ความแตกต่างระหว่างการชอบ-รักในงานที่คุณทำ
คุณคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ถ้าคุณรักในงานที่ทำ คุณจะไม่รู้สึกว่าต้องทำงานเลยสักวันเดียว” กับ
ประโยคขัดแย้งที่ว่า “คุณเอาสิ่งที่รักมาทำเป็นงานไม่ได้หรอก เพราะสุดท้ายแล้วคุณจะเกลียดมัน”
เราเชื่อว่าหลายคนคงเคยจินตนาการบ้างว่า หากคุณสามารถเลี้ยงชีพได้ด้วยการทำสิ่งที่คุณชอบ เช่น เล่นดนตรี จัดดอกได้ ทำขนม ชงกาแฟ คงจะดีไม่น้อย แต่เมื่อย้อนกลับมาสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะเลี้ยงชีพได้จากงานอดิเรกเพียงอย่างเดียวได้ ยกเว้นคุณจะมีความสามารถในสาขาเฉพาะทางที่พิเศษจริงๆ และหลายคนอาจจะเคยลองผันเอางานอดิเรกมาหาเลี้ยงชีพและพบกับความเครียดที่ต้องคาดหวังให้สิ่งที่ตนชอบทำเงินให้มากพอต่อการเลี้ยงชีพ จนวันหนึ่งกลายเป็นเกลียดสิ่งนั้นไปในที่สุด
สำหรับคนที่เดินทางสายกลางด้วยการทำงานที่เรารู้สึกพอใจกับมันในระดับหนึ่ง แต่อาจจะไม่ได้ชอบที่สุด วันนี้ ByteHR มีคำแนะนำถึงทางที่คุณจะสามารถรักงานที่คุณทำมากขึ้นและผลของมันจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคุณเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
เราอาจจะสงสัยว่า การชอบงานของตัวเองทำให้ทุกอย่างในการทำงานดีขึ้นได้อย่างไร?
จากมุมมองสมัยใหม่ของชาวตะวันตก งานในอุดมคติของคุณคืองานที่คุณรัก โดยงานวิจัยหลายชิ้นได้ทำการทดสอบแล้วว่า การรักงานในงานที่ทำมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับสิ่งต่างๆ เช่น คนที่รักงานมีแนวโน้มที่จะมีความสุขในการทำงานสูงขึ้น
งานวิจัยโดย Kelloway et al ในปี 2010 ได้พูดถึงปัจจัยความรักในงานของคนเรา โดยอิงตามทฤษฎีความรัก “สามเหลี่ยม” ปี 1986 ของ Sternberg โดยทฤษฎีนี้กล่าวว่าความรักที่คุณมีต่อบางสิ่งนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ ความหลงใหล ความมุ่งมั่น และความสัมพันธ์ที่ดี
งานของ Kelloway ได้อธิบายว่าส่วนประกอบเหล่านี้คือ สภาพแวดล้อมการทำงานที่หล่อหลอมให้คุณ “รักงานของคุณ”
อันดับแรก “ความหลงใหล” (Passion)
ระดับความหลงใหลในงานของคุณจะสัมพันธ์กับระดับของความหมกมุ่นในงานของคุณ รวมถึงองค์ประกอบทางอารมณ์และทัศนคติเชิงบวกต่องานนั้นๆ เช่น คุณมีส่วนร่วมในโปรเจ็คนั้นมากขนาดไหน หากคุณเป็นคนที่ดีลงานนั้นตั้งแต่ต้นและผลงานเกือบทั้งหมดของโปรเจ็คนั้นเกิดจากความทุ่มเทของคุณ คุณก็คือคนที่มีความหมกมุ่นในงานชิ้นนั้นมากราวกับแม่ไก่ดูแลไข่ที่กำลังฟัก
อับดับที่สอง ความมุ่งมั่น (Commitment)
Meyer & Allen (1997) ได้อธิบายไว้ว่า ความมุ่งมั่น (Commitment) หมายถึง การแสดงให้เห็นว่าคุณต้องการอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรืออยู่ในอาชีพที่คุณเลือกมากแค่ไหน หากคุณคิดว่าคุณมีทางเลือกในวิชาชีพที่หลากหลาย แต่คุณก็ยังเลือกที่จะอยู่องค์กรปัจจุบัน หรือยึดอยู่กับสายงานที่คุณทำ แสดงว่าคุณเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในระดับสูง ส่วนคนที่มีระดับความมุ่งมั่นในระดับต่ำ มักเกิดจากการขาดทางเลือกอื่นหรือความรู้สึกผูกพันที่จะอยู่ในองค์กรปัจจุบันและสายงานของตน เพราะมันยากที่จะรักบางสิ่งที่คุณรู้สึกว่าคุณแค่ “จำต้องทำ”
Kelloway et al กล่าวว่า ถึงแม้ทั้ง “ความมุ่งมั่น” และ “ความหลงใหล” จะเกี่ยวข้องกับความผูกพันในงานของคุณ แต่องค์ประกอบที่ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นนั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น คุณสามารถรู้สึก “กระตือรือร้น” ที่จะทำงาน แต่ไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กรก็เป็นได้ แต่หากคุณไม่มีทั้งสองสิ่งนี้เลย คุณก็คงไม่สามารถรักงานของคุณได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยที่สาม “ความสัมพันธ์ที่ดี” (Connectedness)
ความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ที่ก่อเกิดจากความไว้วางใจและการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นปัจจัยที่เอื้อต่ออารมณ์เชิงบวกและมิตรภาพในที่ทำงาน โดยจะช่วยขจัดความเครียดและช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่คนเรามีกับเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน
คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมักใช้วันลาเพิ่มโดยเฉลี่ย 1.5 วันต่อปี ในขณะคนที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่ำมักจะลางานโดยเฉลี่ย 6 วันต่อปี ซึ่งเราเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจนเกือบ 1 สัปดาห์เลยทีเดียว
รูปแบบความสัมพันธ์ และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีรากฐานมาจากองค์กรที่สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความยุติธรรม ซึ่งพนักงานทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาระบบและการทำงานในองค์กรร่วมกัน
องค์ประกอบทั้งสามประการของ “ความหลงใหล” “ความมุ่งมั่น” และ “ความสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน” หลอมรวมเป็นพื้นฐานของคนที่มีความรู้สึกว่ารักในงานของตนเอง และความรู้สึกนี้จะยิ่งมั่นคงขึ้นตามกาลเวลา เพราะการรักในงานไม่ใช่แค่ความสุขในการทำงานให้เสร็จ มันเกี่ยวกับการรู้สึกถึงบางอย่างที่อยู่ลึกลงไปในนั้น เมื่อสิ่งที่คุณรักสิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับงานของคุณ มันจะกลายเป็นความรู้สึกที่มั่นคงและสม่ำเสมอ
องค์ประกอบของความสุขในการทำงานล้วนเชื่อมโยงกัน ดังนั้นเมื่อองค์ประกอบหนึ่งเฟื่องฟู ก็มีแนวโน้มที่จะมีอิทธิพลต่อส่วนอื่น ๆ และในทำนองเดียวกันหากองค์ประกอบไม่ดีส่วนประกอบอื่น ๆ ก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น หากที่ทำงานของคุณมีวัฒนธรรมที่ไม่ยุติธรรมเป็นไปได้ว่าคุณอาจมีไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ทำให้คุณรู้สึกรักงานของคุณน้อยลง
อ่านมาถึงตอนนี้คุณอาจได้คำตอบในใจแล้วว่า “คุณรักงานของคุณหรือไม่”? และถ้าไม่ ตอนนี้คุณอาจพบคำตอบแล้วว่า คุณอาจต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อให้คุณสามารถรักมันได้ และเพิ่มทั้งประสิทธิภาพในการทำงานและความสุขไปพร้อมกัน
Image credit : www.pixabay.com