สลิปเงินเดือนพนักงานสัญญาจ้างหรือฟรีแลนซ์แตกต่างจากพนักงานประจำอย่างไร

เราได้พูดถึงเรื่องความสำคัญของสลิปเงินเดือนกันไปแล้วในโพสต์ก่อนหน้านี้ วันนี้ ByteHR จะเจาะลึกลงไปถึงความต่างระหว่างสลิปเงินเดือนพนักงานสัญญาจ้างหรือฟรีแลนซ์และพนักงานประจำให้ได้เข้าใจกันมากขึ้น


โดยปกติแล้วบริษัทต่างๆ จะไม่ออกสลิปเงินเดือนให้กับพนักงานสัญญาจ้างเพราะถือว่าไม่ใช่พนักงานประจำ แต่มักพบในต่างประเทศ เพราะมีการจ้างงานแบบรายชั่วโมง และแบบสัญญาจ้าง หรือแม้จะเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ เขาก็จะออกสลิปเงินเดือนมาให้ทุกเดือน โดยตีเป็นรายชั่วโมง หรือตามโปรเจคสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทเพื่อเป็นหลักฐานการทำงาน หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่อยากทำเอกสารในลักษณะนี้ก็สามารถนำฟอร์มต่อไปนี้ไปปรับใช้ได้เช่นกัน


ตัวอย่าง

contract-payslip


ตัวอย่างเช่น งานสัญญาจ้างที่จ่ายเป็นเรตรายชั่วโมง นายจ้างจะต้องมี Timesheet หรือระบบติดตามการเข้าออก-กะงานเพื่อให้ลูกจ้างไว้ลงเวลาทำงาน โดยในสลิปเงินเดือนก็จะระบุรอบจ่าย ซึ่งแล้วแต่ว่าจะจ่ายเป็นรอบเดือนหรือตามรอบระยะเวลาที่กำหนด ในส่วนของรายละเอียดก็ต้องระบุระยะเวลาการทำงานเช่นว่ากี่ชั่วโมง เรตรายชั่วโมงเท่าไหร่ มีการหักค่าอะไรไปบ้าง รายละเอียดเนื้องานนั้นๆ พอสังเขป 


ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ก็จะคล้ายกับรายละเอียดที่มีอยู่ในสลิปเงินเดือนพนักงานประจำ เช่น ชื่อบริษัท ข้อมูลพนักงาน วันที่ชำระ เลขที่บัญชีที่รับเงิน ช่องแสดงรายได้ทั้งหมด และรายการที่หักทั้งหมดว่าหักอะไรไปบ้าง สรุปรายได้สุทธิ ลายเซ็นผู้จ่ายเงิน เช่น ฝ่ายบัญชี และในช่องหมายเหตุก็จะเป็นส่วนที่นายจ้างสามารถระบุกรอบของการใช้สลิปเงินเดือนแบบนี้ได้ เพื่อไม่ให้พนักงานสัญญาจ้างไปแอบอ้างว่าเป็นพนักงานประจำเพื่อใช้ทำธุรกรรมใดๆ ซึ่งปกติแล้วพนักงานสัญญาจ้างหรือฟรีแลนซ์ไม่สามารถใช้แค่สลิปเงินเดือนแบบนี้ไปใช้ทำธุรกรรมได้อยู่แล้ว แต่บางบริษัทก็อาจเพิ่มหมายเหตุเพื่อความรัดกุมขึ้นว่า “ใช่เพื่อแสดงหลักฐานการจ้างงานเป็นรายงวดเท่านั้น”


ทั้งนี้สลิปการจ่ายเงินแบบนี้ยังมีให้เห็นน้อยมากในไทย และไม่สามารถใช้ในการกู้ หรือทำธุรกรรมทางการเงินได้ในทันที เพราะถือเป็นรายได้ที่ไม่ได้สม่ำเสมอเหมือนสลิปเงินเดือนพนักงานประจำที่จะได้เท่าๆ กันทุกเดือน แต่เหล่าฟรีแลนซ์ไม่ต้องท้อไป เพราะแม้การกู้เงิน จากสินเชื่อหรือสถาบันการเงินบางแห่งจะมีเงื่อนไขให้กู้ได้เฉพาะพนักงานประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการค้างชำระหนี้ แต่ตอนนี้โลกได้เปลี่ยนไปมากแล้ว หลังการระบาดใหญ่ของโควิด ก็ทำให้ผู้คนมากมายหันมาทำงานมากกว่าหนึ่งงาน หรือรับงานฟรีแลนซ์พร้อมงานประจำ หรือทำงานแบบ Gig economy กันมากขึ้น เพื่ออิสระและความคล่องตัวในการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้สถาบันการเงินต้องปรับตัวตาม 


Freelance


สองสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอันขาด

  1. ขอสลิปเงินเดือนจากบริษัทที่คุณไม่ได้ทำงานให้

  2. ขอให้บริษัทระบุยอดจ่ายในสลิปเงินเดือนเกินจริงเพื่อจุดประสงค์ในการยื่นขอสินเชื่อ

หากคุณกระทำในลักษณะข้างต้นจะถือว่าทำผิดกฎหมาย ซึ่งบริษัทที่ออกให้ก็จะมีความผิดไปด้วย

จากประสบการณ์ของ ByteHR เองที่ให้บริการในการทำเอกสารเงินเดือน ก็พบกับการขอเอกสารในลักษณะนี้อยู่เสมอ ซึ่งทางเราก็ต้องขอปฏิเสธด้วยข้อกำหนดกฎหมาย 


ถ้าหากพนักงานของคุณต้องการขอสินเชื่อ เราแนะนำให้พนักงานเข้าไปปรึกษากับสถาบันการเงินโดยตรงจะดีกว่า เพราะทุกวันนี้ธนาคารหลายแห่งก็ได้เปิดทางเลือกสินเชื่อให้เหล่าฟรีแลนซ์ และพนักงานสัญญาจ้าง มากขึ้น โดยใช้การเพิ่มเอกสารอื่นมาสมทบกับ สลิปเงินเดือน และใบรับรองเงินเดือน เช่น ใบ 50 ทวิ หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้ธนาคารตรวจสภาพคล่องทางการเงินก่อนอนุมัติสินเชื่อให้ หรือ หากไม่มีสลิปเงินเดือนจริงๆ ก็ต้องมาวัดกันที่ความพร้อมของเอกสารทางการเงินสามอย่าง ว่ามีความสม่ำเสมอแค่ไหน ได้แก่

  • การเคลื่อนไหวบัญชีธนาคารที่มีรายรับสม่ำเสมอเป็นเวลา 4-6 เดือน

  • ประวัติการชำระหนี้ตรงเวลา

  • ไม่มีหนี้สินเกิน 30% ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (ตรงนี้หลายคนอาจมองข้าม ถ้าใครผ่อนอะไรอยู่อย่าลืมคำนวนหนี้สินที่ต้องจ่ายเข้าไปด้วย)


ถ้าเอกสารมีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์ของสถาบันการเงินก็สามารถยื่นกู้ได้ไม่ยากเท่าสมัยก่อนแล้ว แต่ถ้าหากยังขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไป เดี๋ยวนี้ธนาคารก็มีฝ่ายที่รับปรึกษาด้านสินเชื่อสำหรับฟรีแลนซ์แทบทุกที่แล้ว ลองศึกษาเกณฑ์ของแต่ละที่เพิ่มเติมเพื่อหาสินเชื่อที่มีเงื่อนไข

แม้ว่าคุณอาจเป็นธุรกิจในครอบครัวเล็กๆ ที่ไม่ได้มีระบบอะไรมาก แต่การหยวนๆ ออกเอกสารการจ่ายเงินที่มีข้อมูลเป็นเท็จก็เท่ากับมีความผิดทางกฎหมายไปด้วย เราแนะนำว่าอย่าเสี่ยงเลยจะดีกว่า

หากคุณมองหาตัวช่วยที่จะช่วยให้แผนกทรัพยากรบุคคลของคุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแต่รวดเร็วมากกว่าเดิม แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นใช้โปรแกรมจัดการทรัพยากรบุคคลออนไลน์อย่างไรและฟังก์ชันต่างๆจะตอบสนองความต้องการใช้งานของบริษัทคุณหรือไม่ ลองปรึกษา ByteHR ได้ฟรีทาง  02 026 3297 หรือติดต่อ sales@byte-hr.com 

ByteHR มีโปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นโปรแกรม HR On Cloud ที่มีฟังก์ชั่นจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน รวมถึงการจัดการกะ และวัน ขาด ลา มา สาย ฯลฯ ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานขององค์กรได้อย่างหลากหลาย


Sea
เกี่ยวกับผู้เขียน
ซีมีประสบการณ์ทำงานที่หลากหลายกว่า 9 ปี ในด้านทรัพยากรบุคคล การสรรหาบุคลากร และการตลาดในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเธอกำลังสร้างประสบการณ์การทำงาน ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษในภาคธุรกิจการบริการ โดยใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเธอในการขับเคลื่อนกลยุทธ์นวัตกรรมทางการตลาด