเปลี่ยนสายงาน หรือ แค่ไม่ชอบช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19


คุณอาจเป็นคนหนึ่งที่คิดอยากเปลี่ยนงานมาสักพักแล้ว หรือกำลังมองหาเส้นทางใหม่ๆ เพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในยุคโควิด เพราะการทำงานรูปแบบใหม่ที่ทำจากที่บ้านอาจทำให้คุณรู้สึกว่าคุณสามารถทำงานได้ดีกว่า หรืออาจจะรู้สึกไม่กระตือรือร้นกับงานอีกต่อไป ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติที่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกความไม่แน่นอนรอบตัวตอนนี้ทำให้คุณไม่แน่ใจว่าควรจะตัดสินใจอย่างไรดี
วันนี้ ByteHR จึงมีลิสคำถามให้คุณได้เช็คตัวเองก่อนที่จะตัดสินใจย้ายสายงาน
  


7 คำถามที่ควรถามตัวเองหากคุณคิดจะเปลี่ยนงานในช่วง COVID-19



สิ่งสำคัญคือ คุณต้องคิดให้ดีก่อนว่าเหตุใดคุณจึงรู้สึกว่าต้องการเปลี่ยนงานในช่วงนี้ หรือแค่อยากแก้ไขปัญหาชั่วคราวกันแน่


หากคุณเพิ่งมารู้สึกไม่โอเคกับงานปัจจุบันที่ทำ หลังจากที่ต้องปรับตัวมาทำงานที่บ้านหรือในช่วงที่ COVID-19 ระบาด สาเหตุที่แท้จริงอาจจะไม่ใช่งานแต่เป็นสภาวการณ์ที่ทำให้คุณเครียดมากกว่า



2. ฉันไม่มีความสุขกับงานหรืออาชีพของฉัน

ลองนึกถึงวิธีการทำงานช่วงก่อนที่เกิดการระบาดและหาปรับตัวหาวิธีการทำงานแบบใหม่ให้เหมาะกับเรามากที่สุด อย่างเช่น คนที่เป็นครูอาจพบว่าตัวเองกำลังดิ้นรนกับการเรียนรู้เครื่องมือและวิธีการใหม่ๆเพื่อสอนรูปแบบออนไลน์ ถ้าคุณรักการสอนมาตลอด คุณก็จะสามารถค่อยๆปรับตัวต่อไปได้ ในทางกลับกัน หากคุณรู้สึกท้อแท้กับอาชีพนี้อยู่แล้ว และการระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้ความรู้สึกตรงนี้เด่นชัดขึ้น นี่อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้วที่คุณจะลองสำรวจหาแนวทางอาชีพใหม่ ๆ


3. ฉันกำลังมองหาอะไรในสายงานใหม่ของฉัน?


4. สภาพจิตใจและอารมณ์ของฉันตอนนี้เป็นอย่างไร?


5. ฉันเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสองเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตในเวลาเดียวกันหรือไม่?


6. ฉันมีเงินสำรองมากพอเพื่อพยุงตัวเองช่วงเปลี่ยนงานหรือไม่?


7. แนวโน้มระยะยาวสำหรับสายงานที่ทำอยู่จะเป็นไปในทิศทางไหน?


7 คำถามที่ควรถามตัวเองหากคุณคิดจะเปลี่ยนงานในช่วง COVID-19

COVID-19 ก็ยังมีความรุนแรงขึ้นในหลายๆพื้นที่ บางทีคุณอาจรู้สึกว่าที่ทำงานหรือที่บริษัทไม่ค่อยเห็นคุณค่าของคุณ และต้องดิ้นรนเพื่อทำงานกับเจ้านายอย่างยากลำบากเมื่อต้องทำงานจากที่บ้าน หรือบางทีคุณอาจเริ่มรู้สึกไม่พอใจกับทิศทางของทีมหรือภาระงานที่ได้รับมาก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 ทำให้ความรู้สึกไม่มีความสุขตกตะกอนมากขึ้น



แต่จำไว้ว่าการรู้สึกไม่มีความสุขในงานปัจจุบันไม่ได้แปลว่าคุณต้องเปลี่ยนงานซะทีเดียว ในบางกรณีอาจเป็นเนื้องาน ผู้จัดการทีมหรือบริษัทที่คุณไม่พอใจ และสิ่งที่คุณต้องการคืองานใหม่ในสายงานของคุณในองค์กรอื่น พยายามซื่อสัตย์กับตัวเองว่าปัญหาที่ผลักให้คุณออกจากงานปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในที่อื่นหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้การเปลี่ยนอาชีพอาจไม่ใช่คำตอบที่คุณกำลังค้นหา




ลองถามตัวเองก่อนว่าคุณต้องการอะไรในสายงานใหม่ที่คุณอยากจะเปลี่ยน มากกว่าการคิดถึงสิ่งที่คุณจะพยายามทิ้งไว้เบื้องหลัง ตัวอย่างเช่น คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้สร้างความแตกต่างในอาชีพปัจจุบันเลย ถ้าอย่างนั้นแทนที่จะมัวแต่คิดถึงจุดนี้ ให้ถามตัวเองว่าสายงานไหนที่จะทำให้คุณรู้สึกว่าคุณสามารถสร้างความแตกต่างได้และสามารถจินตนาการว่าตัวเองสามารถเดินไปในเส้นทางนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



หากคุณรู้สึกตื่นเต้นกับเส้นทางอาชีพใหม่ของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเส้นทางที่คุณต้องการมานานแล้ว คุณอาจพร้อมที่จะใช้เครื่องมือและกลยุทธ์ที่คุณได้เรียนรู้ในอาชีพปัจจุบันและนำไปใช้ เพื่อเริ่มต้นการผจญภัยในสายอาชีพใหม่




7 คำถามที่ควรถามตัวเองหากคุณคิดจะเปลี่ยนงานในช่วง COVID-19


การมีชีวิตอยู่ท่ามกลางโรคระบาดอาจสร้างความหดหู่และซึมเศร้าให้กับใครหลายคน แน่นอนว่าเรายังไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนและเป็นไปได้สูงว่าเราจะมีภาวะที่เอาอารมณ์มาเหนือเหตุผล จนพาลคิดไปว่าทางออกของความเศร้านี้คือการเปลี่ยนงาน



ลองซื่อสัตย์กับตัวเองและถามตัวเองว่าคุณจัดการกับสิ่งต่างๆอย่างไร?


วันนี้คุณอาจรู้สึกตกต่ำไม่มีทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีแรงจูงใจหรือหยุดนิ่ง แต่นั่นมันเป็นเพราะสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่าความต้องการเปลี่ยนแปลงในอาชีพของคุณรึเปล่า



ในขณะที่คุณตัดสินใจว่าอยากย้ายสายงาน คุณกำลังอยู่ในภาวะความกดดันทางอารมณ์ หรือดื่มแอลกอฮอลล์อยู่หรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวรั้งความนึกคิดให้หุนหัน มากกว่าคิดให้รอบคอบด้วยเหตุผล


ฉะนั้นอย่าเพิ่งตัดสินใจ หาดคุณยังอยู่ในสภาวะอารมณ์ที่ไม่มั่นคง และรอดูสถานการณ์จนกว่าจะคิดให้แน่ใจแล้วว่า นี่คือสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ





เราทุกคนต่างมีความหวังว่า เมื่อเปลี่ยนงานแล้ว เราจะไปพบกับสิ่งที่ดีกว่าเดิม แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป


การเปลี่ยนงาน และการเปลี่ยนสายงานเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ถ้าคิดจะเปลี่ยน ถามว่าตอนนี้คุณพร้อมรับมือกับความเครียดอื่นๆที่ COVID-19 นำมาด้วยหรือไม่?



ตัวอย่างเช่น อาจเป็นเรื่องยากที่บริษัทจะเปิดรับคนที่เปลี่ยนสายงานมา เพราะช่วงนี้คนก็ตกงานกันเยอะและเด็กจบใหม่ก็แย่งงานกันอย่างดุเดือด และการเข้าบริษัทใหม่ในช่วงที่หลายที่ให้ทำงานจากที่บ้านก็จะทำให้การสร้างความสัมพันธ์กับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานใหม่เป็นไปได้ยากขึ้น



หากคิดดูแล้ว คุณรู้สึกว่าการเปลี่ยนงานช่วงนี้อาจเพิ่มความเครียดให้คุณมากเกินไปและยังไม่พร้อมจะเสี่ยง คุณก็ควรชะลอการตัดสินใจเรื่องนี้เอาไว้ก่อน




7 คำถามที่ควรถามตัวเองหากคุณคิดจะเปลี่ยนงานในช่วง COVID-19


เงินสำรองเป็นเรื่องสำคัญมาก ลองนึกถึงผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงอาชีพที่คุณต้องการทำในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ คุณควรพิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยมีความเสี่ยงเพียงใดและ คุณสามารถรับความเสี่ยงนั้นได้หรือไม่



หากคุณสูญเสียรายได้ไประยะหนึ่งหรือคาดว่าจะได้รับการลดเงินเดือนจากการที่ต้องย้ายสายงาน คุณสามารถปรับค่าใช้จ่ายหรือพึ่งพาเงินออมได้หรือไม่?




อุตสาหกรรมบางประเภทได้รับผลกระทบหนักกว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นการค้าปลีก การขนส่ง งานโรงแรมและงานบริการ หากคุณคาดว่าจะต้องใช้เวลานานกว่าที่อุตสาหกรรมของคุณจะกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง หรือมันคงจะอีกนานหากงานที่คุณเคยทำมาก่อนหน้านี้จะกลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้ง


คุณควรมองหาวิธีที่คุณสามารถใช้ทักษะและประสบการณ์ในรูปแบบใหม่ ในทิศทางที่ต่างออกไปสักสองสามปีโดยมีแผนที่จะกลับไปที่สายงานปัจจุบันของคุณเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น



เมื่อคุณตอบคำถามเหล่านี้แล้วคุณจะเข้าใจแรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังความต้องการเปลี่ยนอาชีพได้ดีขึ้น


คุณอาจตัดสินใจที่จะอยู่ในงานหรือสายงานปัจจุบันของคุณต่อไป หรือคุณอาจตัดสินใจว่าตอนนี้เป็นเวลาที่เหมาะสำหรับคุณในการสำรวจเส้นทางอาชีพใหม่ Bytechrunch ขอเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปด้วยกันนะคะ



Image credit : www.freepik.com

« เราจะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่พร้อมกับใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้อย่างไรWFH อย่างไรให้ไม่ทำลายความสัมพันธ์ของคุณ »
Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด