วิธีคิดการปรับเงินเดือนพนักงาน
การปรับเงินเดือนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์การจ่ายผลตอบแทนขององค์กร จุดประสงค์เพื่อรักษาพนักงานเก่งๆ ขององค์กร หรือเพื่อแก้ไขความไม่เสมอภาคของค่าจ้าง การกำหนดจำนวนเงินและวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการปรับเงินเดือนนั้นต่างมีนัยสำคัญสำหรับทั้งพนักงานและธุรกิจ
องค์กรส่วนใหญ่ก็จะปรับเงินเดือนเพิ่มให้เมื่อพนักงานได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เพราะพนักงานจะต้องมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้นในตำแหน่งใหม่ โดยเฉลี่ยการปรับเงินเดือนจะอยู่ที่ 10-12 เปอร์เซ็นต์แต่ไม่เกินค่ากลาง ของกระบอกเงินเดือนถัดไป (กรณีที่บริษัทมีโครงสร้างเงินเดือน) แต่หากเป็นองค์กรเล็กอาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรจะคำนวณการปรับเงินเดือนพนักงานอย่างไร และมีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง
วันนี้ ByteHR จึงจะมาให้คำแนะนำที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการคำนวณการปรับเงินเดือนของพนักงานว่าคุณต้องรู้อะไรบ้าง
1. เข้าใจวัตถุประสงค์
ก่อนที่จะเริ่มคำนวณการปรับเงินเดือน เราต้องตั้งวัตถุประสงค์ก่อนว่าทำไมเราจึงควรปรับเงินเดือนพนักงาน เช่น
- ปรับตามค่าครองชีพ เพื่อให้พนักงานมีกำลังซื้อที่คงที่ แม้จะมีการผันผวนของอัตราเงินเฟ้อ
- ปรับเปลี่ยนตามผลงาน ทักษะ หรือ อายุงานของพนักงาน
- ปรับเงินเดือนตามตลาด เพราะเมื่อเงินเดือนของพนักงานต่ำกว่าอัตราตลาด โอกาสที่พนักงานจะลาออกไปทำงานที่อื่นก็มีสูงขึ้น ดังนั้นบริษัทอาจปรับฐานเงินเดือนให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมมากขึ้น
- ปรับเพื่อลดช่องความเหลื่อมล้ำในองค์กร เช่น ช่องว่างระหว่างเพศ แผนก หรือความเหลื่อมล้ำภายในอื่นๆ
2. รวบรวมข้อมูล:
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเงินเดือนปัจจุบันภายในองค์กรของคุณ อัตราเงินเดือนตามมาตรฐานอุตสาหกรรมในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- แบบสำรวจเงินเดือน: จัดทำแบบสำรวจเงินเดือนในกลุ่มของธุรกิจเดียวกันกับคุณว่าเขาจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานเท่าใดบ้าง ในแต่ละตำแหน่งหรือแผนกต่างๆ
- ประวัติบริษัท: ข้อมูลเงินเดือนในอดีต การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และการวิเคราะห์ส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กรเพื่อหาอัตราการปรับให้เหมาะสม
- อัตราเงินเฟ้อ: ดูทิศทางอัตราเงินเฟ้อและปรับเงินเดือนให้สอดคล้อง เพราะเมื่อเงินเฟ้อ อัตราค่าสินค้าและบริการก็สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพมากขึ้น
3. ตัดสินใจเลือกวิธีการปรับเงินเดือน
- การเพิ่มอัตราแบบคงที่: เป็นวิธีที่ตรงไปตรงมา โดยการเพิ่มจำนวนเงินคงเข้าไปในเงินเดือนของทุกคน
- การเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์: เงินเดือนของพนักงานจะเพิ่มขึ้นตามเปอร์เซ็นต์ที่แน่นอน ตัวอย่างเช่น หากต้องการปรับอัตราเงินเฟ้อ 3% คุณต้องเพิ่มเงินเดือนของพนักงานทุกคนตามจำนวนนั้น
- การเปรียบเทียบ: ใช้ข้อมูลจากแบบสำรวจเงินเดือนเพื่อกำหนดอัตราการแข่งขันสำหรับแต่ละตำแหน่ง
4. สูตรการปรับเงินเดือน
สูตรการปรับเงินเดือนตาม %
สมมุติว่าคุณต้องการปรับขึ้นเงินเดือนพนักงาน 20% โดยเงินเดือนพนักงานอยู่ที่ 30,000
เงินเดือน(30,000) x 0.2 = จำนวนเงินที่ปรับเพิ่มให้(6,000) = เงินเดือนใหม่ (36,000)
สูตรคำนวณว่าคุณได้ปรับเพิ่มเงินเดือนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
เงินเดือนใหม่ - เงินเดือนเก่า x 100 ÷ เงินเดือนเก่า = %
สมมุติว่าคุณเงินเดือน 35,000 บาท เดือนนี้ถูกปรับขึ้นเงินเดือนเป็น 36,750 บาท เท่ากับว่า เราได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น 36,750 - 35,000 x 100 ÷ 35,000 = 5%
การปรับแบบอัตราคงที่ (Flat Rate)
A ได้เงินเดือน 25,000 + ปรับขึ้นให้ 5,000 = เงินเดือนใหม่ 30,000 บาท (+ 20%)
B ได้เงินเดือน 3,5000 + ปรับขึ้นให้ 5,000 = เงินเดือนใหม่ 40,000 บาท (+29%)
เมื่อเทียบดูในสองลักษณะนี้แล้ว การปรับแบบอัตราคงที่อาจจะดูไม่ยุติธรรมสำหรับคนเงินเดือนมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่เกณฑ์การประเมินผลงานของพนักงาน รวมไปถึงโครงสร้างกระบอกเงินเดือนของพนักงานในแต่ละแผนกด้วย
5. พิจารณาเพดานเงินเดือน
ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ อาจมีเพดานการปรับเงินเดือนสูงสุด หรือขั้นต่ำ เพื่อกำหนดตามขั้นบันไดของตำแหน่งต่างๆ ในองค์กรให้เป็นธรรม เมื่อคุณต้องการปรับเงินเดือนพนักงานก็ควรตรวจสอบก่อนว่าองค์กรของคุณมีข้อกำหนดเหล่านี้ไหม และหาวิธีปรับเงินเดือนโดยไม่ละเมิดข้อจำกัดเหล่านี้
6. ตรวจสอบข้อมูลก่อนปรับเงินเดือน
ก่อนที่จะประกาศการขึ้นเงินเดือนอย่างเป็นทางการ สิ่งที่คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งมีดังนี้
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทมีความสามารถในการจ่ายเงินเดือนใหม่ได้
- ตรวจสอบว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนพนักงาน มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าการปรับเปลี่ยนมีความเท่าเทียมกันระหว่างแผนก เพศ และปัจจัยอื่นๆ
เมื่อตัดสินใจเสร็จสิ้นแล้ว ให้สื่อสารให้พนักงานทราบอย่างโปร่งใส ซึ่งไม่ใช่แค่ตัวเลขเงินเดือนใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเหตุผลเบื้องหลังการปรับด้วย เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงเกณฑ์การปรับเงินเดือน
สรุป
การปรับเงินเดือนมีความสำคัญต่อการรักษาขวัญและกำลังใจของพนักงาน ความเป็นธรรม และก้าวทันตลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งการจัดการข้อมูลในการทำเงินเดือนของพนักงานก็เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ในเรื่องการคำนวณและความถูกต้องของข้อมูล
หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยจัดการ การทำเงินเดือนในองค์กร ByteHR ก็มีโปรแกรมคำนวณเงินเดือน ที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและรวดเร็วมากกว่าเดิม แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมสำหรับ HR อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง 02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com
ByteHR มีโปรแกรมสำหรับ HR ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน การจัดการกะพนักงาน และบันทึกเวลาเข้าออกพนักงาน ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย