หักภาษี ณ ที่จ่าย เรื่องอะไรที่ควรรู้?
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
- กรมสรรพากร -
การที่รัฐบาลหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็เพื่อที่ภาครัฐจะเก็บภาษีจากประชาชนได้เมื่อประชาชนมีรายได้นั่นเอง โดยประชาชนทั้งบริษัทและผู้มีรายได้ จำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่อง หักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับบริษัท คือการทำตามกฎหมายให้ถูกต้อง ส่วนผู้มีรายได้ก็ต้องคำนวณรายได้เพื่อยื่นภาษีอีกที
หักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับนายจ้าง
การจ่ายเงินเดือน (เงินได้ประเภทที่ 1) โดยคำนวณภาษีจากเงินเดือนที่ได้รับรายปี ซึ่งรวมไปถึงค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน ตลอดปี และนำไปหารกับจำนวนงวดที่จ่าย
ภาษีที่คำนวณได้ / คำนวณงวด = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ตัวอย่าง
ค่าภาษีทั้งปีของพนักงานอยู่ที่ 12,000 บาท ซึ่งบริษัทจ่ายเป็นรายเดือน เท่ากับ 12 งวด เท่ากับว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายแต่ละเดือนคือ 1,000 บาท
ในบางกรณี นายจ้างจะถูกกำหนดให้หักภาษี ณ ที่จ่ายตอนที่ลูกจ้างรับเงิน แล้วค่อยส่งเงินภาษีให้กรมสรรพากร และในบางกรณีก็ไม่ได้กำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของบุคคลและประเภทของเงินที่จ่าย
หากจำนวนเงินที่ต้องจ่ายทั้งหมดในสัญญานั้นน้อยกว่า 1,000 บาท ก็ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะกรณีไหนก็ตามผู้ถูกว่าจ้างจะได้รับหลักฐานการเสียภาษีซึ่งก็คือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
อัตราการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายของแต่ละประเภท (แบบที่พบกันทั่วไป)
ค่าจ้าง/เงินเดือน ต่ำสุด 0%
จ้างทำงานหรืองานบริการ ต่ำสุด 0%
เอกสารที่ใช้ในการนำส่ง - ภ.ง.ด.1
กำหนดจ่าย - ทุกวันที่ 7 ของเดือน ถ้าส่งออนไลน์คือทุกวันที่ 15
ผู้ที่ต้องจ่าย - บริษัท นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
จ้างทำสินค้า รับเหมาก่อสร้าง 3%
จ้างฟรีแลนซ์ 3%
ค่าเช่าอสังหา 5%
เอกสารที่ใช้ในการนำส่ง - ภ.ง.ด.3
กำหนดจ่าย - ทุกวันที่ 7 ของเดือน ถ้าส่งออนไลน์คือทุกวันที่ 15
ผู้ที่ต้องจ่าย - บริษัท นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
ค่าโฆษณา 2%
ค่าขนส่ง 1%
เอกสารที่ใช้ในการนำส่ง - ภ.ง.ด.53
กำหนดจ่าย - ทุกวันที่ 7 ของเดือน ถ้าส่งออนไลน์คือทุกวันที่ 15
ผู้ที่ต้องจ่าย - บริษัท นิติบุคคล บุคคลธรรมดา
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย
หากจ้างพนักงานชั่วคราวมาทำงานผลิตสินค้า บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่?
คำตอบ ปกติแล้วเงินได้ถึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) กิจการต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) (คำนวณภาษีอัตราก้าวหน้า) ซึ่งหากบริษัทจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาตลอดปีภาษีไม่เกิน 310,000 บาท ก็ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
เมื่อถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตอนรับค่าจ้างแล้วก็ไม่ต้องยื่นภาษี
คำตอบ ความเป็นจริงแล้วนั่นคือการจ่ายภาษีบางส่วนเท่านั้น คุณยังมีหน้าที่ๆต้องยื่นภาษีตามกฎหมาย ยกเว้นคุณจะได้รับการยกเว้นจากการจ่ายภาษี เช่น ดอกเบี้ยต่างๆ เงินปันผลจากหุ้น หรือกองทุนรวม เงินได้จากอสังหาริมทรัพย์
การทำเอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย มีขั้นตอนและความแตกต่างตามลักษณะธุรกิจ ลักษณะการจ้างงานและประเภทบุคคล รวมถึงเอกสาร และระยะเวลาที่ต้องใช้ยื่นด้วย คงเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับเจ้าของกิจการหลายๆ คนที่ต้องมาจัดการเรื่องเหล่านี้เอง
หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์ (โปรแกรมHR) อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com