ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย สำหรับเจ้าของกิจการมือใหม่

เมื่อเริ่มต้นกิจการใหม่ ไม่มีใครหนีพ้นจากการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะการทำรายรับ-รายจ่ายทำให้เรารู้ยอดเงินเข้า ออก ผลกำไร-ขาดทุนจากการประกอบการ ใช้วางแผนและควบคุมการบริหารภายในกิจการ รวมถึงใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน เช่น การกู้เงินเพื่อขยายสาขา เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการแสดงรายได้และรายจ่ายเพื่อประกอบการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย

แต่ก็มีเจ้าของธุรกิจจำนวนมากที่ไม่เห็นความสำคัญของการทำบัญชีที่ถูกต้องจนนำพาไปสู่คำที่เรามักได้ยินกันว่า “ขายดีจนเจ๊ง” ที่ดูแล้วเหมือนธุรกิจจะขายดีและไปได้ดี แต่ลืมคำนวณต้นทุนแฝงต่างๆ หรือบันทึกบัญชีให้ถูกต้องจนธุรกิจล่มไปในที่สุด

วันนี้ ByteCrunch จึงจะมาแจกแจง ขั้นตอนและวิธีทำบัญชีรายรับ รายจ่ายที่ถูกต้องตามหลักสรรพากรมีดังนี้



account-balance


  1. ทำรายงานบัญชีตามที่สรรพากรกำหนด (ตัวอย่างของรายงานการทำบัญชีที่ถูกต้อง สามารถเข้าไปโหลดได้ที่นี่) ทั้งนี้สามารถเพิ่มช่องรายการตามลักษณะของกิจการได้

  2. จัดทำเป็นภาษาไทย หากเป็นภาษาต่างชาติ ต้องมีภาษาไทยกำกับ

  3. ต้องลงรายงานภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่มีรายรับ-รายจ่าย

  4. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย

            - ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกํากับภาษี ฯลฯ 

            - รายรับ-รายจ่ายที่นำมาลงต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของธุรกิจเท่านั้น ไม่รวมกับรายจ่ายส่วนตัว

          - สําหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนํามาลงเป็นต้นทุนของสินค้าหรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจํานวน เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

            - หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการในวันที่ได้รับชําระหรือวันที่จ่ายชําระค่าสินค้า/บริการนั้น โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ



expense-receipt


    5. สรุปยอดรายรับ-รายจ่ายทุกเดือนเพื่อใช้เป็นเอกสารยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

    6. การนำยอดรายรับ-รายจ่าย ไปยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


เจ้าของธุรกิจที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) หรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) สามารถนำรายรับจากรายงานเงินสดรับ-จ่ายมาแสดงเป็นยอดเงินได้พึงประเมินจากการประกอบกิจการ และสามารถเลือกนำรายจ่ายตามรายงานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายจริงแทนการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ ทั้งนี้รายจ่ายดังกล่าวต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ สำหรับการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ตามที่กฎหมายกำหนด

    7. หากเจ้าของกิจการไม่ได้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อยื่นสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ จะมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามกฎหมาย


document folders


นอกจากทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสำหรับกิจกรรมทั่วไปของธุรกิจแล้ว เงินเดือนของพนักงานก็นับเป็นหนึ่งในรายจ่ายที่ใหญ่ที่สุดของเกือบทุกบริษัท เจ้าของกิจการเองก็ต้องคำนึงถึงการทำเงินเดือน หักภาษี รวมถึงสลิปเงินเดือนที่มีข้อมูลที่ถูกต้อง 

แม้การทำข้อมูลพนักงาน รวมไปถึงการทำจ่ายเงินเดือนมีรายละเอียดที่ซับซ้อนกว่าการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย แต่เจ้าของธุรกิจหลายรายได้ละเลยการเก็บข้อมูลลูกจ้าง ข้อมูลการทำเงินเดือน รวมไปถึงการทำหักจ่ายภาษีที่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาย้อนหลังตามมา ไม่ว่าจะเป็นการสูญหายของข้อมูลที่ถูกบันทึกลงบนกระดาษ หรือการลงข้อมูลเข้า-ออกกะงานของลูกจ้างที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง รวมไปถึงการหักภาษีที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาเหล่านี้จะทำให้เจ้าของธุรกิจและผู้รับผิดชอบต้องเสียเวลาเพิ่มในการค้นหาข้อมูล หรือตามแก้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไป ไม่คุ้มแน่หากจะต้องเสียเวลาแก้ไขข้อมูลซ้ำซ้อน 

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 


ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Khun Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด